ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้องทาบเงา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ps (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
กัษมา (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
กล้องออบสคูรา
[[ภาพ:Camera obscura.jpg|thumb|right|คาเมร่า ออบสคูร่า]]
..........ในสมัยโบราณมนุษย์ถ้ำได้พยายามที่จะบันทึกสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวไว้ด้วยการวาดภาพและเกาะสลักบนผนังถ้ำ จาการวาดภาพง่าย ๆ ของมนุษย์ถ้ำนี้ ได้พัฒนาเรื่อยมาจนถึงการวาดภาพ รายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตจริงโดยมีจิตรกรเป็นผู้วาด การวาดภาพที่มีรายละเอียดและเหมือนจริงนั้นเป็นสิ่งที่ยุ่งยากและเสียเวลามากในศตวรรษที่ 16 จิตรกรได้ใช้เครื่องมือชนิดที่เรียกว่า คามิรา ออบสคูรา ( Camera of scura) นั้นเป็น ที่รู้จักกันดีเพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ถึงวิธีการทำภาพถ่าย สมัยแรกของโลก
'''คาเมร่า ออบสคูร่า''' (camera obscura) คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับเป็นเครื่องช่วยในการวาดภาพของจิตรกรและศิลปินในศตวรรษที่ 17-18 รูปแบบของกล้องมีอยู่หลายลักษณะ ก่อนที่จะพัฒนามาเป็น[[กล้องถ่ายรูป|กล้องถ่ายภาพ]]ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นกล่อง 2 ใบซ้อนกัน เลื่อนเข้าออกได้ กล่องด้านหน้าติด[[เลนส์]]สำหรับรับภาพ ภายในกล่องใบหลังมี[[กระจกเงา]]วางทำมุม 45 องศาเพื่อสะท้อนภาพขึ้นมาที่กระจกฝ้า จิตรกรและศิลปินจะวาง[[กระดาษ]]และวาดภาพตามภาพที่ปรากฏขึ้น กล้องออบสคูร่าเป็นต้นแบบที่พัฒนามาเป็นกล้องถ่ายภาพในยุคแรก ๆ ของการถ่ายภาพ ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ เป็นกล้องถ่ายภาพในปัจจุบัน
..........คาเมรา ออบสคูรา กำเนิดมาจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ ที่มนุษย์มองเห็นลำแสงส่องผ่านรูเล็ก ๆ ของฝาผนังห้องหนึ่งไปปรากฏเป็นภาพบนฝาผนังด้านตรงข้ามซึ่ง อริสโตเติล (Aristotle) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้จดบันทึกไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปี ก่อนคริสศักราชว่า ถ้าเราทำให้ห้อง ๆ หนึ่งมืดแล้วปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปทางรูเข็ม ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามว่า คามิรา ออบสคูรา หรือเรียกกันทั่ว ๆ ไป ว่า กล้องออบสคูรา
.......... คำว่า คามิรา ออบสคูรา นี้หมายถึงห้องมืด (Dark room )เพราะคำว่า Camera ที่แปลว่ากล้องถ่ายภาพนั้นเป็นภาษาลาติน ซึ่งมีความหมายว่า ห้องมืดนั่นเอง
