ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวย่อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎จีนแผ่นดินใหญ่: แก้คำที่สะกดผิด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
PananP (คุย | ส่วนร่วม)
→‎จีนแผ่นดินใหญ่: พรรคห้ามจีนเต็ม มิใช่จีนย่อ
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 12:
นอกจากนี้ การใช้อักษรจีนตัวย่อใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] เป็นจุดเริ่มต้นของการยกเลิกอักษรเขียนแทนเสียงแบบเก่า และจุดกำเนิดของการเขียนแทนเสียงแบบ[[พินอิน]] หรือ ฮั่นอวี่พินอิน (Hanyu Pinyin) อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปตัวอักษรจีนไม่ได้รับความนิยมมากเหมือนอย่างที่ฝ่ายซ้ายจัดคาดไว้แต่แรก หลังจากการยกเลิกประกาศครั้งที่ 2 ไปแล้ว ทาง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ตั้งมั่นว่าจะรักษาระบบอักษรจีนให้คงที่ และจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือนำตัว[[อักษรจีนตัวเต็ม]] กลับมาใช้อีกในอนาคต
 
พรรคคอมมิวนิสต์กลัวว่าประชาชนจะสับสนเกี่ยวความแตกต่างระหว่าง[[อักษรจีนตัวเต็ม]]และอักษรจีนตัวย่อ จึงอ้างเหตุนี้ในการห้ามใช้อักษรจีนตัวย่อเต็มใน[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ต่อมา พรรคคอมมิวนิสต์เห็นว่าสิ่งพิมพ์ในประเทศยังมีการใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]]อยู่ จึงได้ออกกฎหมายภาษาและตัวอักษรแห่งชาติขึ้น อธิบายไว้ว่า ในทั่วทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ [[อักษรจีนตัวเต็ม]]มิได้ถูกห้ามใช้ ส่วนใหญ่จะใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]]ในงานเฉลิมฉลอง การตกแต่งการใช้งานตามประเพณีดั้งเดิม เช่น การเขียนพู่กัน การใช้เพื่อการค้า เช่น ป้ายหน้าร้านและการโฆษณาซึ่งต่อมาส่วนมากใช้อักษรจีนตัวย่อกัน
 
สาธารณรัฐประชาชนจีนมักจะทำสื่อที่เผยแพร่ใน [[ไต้หวัน]] [[ฮ่องกง]] [[มาเก๊า]] และต่างประเทศ โดยใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]] ตัวอย่างเช่น [[หนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่]]ที่มีทั้งรูปแบบ[[อักษรจีนตัวเต็ม]]และตัวย่อ เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์พีเพิ้ลส์เดลี่และ[[สำนักข่าวซินหัว]]ที่ให้เลือกอ่านเป็น[[อักษรจีนตัวเต็ม]] โดยใช้รหัสอักษร Big5 ตัวอย่างอื่น เช่น นมที่ผลิตใน[[จีนแผ่นดินใหญ่]]และส่งไปขายใน[[ฮ่องกง]] ก็พิมพ์ฉลากโดยใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม]] และการปกครองแบบหนึ่งประเทศสองระบบ ทาง[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ก็ไม่อยากเปลี่ยนให้[[ฮ่องกง]]และ[[มาเก๊า]]มาใช้อักษรจีนตัวย่อ