ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาชิโมโนเซกิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
 
หลังจากที่จีนลงนามในสนธิสัญญาฉบับนี้ บรรดาขุนนางจีนต่างถวายฎีกากันอย่างมากมาย ร้องขอให้ยกเลิกสัญญาแล้วทำสงครามกับญี่ปุ่นเพื่อธำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของโอรสแห่งสวรรค์ [[จักรพรรดิกวังซฺวี่]]ทรงมีความโทมนัสยิ่งนัก ได้ระบายความอัดอั้นของพระองค์ไว้ว่า ''"ยามดึกก็กังวล ยามว่าราชการก็ร้องไห้...สภาพเช่นนี้ช่างน่าละอาย ฎีกาทั้งหลายยังอ่านไม่หมด ขอทุกคนให้อภัยด้วย"''<ref name = "wanglong">หวังหลง (2559) ''ราชสำนักจีนหันซ้าย โลกหันขวา''. สำนักพิมพ์มติชน. ISBN 9789740214564</ref>
==การลงนาม==
วันที่ 14 มีนคม ค.ศ. 1895 [[ราชวงศ์ชิง|ราชสำนักชิง]]ได้ส่งคณะผู้แทนการลงนามสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิโดยมี [[หลี่ หงจาง]] ผู้แทนสูงสุด นำคณะซึ่งประกอบไปด้วย หลี่ จิงฟาง ลูกชายของเขา อู่ถิงฟาง อุปทูตระดับสูง และเคอซื่อต๋าที่ปรึกษา โดยสารเรือกลไฟเยอรมันสองลำไปเจรจาสงบศึกกับฝ่ายญี่ปุ่นที่เมือง[[ชิโมะโนะเซะกิ]] (ปัจจุบันคือเมืองชิโมะโนะเซะกิ [[จังหวัดยะมะงุจิ]]) วันที่ 19 มีนาคม หลี่ หงจางและคณะเดินทางมาถึงเมืองชิโมะโนะเซะกิ พวกเขาพักใน[[วัดอินโจจิ]]ซึ่งอยู่ใกล้กับอาคารชุมปันโร พอถึงเวลาบ่ายสองโมงครึ่งของวันรุ่งขึ้น หลี่หงจางและคณะก็เดินก้าวเข้าสู่อาคารปันโรด้วยฝีเท้าหนักแน่น
 
ณ ชั้นบนของอาคารชุมปันโร มีเก้าอี้สิบกว่าตัวจัดวางรอบโต๊ะสี่เหลี่ยมขนาดค่อนข้างใหญ่ตัวหนึ่ง ฝ่ายญี่ปุ่นได้จงใจจัดวางกระโถนให้หลี่ หงจาง ผู้มีอายุเกินเจ็ดสิบปีเป็นการเฉพาะ ซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม ในระหว่างการเจรจาครั้งแรก [[อิโต ฮิโระบุมิ]] ผู้แทนเจรจาฝ่ายญี่ปุ่น เสนอเงื่อนไขอันแสนโหดร้ายในการยุติสงครามแก่หลี่ หงจาง และแถลงว่า หากจีนไม่ยอมรับเงื่อนไขนี้ญี่ปุ่นก็จะส่งทหารไปเพิ่มและทำสงครามอีกครั้ง แต่หลี่ หงจางกลับคาดหวังให้ญี่ปุ่นหยุดรบก่อน เขาวิงวอนให้ญี่ปุ่นลดเงื่อนไขที่ขูดรีดกับจีนลงบ้าง ผู้แทนของทั้งสองประเทศปะทะคารมกันอย่างดุเดือดต่างฝ่ายต่างไม่ยอมอ่อนข้อให้กันจนการเจรจาชะงักงันลง สถานการณ์เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยจนถึงวันที่ 24 มกราคม ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน
==หลี่หงจางถูกลอบทำร้ายขณะลงนาม==
ในเวลานี้เอง มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งเกิดขึ้นกะทันหันทำให้การเจรจาเปลี่ยนวิถีไป หลังจากที่การเจรจาในวันนั้นเสร็จสิ้นลง หลี่ หงจางดูกลัดกลุ้มอ่อนเพลียและมีเรื่องหนักใจเต็มไปหมด เขาก้าวออกจากอาคารชุมปันโรแล้วนั่งเกี้ยวกลับไปที่วัดอินโจจิ ในขณะที้เกี้ยวของหลี่ หงจางใกล้ถึงที่พักทันใดนั้นก็มีชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งซึ่งถือปืนพกหนึ่งกระบอกในมือพุ่งตัวออกมาจากฝูงชน เขาเล็งปืนไปที่หลี่ หงจางแล้วก็ยิงเข้าใส่โดยไม่รอให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยผู้ติดตามหลี่ หงจางได้ทันตั้งตัว กระสุนปืนยิงถูกแก้มซ้ายของหลี่ หงจางจนเลือดไหลอาบหน้า เมื่อเห็นเช่นนั้นผู้ติดตามจึงรีบหามหลี่ หงจางกลับเข้าที่พักในวัดอินโจจิ แพทย์รีบตรวจอาการบาดเจ็บของเขาอย่างละเอียดทันทีและพบว่ากระสุนยิงโดนกระดูกโหนกแก้มด้านซ้าย ตำแหน่งบาดแผลอยู่ใต้ตาซ้ายประมาณหนึ่งนิ้ว กระสุนยังคงค้างอยู่ในเนื้อแต่ไม่เป็นอันตรายต่อดวงตา หลี่ หงจาง หลังได้ถูกลอบทำร้ายมีท่าทีสงบนิ่ง เขาได้กล่าวกำชับผู้ติดตามให้เก็บเสื้อเปื้อนเลือดที่เขาถอดไว้ อย่าซักรอยเลือดออก หลี่ หงจางได้ชี้นิ้วไปที่เสื้อเปื้อนเลือดตัวนั้นแล้วกล่าวอย่างองอาจว่า ''"เลือดนี้แหละที่จะตอบแทนคุณประเทศชาติ และจงจำบทเรียนอันอัปยศครั้งนี้เอาไว้ให้ดี"''
== ข้อความ ==
[[ภาพ:《马关条约》签字时的情景.jpg|228px|thumb|การลงนามสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ]]
เส้น 30 ⟶ 36:
:ข้อ 1 จีนยอมรับอย่างเด็ดขาดต่อเอกราชแลอิสรภาพของเกาหลี แลฉนั้น การส่งราชบรรณาการแลพิธีการต่างๆของเกาหลีต่อจีนซึ่งจะอยู่ในระงับไว้เนื่องจากความเป็นเอกราชแลอิสรภาพนั้น จะถูกล้มเลิกทั้งหมดในอนาคต
 
:ข้อ 2 จีนต้องยกให้แก่ญี่ปุ่นซึ่งกรรมสิทธิ์ถาวรแลอำนาจอธิปไตยในดินแดนต่อไปนี้ ตลอดจนทรัพย์ของหลวง, ปืนใหญ่, ป้อมปราการ ซึ่งตั้งอยู่ใน:
:: (หนึ่ง) ส่วนใต้ของมณฑลเฝิ้งเทียน[...]
:: (สอง) [[เกาะไต้หวัน]] ตลอดจนบรรดาเกาะแก่งซึ่งพาดเกี่ยวหรือเป็นของเกาะไต้หวันที่กล่าวมา
:: (สาม) กลุ่ม[[เกาะเผิงหู]] ซึ่งจะหมายถึง บรรดาเกาะแก่งระหว่างเส้นแวงที่ 119 ถึง 120 องศาทางตะวันออกของ[[กรีนิช]] กับเส้นรุ้งที่ 23 ถึง 24 องศาเหนือ
 
:ข้อ 3 การวางแนวพรมแดนซึ่งได้อธิบายไปในข้อก่อนหน้าและได้แสดงบนแผนที่ซึ่งผนวกดินแดนแล้ว จะถูกพิสูจน์แลปักปันเขตโดยคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนร่วม ประกอบด้วยผู้แทนญี่ปุ่นตั้งแต่สองคนหรือมากกว่า กับผู้แทนจีนตั้งแต่สองคนหรือมากกว่า ซึ่งจะถูกแต่งตั้งในทันทีหลังแลกเปลี่ยนสัตยาบันในหนังสือสัญญานี้ ในกรณีที่พรมแดนตามข้อบัญญัตินี้ถูกพบว่ามีข้อบกพร่องไม่ว่าจุดใดก็ตาม ทั้งความรับผิดชอบด้านการทำแผนที่หรือความรับผิดชอบในการพิจารณาการจัดการที่เหมาะสม จะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนเช่นกัน เพื่อปรับปรุงให้ถูกต้อง