ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายพระนามและชื่ออธิบดีศาลฎีกาและประธานศาลฎีกา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Pat-cu (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
ประธานศาลฎีกาเป็นหัวหน้าฝ่ายตุลาการในทางนิตินัยมีศักดิ์ศรีเทียบเท่า[[นายกรัฐมนตรี]] และ[[ประธานรัฐสภา]]ตำแหน่งทั้งสามมีฐานะเป็น ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
ปีพุทธศักราช 2475 ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราชการศาลยุติธรรมได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมแก่กาลสมัยและก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ในเบื้องแรกได้มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแยกการศาลทางตุลาการออกเป็นสัดส่วนจากการบริหาร ได้ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2477 ปรับปรุงศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2451 และประกาศจัดระเบียบราชการกระทรวงยุติธรรม ลงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2455 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา (ศาลสูงสุด) มีอธิบดีศาลฎีการับผิดชอบในงานของศาลฎีกา และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พุทธศักราช 2482 เปลี่ยนชื่ออธิบดีศาลฎีกา เป็น ประธานศาลฎีกา ตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาหรือตำแหน่งประธานศาลฎีกานี้ ไม่ใช่เป็นตำแหน่งแต่หัวหน้าส่วนราชการในศาลฎีกาเท่านั้น ยังเป็นประธานในราชการฝ่ายตุลาการและเป็นอิสระจากเสนาบดีหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจวางระเบียบราชการฝ่ายตุลาการของศาลทั้งหลาย เพื่อให้กิจการของศาลดำเนินไปโดยเรียบร้อยและเป็นระเบียบเดียวกัน ภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายบัญญัติและมีเสียงอันสำคัญในการแต่งตั้งโยกย้ายและเลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาทั้งกระทรวงด้วย พระบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิ์วัตนวิศิษฐ์ ได้ทรงเรียกตำแหน่งนี้ว่า "ประมุขตุลาการ" ในสมัยที่[[เจ้าพระยามหิธร]]เป็นอธิบดีศาลฎีกานั้น หนังสือพิมพ์บางกอกไทม์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของชาวอังกฤษเรียกตำแหน่งนี้ว่า "Lord Chief Justice" ซึ่งแปลว่า ประมุขตุลาการ*
นับจากอดีตถือได้ว่า ประธานศาลฎีกา มีบทบาทอย่างสำคัญต่ออำนาจตุลาการของประเทศ เนื่องจากประธานศาลฎีกามีฐานะเป็นประมุขของฝ่ายตุลาการที่มีหน้าที่ในการคานและดุลกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ และนับจากวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา บทบาทของประธานศาลฎีกามีความโดดเด่นและชัดเจนยิ่งขึ้น จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 275 ได้บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระ บทบาทเบื้องต้นของประธานศาลฎีกาที่ชัดเจน ได้แก่ การรักษาตามพระราชบัญญัติสำคัญรวม 3 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 พระราชบัญญัติให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543
 
 
ต่อไปนี้เป็น รายพระนามและรายนามของผู้ทรงดำรงตำแหน่งและดำรงตำแหน่งอธิบดีและประธาน[[ศาลฎีกา]]{{กล่องข้อมูล ตำแหน่งทางการเมือง|post = ประธานศาลฎีกา <br> ราชอาณาจักรไทย|insignia = ไฟล์:SupremeCourt logo.JPG|insigniasize = 120px|insigniacaption = ตราศาลฎีกา|flag = File:Flag of the President of the Supreme Court of Thailand.svg|flagsize = 160px|flagborder = yes|flagcaption = ธงประธานศาลฎีกา|image =|incumbent = [[ชีพ จุลมนต์]]| incumbentsince = [[1 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2560]]|style =|residence =|appointer = [[พระมหากษัตริย์ไทย]]|nominator =|termlength =|formation = พ.ศ. 2428|succession =|inaugural = [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคัคณางคยุคล กรมหลวงพิชิตปรีชากร]]|website =}}
{| class="wikitable"
เส้น 121 ⟶ 126:
* [http://www.coj.go.th/museum/pratan/pratan.html รายนามประธานศาลฎีกาไทย]{{dead link|date=พฤษภาคม 2560}}
* [http://www.kodmhai.com/m4/m4-11/H11/m1-14.html พระธรรมนูญศาลยุติธรรม]
* [http://www.museum.coj.go.th/pratan/pratan.html ประวัติความเป็นมา]
 
[[หมวดหมู่:ประธานศาลฎีกาไทย| ]]
[[หมวดหมู่:ศาลฎีกา]]