ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมโครซอฟท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 55:
 
ในวันที่ [[18 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 2016]] ไมโครซอฟท์ได้หมดสัญญาผูกพันกับทางโนเกีย ที่ห้ามไม่ให้โนเกียดำเนินการจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนในชื่อโนเกีย<ref>[http://www.mxphone.net/180516-nokia-comeback-in-smartphone-venture-with-foxconn/ คนคุ้นเคย Nokia เตรียมคืนสังเวียนสมาร์ทโฟนร่วมทุนกับ Foxconn ทำแบรนด์ HMD]</ref> และในวันที่ [[27 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 2016]] ไมโครซอฟท์ได้ยกเลิกการผลิต[[ไมโครซอฟท์ ลูเมีย]]ของ[[ไมโครซอฟท์ โมบาย]] โดยการปลดพนักงานออกถึง 1,850 ตำแหน่ง ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมปี 2017<ref>[http://mobile.kapook.com/view2625 ไม่ได้ไปต่อ ! ไมโครซอฟท์ประกาศเลิกผลิตสมาร์ทโฟนแล้ว]</ref>
 
== ผลิตภัณฑ์ ==
ในเดือนเมษายน [[ค.ศ. 2002]] ไมโครซอฟท์ได้จัดตั้ง 7 กลุ่มบริษัทที่มีอิสระทางการเงิน และหลังจากนั้น ในวันที่ [[20 กันยายน]] [[ค.ศ. 2005]] ไมโครซอฟท์ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์จาก 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์เป็น 3 หมวด คือ
# '''หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม''' ประกอบด้วย [[วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์]] , เอ็มเอสเอ็น และกลุ่มโปรแกรมเบ็ดเตล็ดต่างๆ
# '''หมวดผลิตภัณฑ์ธุรกิจ''' ประกอบด้วย โซลูชั่นสำหรับธุรกิจ
# '''หมวดผลิตภัณฑ์บันเทิง''' เช่น [[วินโดวส์โมบาย]] <ref name="MS-Commitment">{{cite web |title=Our Commitment to Our Customers: Microsoft's Business|url=http://www.microsoft.com/About/CompanyInformation/ourbusinesses/business.mspx |publisher=Microsoft |date=2005-09-20 |accessdate=2007-03-31 }}</ref><ref name="MSPR-AllchinRetire">{{cite press release |title=Microsoft Realigns for Next Wave of Innovation and Growth: CEO Ballmer appoints presidents of three core divisions; Allchin announces retirement plan |url=http://www.microsoft.com/presspass/press/2005/sep05/09-20ExecChangesPR.mspx |date=2005-09-20 |accessdate=September 26 |publisher=Microsoft |accessyear=2005 }}</ref>
 
=== หมวดผลิตภัณฑ์แพลตฟอร์ม ===
เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อไมโครซอฟท์เป็นอย่างมาก ซึ่งได้รับการผลิตในหลายเวอร์ชัน เช่น [[วินโดวส์ 3.11]] [[วินโดวส์ 95]] [[วินโดวส์ 98]] [[วินโดวส์มี]] [[วินโดวส์ 2000]] [[วินโดวส์เอกซ์พี]] [[วินโดวส์วิสตา]] และ [[วินโดวส์เซเว่น]] โดยเกือบทั้งหมดมาจาก [[IBM compatible]] แต่มีซอฟต์แวร์เสริมที่เข้ามาคือ Windows preinstalled โดยในปัจจุบัน[[เดสก์ทอป]]ส่วนใหญ่หันมาใช้วินโดวส์วิสตา ส่วนในการให้บริการแบบออนไลน์นั้น ประกอบก้วย [[เอ็มเอสเอ็น]] [[เอ็มเอสเอ็นบีซี]] และนิตยสารออนไลน์ของไมโครซอฟท์ (Slate แต่ถูกซื้อกิจการโดย[[วอชิงตันโพสต์]] เมื่อวันที่ [[21 พฤศจิกายน]] [[ค.ศ. 2004]]) และในปลายปี [[ค.ศ. 1997]] ไมโครซอฟท์ได้ซื้อกิจการของเอ็มเอสเอ็น ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เอ็มเอสเอ็น ฮอตเมล" ในปี [[ค.ศ. 1999]] ไมโครซอฟท์ได้แนะนำ[[เอ็มเอสเอ็น]] โดยใช้เมลเซิร์ฟเวอร์เพิ่อแข่งขันกับ[[เอโอแอล]] ต่อมาเมื่อไมโครซอฟท์ได้ออกระบบปฏิบัติการวินโดวส์วิสตา เอ็มเอสเอ็นก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น[[วินโดวส์ไลฟ์ เมสเซนเจอร์]]<ref name="2005annual" />
 
