ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจดีย์ชเวดากอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wakorinda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 105:
ในปี ค.ศ. 1938 คนงานเหมืองบ่อน้ำมันได้หยุดงานประท้วง และทยอยเดินทางออกจากเหมืองบ่อน้ำมันเมืองเชาะและเยนานยองบริเวณตอนกลางของพม่าไปยังเมืองย่างกุ้ง เพื่อจัดค่ายประท้วงบริเวณเจดีย์ชเวดากอง การประท้วงครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนและนักศึกษา เป็นที่รู้จักกันในชื่อ 'การปฏิวัติ 1300' เจ้าหน้าที่ตำรวจของบริติชได้สวมรองเท้าบูทบุกเข้าจู่โจมค่ายผู้ประท้วงบริเวณเจดีย์ ขณะที่ชาวพม่าล้วนต้องถอดรองเท้าก่อนขึ้นเจดีย์ทั้งสิ้น
 
ปัญหาเรื่องการสวมรองเท้าขึ้นไปบนเจดีย์ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนของชาวพม่าตั้งแต่สมัยอาณานิคม ชาวพม่าจะถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปในศาสนสถานพุทธทุกแห่ง ไฮแรม ค็อกซ ทูตบริติชและเจ้าหน้าที่ศาลพม่า ในปี ค.ศ. 1796 ได้ชมประเพณีพื้นบ้านโดยไม่ได้แวะไปที่เจดีย์เพราะการที่เขาจะต้องถอดรองเท้า อย่างไรก็ตามหลังจากการผนวกพม่าตอนล่าง ผู้มาเยื่อนเยือนชาวยุโรปและทหารที่มายังเจดีย์ได้แสดงออกถึงการไม่เคารพประเพณีท้องถิ่น อู ธรรมโลกา เผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการสวมรองเท้าขึ้นไปบนเจดีย์ในปี ค.ศ. 1902 ต่อมาเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของบริติชออกกฎข้อบังคับเด็ดขาดห้ามสวมรองเท้าเข้าไปในบริเวณเจดีย์ อย่างไรก็ตามพวกเขาได้ยกเว้นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลให้สวมรองเท้าได้ ระเบียบข้อบังคับและการยกเว้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นกระตุ้นให้ประชาชนเริ่มมีบทบาทในขบวนการชาตินิยม ปัจจุบันไม่อนุญาตให้สวมรองเท้าหรือถุงเท้าขึ้นไปบนเจดีย์
 
ในเดือนมกราคมปี ค.ศ. 1946 นายพล[[อองซาน]] ได้จัดการชุมนุมใหญ่ที่บริเวณเจดีย์เพื่อเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ โดยมีการประท้วงและการชุมนุมเป็นวงกว้าง อีกสี่สิบสองปีต่อมาในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1988 ลูกสาวของเขา [[อองซาน ซูจี]] ได้กล่าวกับผู้ชุมนุมกว่า 500,000 คนที่บริเวณเจดีย์ชเวดากองเพื่อเรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากการปกครองของทหาร เหตุการณ์นี้เป็นที่รู้กันกันในชื่อ [[การก่อการกำเริบ 8888|การปฏิวัติ 8888]] ซึ่งเป็นการประท้วงระบอบการปกครองครั้งใหญ่ครั้งที่สอง