..........ลีโอนาโด ดาวินซี (Leonado da Vinci ) นักวิทยาศาสตร์ ชาวอีตาลีได้จดบันทึกถึงความเป็นไปได้ในการสร้างภาพของกล้องออบสคูราเมื่อ พ.ศ. 2033 โดยเขาได้มองเห็นภาพที่เกิดจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านรูเข็มเล็กๆ เข้าไปในห้องมืดที่มีแผ่นกระดาษบางใสแต่ข้อความการบันทึกของเขาได้ถูกนำมาพิมพ์เผยแพร่ ใน พ.ศ. 2088
..........ก้าวแรกที่นับเป็นความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การถ่ายภาพก็คือ การที่จิตรกรชาวอีตาลีชื่อ กายดี และคานาเลทโท (Guidi and Ganaletto) ใช้กล้องออบสคูรา วาดภาพเมืองเวนิชในระหว่าง คริสศตวรรษที่ 16 (พ.ศ. 2044 – 2143 )การใช้กล้องออบสคูราวาดภาพนั้นจิตรกรจะเข้าไปยืนอยู่ภายในกล้องซึ่งมีขนาดใหญ่เท่ากับห้อง ๆ หนึ่งและวาดภาพด้วยการลอกแบบไปตามเงาที่ปรากฏ แต่เนื่องจากภาพที่เกิดขึ้นนั้นยังไม่สว่างพอจึงได้มีการคิดค้นหาวิธีการทำให้ได้ภาพคมชัด ในช่วงระยะเวลา 50 ปีต่อมาได้มีการเพิ่มอุปกรณ์สำคัญให้กับกล้องออบสคูรา 2 อย่างด้วยกันคือ เลนส์และไดอะแฟรม ซึ่งตามหลักฐานพลว่ากิโรลาโม ชาวอีตาลีได้ประดิษฐ์ขึ้นนี้มีลักษณะคล้ายกับถั่วชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า เลนทิล ( Lentil )ซึ่งชาวอีตาลีใช้สำหรับทำชุบ ดังนั้น คำนี้จึงเป็นที่มาของคำว่า เลนส์ (Lens) นั่นเอง ส่วนการใส่ไดอะแฟรมในกล้องออบสคูรานั้น ดาเนลล์ บาร์บา โร (Daniel Barbaro) ได้ประดิษฐ์ขึ้นใน พ.ศ.2111 จากการนำสิ่งประดิษฐ์ทั้งสองอย่างคือเลนส์และไดอะแฟมมาติดตั้งไว้ในกล้องออบสคุรานั้นทำให้ภาพ มีความคมชัดขึ้น
..........เมื่อจิตรกรรู้ว่ากล้องออบสคูรา มีส่วนช่วยพวกเขาในการวาดภาพเป็นอย่างมากคือนอกจากจะช่วยให้วาดภาพได้ง่ายรวดเร็วด้วยการลอกแบบไปตามเงาของวัตถุนั้น ๆ แล้วยยังช่วยแก้ปัญหาที่วุ่นวายเกี่ยวกับสัดส่วนหรือความลึกของภาพขณะเดียวกันยังสามารถแสดงภาพลักษณะ 2 มิติ ได้ดีอีกด้วยความต้องการห้องมืดหรือกล้องออบสคูราขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายได้จึงเริ่มขึ้น ดังนั้น กล้องออบสคูราจึงได้รับการพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง จนกระทั่งได้พัฒนามาเป็นกล้องถ่ายภาพสมัยใหม่ซึ่งยังคงต้องอาศัยส่วนประกอบพื้นฐานสำคัญ คือเลนส์ ไดอะแฟรม และวัตถุรองรับที่ทำให้เกิดภาพ
..........ความคิดเรื่องการพัฒนากล้องออบสคูราได้แพร่กระจายไปทั้งยุโรป เมื่อนักวิชาการชาวเยอรมันชื่อ อธานาชิอัส ไคเซอร์ (Athanasius Kiche ) ได้วาดภาพกล้องออบสคูราที่เขาเคยเห็น ขณะเดินทางในเยอรมันภาพวาดของไคเซอร์แสดงให้เห็นโครงสร้างของกล้องออบสคูราซึ่งมีขนาดและรูปร่างคล้าย กระท่อมเล็ก ๆ มีน้ำหนักเบาพอที่คนสองคนจะแบกได้ขณะที่ทำงาน จิตรกรจะต้องเข้าไปด้านในทางประตูซึ่งอยู่ที่พื้น ภายในมีลักษณะเป็นกล่องทึบที่ทำด้วยกระดาษบาง ๆ ซึ่งพอที่จะวาดที่สะท้อนผ่านรูเข็มเล็ก ๆ เข้ามาได้แม้จะเป็นภาพกลับก็ตามส่วนตัวกล้องมีโครงเป็นไม้ใช้ผ้าใบขึงเป็นผนัง
 