[[ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ]] เป็นที่นิยมสำหรับองค์กรที่ต้องการความสะดวกในการพัฒนาโปรแกรม โดยสามารถพัฒนาโปรแกรมที่เป็น [[GUI]] และ[[วินโดวส์เอพีไอ]] แต่จะต้องมีการตั้งค่าหากใช้ไม่ได้กับ [[Microsoft libraries]] ในเวอร์ชันล่าสุด (วิชวลสตูดิโอ 2008) และรุ่นก่อนหน้า (วิชวลสตูดิโอ 2005) มีการปรับปรุงครั้งสำคัญโดยมีความสามารถมากกว่ารุ่นก่อน ๆ ในวิชวลสตูดิโอดอตเน็ต 2003 ก็ได้มีการเพื่มชื่อ "ดอตเน็ต" (.NET) ต่อท้าย โดยไมโครซอฟท์ได้มีความคิดริเริ่มที่จะครอบคลุมตลาดทางเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์ได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยีดอตเน็ตในปี [[ค.ศ. 2004]] โดยเทคโนโลยีดอตเน็ตเป็นการพัฒนาโปรแกรมของวินโดวส์ที่สามารถใช้บน[[อินเทอร์เน็ต]]ได้
 
สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารของไมโครซอฟท์ที่ออกมาใหม่ว่า "อินดีโก" โดยการออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำคุณสมบัติบางอย่างของการออกแบบแอสแซมบลิของไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็ยังมีวิสัยทัศน์ในการจัดการในสถานการณ์เช่นนี้ แต่ก็ยังต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หลายโปรแกรมในระบบเดียวกัน และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อสอดคล้องกับการพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับทุกแอปพลิเคชันของวินโดวส์ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังจัดตั้งชุดโปรแกรมพิเศษเพื่อรับรองบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาซอฟต์แวร์และโซลูชั่น โดยคล้ายกันกับผลิตภัณฑ์ของ[[ซิสโค]] , [[ซันไมโครซิสเต็มส์]] , [[โนเวลล์]] , [[ไอบีเอ็ม]] และ [[โอราเคิล]] โดยได้มีการทดสอบและออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและจัดการเฉพาะทาง
 
และไมโครซอฟท์มีชุดผลิตภัณฑ์สำหรับ[[เซิร์ฟเวอร์]] เช่น [[วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2003]] โดยในระบบปฏิบัติการของเซิร์ฟเวอร์เป็นหัวใจหลักของสายการผลิตของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์คือระบบการจัดการเซิร์ฟเวอร์ โดยรวบรวมเครื่องมือควบคุมระยะไกล , แพทช์การจัดการ ส่วนผลิตภัณฑ์เซิร์ฟเวอร์อื่นๆ เช่น [[ไมโครซอฟท์ ซีเควล เซิร์ฟเวอร์]] (ระบบจัดการฐานข้อมูล) และ ไมโครซอฟท์ เอกซ์เชนจื เซิร์ฟเวอร์ (เมลเซิร์ฟเวอร์สำหรับองค์กรธุรกิจ) <ref name="2005annual" />
 
=== หมวดผลิตภัณฑ์ธุรกิจ ===
[[ไฟล์:Microsoft building 17 front door.jpg|thumb|left|ด้านหน้าทางเข้าของอาคาร 17 ของเรดมอนส์]]
กลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจของไมโครซอฟท์ที่สำคัญเช่น [[ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ]] ซึ่งเป็นสายงานหลักของบริษัทในด้านซอฟต์แวร์สำนักงาน โดยประกอบด้วย [[ไมโครซอฟท์ เวิร์ด]] , [[ไมโครซอฟท์ แอคเซส]] , [[ไมโครซอฟท์ เอกเซล]] , [[ไมโครซอฟท์ เอาต์ลุค]] , [[ไมโครซอฟท์ เพาวเวอร์พอยท์]] ,[[ไมโครซอฟท์ พับลิชเชอร์]] , [[ไมโครซอฟท์ วิซโอ]] , [[ไมโครซอฟท์ โปรเจกต์]] , [[ไมโครซอฟท์ แมป พอยท์]] , [[ไมโครซอฟท์ อินโฟพาธ]] และ [[ไมโครซอฟท์ วันโน้ต]]<ref name="2005annual" />
 
การแบ่งส่วนที่เน้นการพัฒนาธุรกิจการเงินและการบริหารจัดการซอฟต์แวร์สำหรับบริษัท โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตอยู่ในหมวดธุรกิจ โดยได้ก่อตั้งเมื่อเดือน[[เมษายน]] [[ค.ศ. 2001]]
 
=== หมวดผลิตภัณฑ์บันเทิง ===
{{โครงส่วน}}
 
== ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ==