ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมิงสอตุต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 33:
ปันตานาว]] บริเวณ[[:en:Irrawaddy Delta|ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวะดี]] เพื่อค้นหาช้างเผือกและได้มีการปลงพระชนม์พระองค์<ref name=app>{{cite book | title=History of Burma | author=Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre | year=1883 | pages=102–105 | edition=1967 | publisher=Susil Gupta | location=London}}</ref>
 
เมื่อปลงพระชนม์พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แล้ว สมิงสอตุดได้หนีไปยังเมืองสะโตงพร้อมกับสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ต่อมาขุนนางมอญในเมือง[[หงสาวดี]]ได้ขับไล่รักษาการเจ้าเมือง [[มังฆ้องที่ 2 แห่งตองอู|เจ้ามังฆ้อง]] พระอนุชาพระองค์หนึ่งของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าบุเรงนองไม่ได้ประทับอยู่ด้วย<ref name=hy-2-258>{{cite book | title=Hmannan Yazawin | chapter=Ava Kings | pages=258–259 | volume=2 | year=1829 | location=Yangon | language=Burmese | edition=2003 | publisher=Ministry of Information, Myanmar}}</ref> เนื่องจากต้องไปตามจับ[[สมิงทอ]] ราชนิกุลมอญพระองค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิครองราชบัลลังก์หงสาวดี ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวะดี ขุนนางจึงได้เชิญสมิงสอตุดซึ่งมิใช่เชื้อสายราชนิกุลมอญมาครองราชบัลลังก์เพื่อฟื้นฟูราชวงศ์<ref name=app/>
 
พระองค์สมิงสอตุดปกครองแผ่นดินอย่างเผด็จการ ทำให้ขุนนางและประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยม เหล่าขุนนางจึงได้ไปเชิญสมิงทอซึ่งเป็นเชื้อสายราชนิกุลมอญมาครองราชบัลลังก์ พระองค์สมิงทอได้เดินทางออกจากเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวะดีหลังการติดตามของพระเจ้าบุเรงนอง และเดินทางไปยังเมือง[[เมาะตะมะ]]เพื่อที่จะเดินทางต่อไปต่อยังเมืองหงสาวดี ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าบุเรงนองได้เลิกติดตามพระองค์ชั่วคราว เพื่อเดินทางกลับไปยังตองอูเมืองเกิดของพระองค์ทางตอนเหนือ เพื่อเตรียมตัวสำหรับเตรียมพร้อมการทำสงครามที่จะเกิดในภายภาคหน้า สมิงทอรวบรวมไพล่พลและเดินทางไปยังเมืองหงสาวดี กองทัพของสมิงทอและสมิงสอตุดสู้รบกันภายนอกเมืองหงสาวดี ด้านสมิงทอได้รับชัยชนะ สมิงสอตุดถูกจับและถูกสำเร็จโทษเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1550 หลังจากครองสิริราชสมบัติได้เพียง 1 เดือนเศษ โดยสมิงทอผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสการะวุตพีกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรหงสาวดีได้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ต่อมา<ref name=app/>
 
==อ้างอิง==