ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
Pitt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 77:
{{ดูเพิ่มที่|การกอบกู้เอกราชของเจ้าตาก}}
[[ไฟล์:เส้นทางเดินทัพของพระเจ้าตาก.jpg‎ ‎|thumb|200px|left|เส้นทางเดินทัพของเจ้าตากครั้งกอบกู้เอกราช]]
ก่อนที่กรุงศรีอยุธยาจะเสียแก่พม่านั้น หัวเมืองฝ่ายเหนือ ฝ่ายใต้ และตะวันตกล้วนถูกควบคุมอย่างเข้มงวด การทำมาหากิน การทำไร่ทำนา ทรัพย์สิน วัวควายถูกยึดไว้หมด<ref>มหาราชวงษ์พงศวดารพม่า, (กรุงเทพฯ : มติชน, 2545), หน้า 243.</ref> จนกลางดึกของคืนวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2309 ก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกประมาณ 3 เดือน กองทัพพม่ายิงถล่มกรุงศรีอยุธยาอย่างหนัก เกิดเพลิงลุกไหม้ทั่วพระนคร บ้านเรือน วัด และวัง ได้รับความเสียหายโดยเฉพาะบ้านเรือนของราษฎรเกิดเพลิงไหม้กว่า 10,000 หลัง<ref>พระราชพงศวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, (กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2516), หน้า 290.</ref> พระยาพิพัทธโกษา ปลัดทูลฉลองกรมพระคลังเขียนจดหมายถึงสภาบริหารสูงสุด (Supreme Government) ของ[[บริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์]] (VOC) ที่เมืองปัตตาเวีย ลงวันที่ ๑๓13 มกราคม พ.ศ. 2312 กล่าวว่า พระเจ้าตากเสด็จไปยังเมืองจันทบูรตามพระราชโองการของพระเจ้าเอกทัศน์ ไม่ได้เสด็จ “หนี” ออกจากกรุง<ref>[https://sejarah-nusantara.anri.go.id/media/dasadefined/HartaKarunArticles/hk028_siam/hk28_siam_1769_eng_v20161109.pdf Dhiravat na Pombejra, “Letter from the acting Phrakhlang Phya Phiphat Kosa in Siam to the Supreme Government in Batavia, 13 January 1769, and the answer from Batavia, 29 May 17691769”. In: Harta Karun. Hidden Treasures on Indonesian and Asian-European History from the VOC Archives in Jakarta, document 28. Jakarta: Arsip Nasional Republik Indonesia, 2016.]</ref> กลางวันของวันที่ 3 มกราคมนั้นพระยาตากรวบรวมไพร่พลจำนวน 1,000 นาย{{refn|group=เชิงอรรถ|จำนวนทหารที่หนีออกจากกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับพระยาวชิรปราการนี้ เอกสารกล่าวไว้ไม่ตรงกัน พระราชพงศวดารฉบับพะราชหัตถเลขา, ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวตรงกันว่า 1,000 นาย, จดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีว่ามี 500 นาย}} เดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยามาก่อน กองกำลังพระยาตากเริ่มออกเดินทางจากวัดพิชัยมาถึงบ้านหารตราเมื่อเวลาค่ำ โดยมีกองทัพพม่าไล่ติดตามมาแล้วต่อรบกันจนพม่าพ่ายกลับไป ก่อนเดินทางมาถึงบ้านข่าวเม่า บ้านสัมบัณฑิต ตอนเวลาเที่ยงคืน<ref>นิธิ เอียวศรีวงศ์. หน้า 121.