[[หมวดหมู่:การถ่ายภาพ]]
 
 
[[ca:Càmera obscura]]
..........จากภาพวาดของไคเซอร์นี้จะเห็นว่า ขณะวาดภาพจิตรกรจะต้องเข้าไปยืนภายในกล้องซึ่งต้องใช้เวลานานมาก และจิตรกรจะต้องลำบากมากทีเดียวกว่าจะวาดภาพเสร็จ ดังนั้น พวกเขาจึงพยายามที่ปรับปรุงและพัฒนากล้องออบสคูราให้มีขนาดเล็กลง และให้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้นก็ประสบความสำเร็จในระยะต่อมา
[[cs:Camera obscura]]
การพัฒนากล้องออบสคูราการทำกล้องออบสคิวร่า
[[da:Camera obscura]]
..........ในต้นศตวรรษที่ 16 เลโอนาร์โด ดาวินซี ได้ผลิตกล้องออบสคิวร่าขึ้นด้วยการวาดซึ่งเขามิได้อ้างว่าเป็นการค้นพบของเขาและไม่ได้แนะวิธีการใช้ใดๆ ไว้เลย ตามประวัติกล่าวว่าในปี ค.ศ.1553 นักเขียนหนุ่มผู้หนึ่งเป็นผู้ให้ข้อเสนอแนะบางอย่างในการใช้กล้องออบสคิวร่าที่ดาวินซีวาดไว้
[[de:Camera obscura]]
 
[[en:Camera obscura]]
.........
[[es:Cámara oscura]]
 
[[fi:Camera obscura]]
กล้องออบสคิวร่าขนาดเล็ก ยาวประมาณ 23 นิ้ว มีกระจกสะท้อนแสงด้านหลังตรงข้ามกับเลนส์
[[fr:Chambre noire]]
ทำให้ได้ภาพหัวตั้งขนาดใหญ่ สร้างโดย โจฮัน ซาน (Johann Zahn) ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ.1685
[[fur:Cjamare scure]]
 
[[gl:Cámara escura]]
 
[[he:קמרה אובסקורה]]
..........ต่อมา Daniele Barbare ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยปาดัว (Padua) ได้พิมพ์หนังสือชื่อ "The Practice of perspective" ขึ้นในปี ค.ศ.1568-1569 ในหนังสือนี้ได้กล่าวว่าผู้ที่เริ่มต้นหัดเป็นศิลปินได้เอากล้องออบสคิวร่ามาใช้ โดยใช้เลนส์นูนเป็นตัวช่วยในการสเก็ตซ์ภาพ และช่วยให้เข้าใจถึงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงภาพแบบ Perspective
[[hu:Camera obscura]]
 
[[it:Camera oscura]]
 
[[ja:カメラ・オブスクラ]]
 
[[nl:Camera obscura (optica)]]
 
[[no:Camera obscura]]
กล้องออบสคิวร่า สร้างโดย จอร์จ แบรนเดอร์ (George Brander) ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1769
[[pl:Camera obscura]]
เป็นแบบตั้งโต๊ะ ตัวกล้องเป็นสี่เหลี่ยมมืดทึบหลายกล่องซ้อนต่อกัน
[[pt:Câmera escura]]
รับภาพในระยะไกลได้ชัดเจนขึ้น มีกระจกเงา 45 องศา รับภาพสะท้อนขึ้นด้านบน ทำให้เขียนภาพได้สะดวกยิ่งขึ้น
[[ro:Cameră obscură]]
 
[[ru:Камера-обскура]]
[[sr:Камера опскура]]
 
