ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แมนรัตน์ ศรีกรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ หรือที่รู้จักกันในนาม เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เกิดวันที่ 25 สิงหาคม 2471 ที่ตำบลบางรัก เจริญกรุง เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของ คุณพ่อโรนาโด ซีแกร่า และคุณแม่จำรัส เรณางกูร ซึ่งมีเชื้อสายโปรตุเกส คุณพ่อเป็นนักเปียโนและเล่นดนตรีแต่ยังทำงานด้านอื่นประจำด้วยนอกเหนือจากดนตรี จากการเติบโตในครอบครัวที่มีดนตรีในหัวใจ จึงได้รับแรงบันดาลใจและมีความรักในดนตรีมาโดยตลอด
 
สมรสกับ คุณลออวรรณ อนุสารสุนทร มีบุตร 2 คน คือ ดร.อินทุอร ศรีกรานนท์,CONCERT PIANIST จบจากมหาวิทยาลัย Yale และ[[ดร.ภาธร ศรีกรานนท์]] จบการศึกษาปริญญาเอก สาขาการประพันธ์เพลง จากมหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก สกอตแลนด์ และได้เล่น SAXOPHONE พร้อมทั้งยังเป็นนักดนตรีใน''[[วงดนตรี อ.ส วันศุกร์]]'' ซึ่งเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์อีกด้วย
 
เริ่มการศึกษา เมื่ออายุ 9 ปี ที่[[โรงเรียนอัสสัมชัญ]]และ[[โรงเรียนเซนต์คาเบรียล]]จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 4 ขณะเรียนอยู่ชั้น ม.5 เกิดสงคราม การเรียนได้ชะงักลงช่วงหนึ่ง หลังสงครามสงบกลับมาเรียนต่อ แต่ไม่จบเนื่องจากบิดาได้ล้มป่วยและเสียชีวิต จึงต้องออกจากโรงเรียนมาเล่นดนตรีหาเงินส่งน้องๆเรียนหนังสือ ช่วยเหลือภาระทางบ้าน แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ทิ้งการเรียน ช่วงที่ทำงานอยู่อีสต์ เอเซียติค ได้เรียนกวดวิชาตลอดเวลาแต่ก็ไม่มีโอกาสสอบชั้นมัธยมศึกษา 6
 
ผ่านการทำงานหลายที่ เช่น บริษัทเชลล์ ซึ่งที่นี้นี่ได้ตั้ง ''วงดนตรีพนักงานบริษัทเชลล์'' ขึ้น และได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวง จากนั้นได้ตั้งวงดนตรีเล็กๆของตนเองอีก 1 วง ชื่อ ''วงดนตรีเรมอนด์และสหาย'' (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ''คีตะเสวี'' ) ซึ่งเป็นชื่อวงดนตรีของบิดา รวบรวมเพื่อนๆเพื่อน ๆ มาเล่นดนตรียามว่างจากการทำงาน แรก ๆ แรกๆเล่นกันในงานเลี้ยงสังสรรค์ตามบ้านเพื่อนฝูงเท่านั้น แต่ภายหลังได้เล่นออกอากาศทางสถานีวิทยุ 1 ปณ และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยด้วย
 
เมื่อลาออกจากเชลล์ ได้เข้าทำงานที่บริษัทน้ำมันแสตนดาร์ด เวคัม ออยส์ ในปี 2498 ได้ร่วมเล่นดนตรีอยู่กับวงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในตำแหน่งนัก PIANO ได้มีโอกาสเล่นเปียโนถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในวันที่ไปออกอากาศ ณ สถานีวิทยุ อ.ส . หลังจากนั้นได้ถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อที่จะเล่นเปียโนใน ''วงดนตรีลายคราม'' ซึ่งนักดนตรีในวงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ ชั้นหม่อมเจ้าและชั้นหม่อมราชวงศ์ และที่พิเศษ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นผู้ทรงแซกโซโฟน และคลาริเน็ต จนถึงปัจจุบันได้เล่นดนตรีถวายใน ''วงดนตรี อ.ส วันศุกร์'' มาเป็นเวลา 50 ปี
 
นอกจากนี้ได้เคยร่วมเล่นดนตรีกับนักดนตรีแจ๊สชั้นนำของโลก เช่น เบนนี กูดแมน สก็อต แฮมิลตัน และเบนนี คาร์เตอร์ เป็นต้น
 
ต่อมาเมื่อบริษัทน้ำมันแสตนดาร์ด เวคัม ออยส์ แยกตัวออกเป็น 2 บริษัท คือ บริษัทน้ำมันเอสโซ และ บริษัท น้ำมันโมบิล อ.แมนรัตน์เลือกทำที่ บ.โมบิลและได้ลาออกในปี 2508 เนื่องจากได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ไปศึกษาวิชาการดนตรีแจ๊ส ในสาขาวิชาเรียบเรียงเสียงประสานและการประพันธ์เพลงที่ BERKLEY SCHOOL OF MUSIC ในหลักสูตร 2 ปี จนจบได้รับ CERTIFICATE ทางด้าน JAZZ COMPOSITION หลังจากกลับมา ต้องการนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ให้นักศึกษาไทย จึงได้มาทำงานที่บริษัทสยามกลการ ดร.ถาวร พรประภา ได้มอบหมายให้ก่อตั้งโรงเรียนดนตรีสยาม-กลการ โดยในช่วงแรกได้เชิญนักเรียบเรียงเสียงประสานที่มีฝีมือมาเรียนกันแบบเพื่อนฝูง เช่น อ.ประสิทธิ์ พยอมยงค์ ประภาส อมรพันธ์ นริศ ทรัพย์ประภา เป็นต้น ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้นี้ให้แก่นักดนตรีอาชีพ และนักศึกษาทั่วไป มีลูกศิษย์หลายคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตการงานหลายคน ขณะเดียวกันก็ยังเป็นครูสอนดนตรีที่โรงเรียนจิตรลดา โดยเป็นพระอาจารย์ถวายการสอนดนตรีแด่เจ้าฟ้าทุกพระองค์ด้วย
 
ลูกศิษย์ที่เรียนด้วยในขณะนั้นได้ตั้งวงดนตรีวงใหญ่ (BIG BAND) ขึ้น ชื่อ ''วงดนตรี ม.ศ'' ซึ่งย่อมาจากชื่อแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เพื่อเป็นการทดลองเพลงที่เขียนมาเนื่องจากการเรียนวิชาเรียบเรียงเสียงประสาน และได้บรรเลงออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เป็นเวลาถึง 13 ปี
ในปี 2517 ได้ลาออกจากโรงเรียนดนตรีสยามกลการ เพื่อเข้าทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จนกระทั่งเกษียณในปี 2530 จึงได้มาทำงานในบริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด ในตำแหน่งที่ปรึกษา จนถึงปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท
 
ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561 สิริอายุ 90 ปี 1 เดือน 11 วัน