ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรอิตาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 230:
== ระบอบฟาสซิสต์ (ค.ศ. 1922-1943) ==
=== ลัทธิฟาสซิสต์ทะยานขึ้นสู่อำนาจ ===
[[File:Mussolini mezzobusto.jpg|thumb|150px|[[เบนิโต มุสโสลินี]] ผู้นำเผด็จการ[[ฟาสซิสต์]] นายกรัฐมนตรีระหว่าง ค.ศ. 1922 - 1943]]
ในปี ค.ศ. 1914 [[เบนิโต มุสโสลินี]]ถูกขับออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลี หลังจากเรียกขานการเข้าแทรกแซงออสเตรียของรัฐบาลอิตาลีว่าเป็นบทนำสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มุสโสลินีต่อต้านการเกณฑ์ทหาร, ประท้วงการเข้ายึดครองลิเบีย และยังเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ประจำพรรคสังคมนิยมนามว่า ''อวันติ!'' เมื่อเวลาผ่านไป เขาเรียกร้องการปฏิวัติโดยไม่ได้กล่าวถึงการต่อสู้ทางชนชั้น<ref name="Smith">Smith (1997), p284</ref> ด้วยการมีแนวคิดชาตินิยมทำให้เขาสามารถระดมทุนจากอันซัลโด (บริษัทเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์) และจากบริษัทอื่นๆ ในการก่อตั้งสำนักหนังสือพิมพ์ ''อิลปอโปโลดิตาเลีย'' ของตัวเองขึ้นมาได้ ทำให้เขาสามารถโน้มน้าวนักสังคมนิยมและนักปฏิวัติให้สนับสนุนสงคราม<ref name="Smith"/> ฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และรัสเซีย ซึ่งต้องการจะชักนำอิตาลีเข้าสู่กลุ่มไตรภาคี จึงได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่หนังสือพืมพ์ฉบับนี้<ref>Clark, Martin. ''Modern Italy:1871-1982''. London and New York: Longman Group UK Limited. p.183</ref> ในปีต่อมาหนังสือพิมพ์ก็ได้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนระบอบฟาสซิสต์อย่างเป็นทางการ ต่อมามุสโสลินีเข้าร่วมกองทัพอิตาลีและได้รับบาดเจ็บในช่วงของสงคราม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบาดแผลที่ได้มาจากการฝึกใช้[[ระเบิดมือ]] แต่เขาก็ปฏิเสธโดยอ้างว่าได้รับบาดเจ็บในสมรภูมิรบ<ref name="Smith"/>
[[ไฟล์:Mussd.jpg|thumb|left|250px|[[เบนิโต มุสโสลินี]]และฟาสซิสต์ชุดดำในปี ค.ศ. 1920]]
เส้น 252 ⟶ 253:
 
=== วัฒนธรรมและสังคม ===
[[File:Mussolini p.jpg|thumb|upright=1.35|[[มุสโสลินี]]ขณะกล่าวคำปราศรัย]]
เมื่อพรรคฟาสซิสต์กำลังเข้าสู่อำนาจ ฟาสซิสต์ได้เริ่มทำการแทรกซึมแนวคิดของตนเข้าไปสู่ทุกแง่มุมในชีวิตประจำวันของชาวอิตาลี เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายให้อิตาลีกลายมาเป็นประเทศที่มีพรรคการเมืองเดียวได้สำเร็จ ซึ่งการทำให้อิตาลีเป็นรัฐประชาธิปไตยรวบอำนาจเบ็ดเสร็จก็ได้ถูกประกาศไว้ใน ''หลักแห่งฟาสซิสต์'' (''Doctrine of Fascism'') ในปี ค.ศ. 1935