</ref> ต่อมา เช้าวันที่ 4 มกราคม กองกำลังพระยาตากเดินทางมุ่งหน้าไปทางบ้านโพธิ์สังหาร (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) พม่าส่งกองทัพไล่ติดตามมาอีกจึงได้สู้รบกันจนพม่าพ่ายกลับไป มาถึงบ้านพรานนกช่วงเวลาเย็น คราวนี้พม่าส่งไพร่พลมาแก้มือถึง 2,000 นาย ฝ่ายพระยาตากจึงทรงม้ากับทหารอีก 4 ม้าออกรับศึก สามารถตีพม่าแตกพ่ายกลับไปอีกครั้ง เหล่าทหารม้าจึงถือเอาวันที่ 4 มกราคมเป็น[[วันทหารม้า]]ของไทย<ref>พงษ์ ณ พัฒน์, วันสำคัญไทยนอกปฏิทิน, (กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2551), หน้า 12-13</ref>
 
วันที่ 3 ของการเดินทัพ กองกำลังพระยาตากเดินทัพมาสุดเขตพระนครศรีอยุธยาก่อนที่จะเข้าเมืองนครนายก ขุนชำนาญไพรสนฑ์กับนายกองช้างเข้ามาขอสวามิภักดิ์ต่อพระยาตาก ทั้งยังถวายช้างพลาย 5 ช้าง ช้างพัง 1 ช้าง แล้วอาสานำทางต่อไปยังบ้านกง (หรือบ้านดง) เมืองนครนายก เมื่อถึงบ้านกง ข้าราชการ ขุนหมื่นพันทนายท้องถิ่นไม่ยอมสวามิภักดิ์ แม้จะได้เจรจาเกลี้ยกล่อม 3 ครั้งก็ไม่สำเร็จ รุ่งขึ้นกองกำลังพระยาตากจึงปะทะกับไพร่พลชาวบ้านกงซึ่งมีกำลังมากกว่า 1,000 นาย แต่กองกำลังพระยาตากเป็นฝ่ายชนะและสามารถยึดช้างได้เพิ่มอีก 7 ช้าง เงินทอง และเสบียงอาหารอีกมาก ต่อมาวันที่ 8 มกราคม (วันที่ 6) เดินทัพมาถึงตำบลหนองไม้ชุ้มแล้วหยุดพัก 2 วันก่อนเดินทัพต่อไปถึงบ้านนาเริ่ง แขวงเมืองนครนายกแล้วหยุดพักอีก 1 คืน ต่อมาพระยาตากนำไพร่พลข้ามแม่น้ำที่ด่านกบแจะ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี) แล้วหยุดพักรี้พล ก่อนเดินทัพต่อไปยังทุ่งศรีมหาโพธิ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดปราจีนบุรี) และต้องหยุดรอนายทหาร 3 นาย คือ พระเชียงเงิน ขุนพิพิธวาที และสมเด็จพระรามราชาที่ตามกองกำลังพระยาตากมาไม่ทัน ระหว่างที่ทรงรอกลุ่มพระเชียงเงินอยู่นั้นเกิดปะทะกับทัพบกและทัพเรือของพม่าซึ่งตั้งอยู่ที่ปากแม้น้ำโจ้โล้ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา) ประชุมพงศวดารบันทึกไว้ว่า ''"พม่าไล่แทงฟันคนซึ่งเหนื่อยล้าอยู่นั้นวิ่งหนีมาตามทาง ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็น จึงให้นายบุญมีขึ้นม้าใช้สวนทางลงไปประมาณ 200 เส้น พบกองทัพพม่ายกขึ้นมาแต่ปากน้ำโจ้โล้ทั้งทัพบกทัพเรือ"''<ref name="พงศวดาร65/28">ประชุมพงศาวดารภาคที่ 65, หน้า 28.</ref> พระยาตากจึงสั่งให้ตั้งแนวรับ ขุดหลุมเพลาะ วางปืนตับ และเรียงหน้ากระดาน จนพม่าเข้ามาใกล้ราว 240 เมตรจึงเริ่มเปิดฉากยิงขึ้น ทหารพม่าทั้ง 4 แนวแตกพ่ายไป ''"จึงขับพลทหารโห่ร้องตีฆ้องสำทับไล่ติดตามฆ่าพม่าเสียเป็นอันมาก แล้วก็เดินทัพมาทางบ้านหัวทองหลางสะพานทอง"''<ref>พระราชพงศวดารฉบับพระราชหัตถเลขา, หน้า 294.</ref> จากแนวปะทะและการติดตามฆ่าพม่ามาทางปากน้ำโจ้โล้นี้เอง ทำให้เปลี่ยนเส้นทางการเดินทัพตามชายป่าดงมาเป็นชายทะเลเข้าเขตเมืองชลบุรี ''"จึงให้ยกพลนิกายมาประทับตามลำดับ บ้านทองหลาง ตะพานทอง บางปลาสร้อย ถึงบ้านนาเกลือ"'' (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี)<ref name="พงศวดาร65/28"/>