ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สตริงคอมโบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
 
=== ประวัติวงสตริงของไทย ===
วงการดนตรีไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับเนื่องจากอิทธิพลของดนตรี[[ ตะวันตก]] ที่หลั่งไหลเข้ามาโดนใจวัยโจ๋ในสมัยนั้นไม่ขาดสายได้แก่วง เดอะบิทเทิล เดอะชาโดของ[[ คลิฟฟ์ ริชาร์ด]] [[เอลวิส เพรสลีย์]] ฯลฯ แทบทุกวงดนตรีมากับกีตาร์ 3 ตัว กลองชุด พร้อม ๆ กันนั้นวงดนตรีของไทยก็เริ่มหันมาเล่นเพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเหมือนกัน เมื่อ[[ สหรัฐอเมริกา]] มาตั้งฐานทัพใน[[ ประเทศไทย]] สมัย[[ สงครามเวียดนาม]] เพลงสากลได้รับความนิยมไม่น้อยเช่นกัน วงดนตรีของไทยที่เล่นเพลงสากลในสมัยนั้นเช่น วงซิลเวอแซนด์ วงรอแยลสไปรท์ ฯลฯ ร้องและเล่นตามต้นแบบเป็นส่วนใหญ่
 
[[พ.ศ. 2512]] ได้จัดการประกวดวงสตริงคอมโบแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีกติกาการแข่งขันว่า เล่นเพลงสากล 1 เพลง เพลงไทยสากล 1 เพลง เพลงพระราชนิพนธ์ 1 เพลง วงที่ชนะเลิศคือ วง[[ดิอิมพอสซิเบิล]] ซึ่งเดิมเป็นวงอาชีพเล่นอยู่แถบถนนเพชรบุรีตัดใหม่ในนามวงจอยท์รีแอคชั่นหรือ เจ-ทรี (ฮอลิเดย์ เจ-ทรีตามชื่อสถานบันเทิงที่เล่น) ชื่อดิอิมพอสซิเบิลซึ่งเปลี่ยนก่อนแข่งได้มาจากการ์ตูนในโทรทัศน์ยุคนั้น ดิอิมพอสซิเบิลโด่งดังเหลือหลาย นักดนตรีประกอบด้วย [[เศรษฐา ศิระฉายา]] [[วินัย พันธุรักษ์]] [[อนุสรณ์ พัฒนกุล]] [[สิทธิพร อมรพันธ์]] และ[[พิชัย คงเนียม]] ครองรางวัลชนะเลิศ 3 ปีซ้อน
 
ประวัติศาสตร์วงการดนตรีไทยต้องบันทึกไว้ในฐานะวงดนตรีประเภทสตริงคอมโบ้วงแรกที่สร้างความรู้สึกเป็นสากลและเป็นวงแรกอีกเช่นกันเปิดทางให้วัยรุ่นฟังเพลงไทยแนวใหม่ ความสำเร็จขั้นสูงสุดทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ตลอดจนผู้ประพันธ์เพลงให้ความสนใจกับวงดนตรีประเภทนี้มากขึ้น เวลาเดียวกันวงดนตรีวงอื่นๆ ได้รับความนิยมตามมาเช่น P.M.5 แฟนตาซี [[แกรนด์เอ็กซ์]] [[ชาตรี]] [[ดิ อินโนเซ้นท์]] ฯลฯ จากนั้นเข้าสู่ยุดแฟนฉัน ([[ชาตรี]]) ทำให้สตริงคอมโบโด่งดังเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==