ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59:
ผลการเลือกตั้ง [[พรรคประชาธิปัตย์]] โดย นาย[[พิชัย รัตตกุล]] หัวหน้าพรรค และนาย[[ชวน หลีกภัย]] แกนนำคนสำคัญของพรรค ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด ด้วยเสียงมากถึง 99 เสียง โดยเฉพาะในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]]ได้มากถึง 15 เสียง จึงเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยพรรคที่ได้รับเลือกตั้งรองลงมา คือ [[พรรคชาติไทย]] 64 เสียง, [[พรรคกิจสังคม]] 51 เสียง และ[[พรรคราษฎร (พ.ศ. 2529) |พรรคราษฎร]] 20 เสียง โดยเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎรมีทั้งหมด 347 เสียง<ref>[http://www.democrat.or.th/th/about/history/ ประวัติพรรคประชาธิปัตย์]</ref>
 
โดยทั้ง 4 [[พรรคการเมือง|พรรค]]ได้หารือกันถึงการจัดตั้งรัฐบาล ปรากฏว่า ทุกพรรคต่างเห็นชอบให้ พล.อ.เปรม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป ต่อมา [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ [[5 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน นับเป็นสมัยที่ 3 ของ พล.อ.เปรม โดยมี นาย[[อุกฤษ มงคลนาวิน]] ประธาน[[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]]เป็นผู้นำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการ โดยมี[[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] ถ่ายทอดพิธีสนองรับพระบรมราชโองการและคำกล่าวของ พล.อ.เปรม ณ [[บ้านสี่เสาเทเวศร์]] ซึ่งเป็นบ้านพัก ตลอดจนจบสิ้น<ref>หน้า 199, ประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้ง ''พล.อ.เปรมเป็นนายกฯ อีกสมัย''. ''กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2555'' โดย [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ]] ISBN 978-974-228-070-3 </ref>
 
== ดูเพิ่ม ==