ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 20:
 
บัวแบ่งออกเป็น ๓ สกุล<ref>https://pattize.wordpress.com/พิพิธภัณฑ์บัว/ชนิดของดอกบัว//</ref> โดยนักพฤกษศาสตร์ แบ่งบัวออกเป็น 3 สกุลใหญ่คือ
* [[สกุลเนลุมโบ]] ( [[Nelumbo]] ) หรือ[[ปทุมชาติ]]
– บัวหลวง  อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะใบชูเหนือน้ำ เจริญเติบโตโดยมี ไหล ชอนไชไปใต้พื้นดิน พันธุ์ของบัวหลวงที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ฉัตรขาว ฉัตรแก้ว และฉัตรแดง
– บัวฝรั่ง  อยู่ในสกุลปทุมชาติ ลักษณะคล้ายบัวหลวง ต้นอ่อน เจริญเติบโตโดยสร้างลำต้น หรือเหง้า เจริญตามแนวนอนใต้ผิวดิน ลักษณะใบมีทั้งขอบเรียบและขอบใบจัก
 
* [[สกุลนิมเฟียร์]] ( [[Nymphaea]] ) หรือ[[อุบลชาติ]]
[[บัวผัน]] [[บัวเผื่อน]] อยู่ในสกุล[[อุบลชาติ]] ต้นที่งอกจากเมล็ดจะเจริญตามแนวดิ่งขึ้นสู่ผิวดิน แล้วแตกก้านใบบนผิวดินดอกชูพ้นน้ำ บานในเวลาเช้าหรือกลางวัน และหุบตอนเย็น เป็นบัวชนิดที่ขยายพันธุ์ได้ช้า
[[บัวสาย]] อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีหัวกลมๆ สายขนาดปลายนิ้วก้อย มีขนเล็กน้อย ใบมน ขอบใบจัก ดอกบานกลางคืน และหุบเวลาเช้า
[[จงกลนี]] อยู่ในสกุลอุบลชาติ มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง เมื่อเหง้าแก่เต็มที่จะสร้างหัวเล็กๆรอบเหง้า เมื่อหัวแก่จะเจริญเป็นต้นใหม่ขึ้นมาข้างๆต้นแม่
 
* [[สกุลวิกตอเรีย]] ( [[Victoria]] ) หรือ[[บัววิกตอเรีย]]
[[บัวกระด้ง]] หรือบัววิกตอเรีย ใบมีขนาดใหญ่ กลมคล้ายกระด้ง
 
  ในจำนวนบัวทั้ง 6 ชนิดนี้ บัวหลวงนับเป็นบัวที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากที่สุด และเกษตรกรปลูกมากที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ของการปลูกที่สำคัญ 2 ประการ คือ ปลูกเพื่อตัดดอกตูม ซึ่งนำไปใช้บูชาพระ และปลูกเพื่อเก็บเมล็ด ซึ่งสามารถใช้ประกอบอาหารทั้งอาหารคาวและอาหารหวาน นอกจากนี้ส่วนอื่นๆของบัวหลวง ก็ยังสามารถจำหน่ายและใช้ประโยชน์อื่นๆได้ เช่น ใบแห้ง ใช้ทำยากันยุง มวนบุหรี่ ต้มเป็นยาไทยบำรุงหัวใจ แก้ไข้ และรักษาโรคตับ ใบสด ใช้ห่ออาหาร และไหลหรือราก สามารถนำมาเชื่อมเป็นอาหารหวาน มีสรรพคุณแก้ร้อนใน และระงับอาการท้องร่วง<ref>https://pattize.wordpress.com/พิพิธภัณฑ์บัว/ชนิดของดอกบัว//</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/บัว"