[[sv:Camera obscura]]
กล้องตาแกร์โอไทป์
 
...........กล้องออบสคูราที่ได้รับการพัฒนาในระยะแรก มีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมภายในทำด้วยสีดำด้านหนึ่งเป็นรูให้แสงผ่านไป ทำให้เกิดเป็นภาพที่ด้านตรงข้าม ต่อมารูปร่างและขนาดของกล้องออบสคูราได้รับการพัฒนามากขึ้นเป็นหลายแบบ บางแบบใช้ประกอบติดตั้งกับที่นั่งที่สำคัญที่สุดคือ มีขนาดเล็กลงและสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยการ คือ ใน พ.ศ. 2200 ลูกศิษย์คนหนึ่งของไคเซอร์ ชื่อ แคศปาร์ สก๊อต (Kaspar Schott) ได้สร้างกล้องบ๊อกช์ (box) ซึ่งออกแบบตามที่เขาเคยเห็นในสเปนเป็นกล้องที่มีเลนส์ 2 เลนส์ทำเป็นกล่อง 2 กล่องสามารถปรับความชัดได้ โดยให้กล่องหนึ่งเลื่อนเข้าไปภายในอีกกล่องหนึ่ง สำหรับกล้องออบสคูราที่มีขนาดเล็กอีกชนิดหนึ่ง สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2363 มีลักษณะเป็นกระโจมยึดด้วยขาตั้ง 3 ขาด้านบนติดเลนส์นูน 2 อันให้ภาพสะท้อนลงมาบนโต๊ะทำงานของจิตรกร ซึ่งจิตรกรจะวาดไปตามเวลาที่ปรากฏและตกแต่งให้สวยงาม
..........ในประเทศอังกฤษ โรเบิร์ท บอยเล (Robert Boyle ) ได้แนะนำกล้องบ๊อกซ์ชนิดหนึ่งซึ่งบรรจุกระดาษชุบน้ำมันทำให้โปร่งใสไว้ภายในเพื่อเป็นจอรับภาพ ความคิดนี้ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อโจฮัน สตรัม (Johann Sturm )ได้นำไปใช้ใน พ.ศ. 2219 แต่เขาได้เพิ่มกระจกเล็ก ๆ แผ่นหนึ่งและวางทำมุม 45 องศากับเลนส์ ซึ่งจะช่วยสะท้อนแสงทำให้ได้ภาพมีลักษณะหัวตั้ง และมีกรอบบังเลนส์(hood)ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพได้ดียิ่งขึ้นแล้ว จึงให้กระดาษวางทาบบนกระจกเพื่อให้จิตรกรวาดภาพของสตรัมที่ผลิตขึ้นในเวลาต่อมาโดยนักบวชชื่อ โจฮัน ชาห็น (Johann Zahn ) แต่ชาห์นใช้แก้วโอปอลแทนกระดาษชุบน้ำมันและใส่เลนส์เทเลสโคป ซึ่งประกอบด้วยเลนส์ 2 ตัว คือเลนส์นูนตัวหนึ่งและเลนส์เว้าอีกตัวหนึ่งที่มีความยาวโฟกัสต่างกันมีผลทำให้ภาพที่ได้ขนาดใหญ่ขึ้น
.........ใน พ.ศ. 2312 จอร์จ แบรนเดอร์ (Gerorge Bramder ) ได้วาดภาพแสดงถึงกล้องออบสคูราที่ได้มีการพัฒนาแล้วอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นแบบตั้งโต๊ะ ตัวกล้องเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมืดทึบภายในติดกระจกเงาไว้ทำมุม 45 องศา ด้านหน้าทำเป็นท่อต่อกัน เพื่อช่วยให้ความยาวโฟกัสของเลนส์ยาวขึ้น เพื่อใช้มองภาพระยะใกล้ (Close up ) และใช้ปรับความชัดของภาพที่ผ่านช่องรับแสงด้านหน้าจะปรากฏบนกระจกเงาและสะท้อนไปปรากฏเป็นภาพบนจอเป็นกล้องออบสคูราที่ออกแบบไดสวย งามตามยุคที่เดียว
 
 
 
 
..........ใน พ.ศ. 2358 วิลเลียม ไฮด์ วอลเลสตัน ( William Hyde Wallaston ) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือชนิดหนึ่งเพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยในการวาดภาพคือ คามิราลูชิดา (Camera Lucida )หรือกล้องลูซิดา ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่กล้องที่แท้จริง แต่เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้วาดภาพด้วยแสงแดดและอาศัยหลักการสะท้อนแสงเท่านั้น
..........เมื่อจิตรกรมองผ่านแก้วปริซึมจะเห็นภาพที่สะท้อนมาจากวัตถุและวาดไปตามที่ตาเห็นนั้นเนื่องด้วยเครื่องมือชนิดนี้มีขนาดเล็ก และง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ดังนั้น จิตรกรจึงใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคนั้นโดยเฉพาะเครื่องวาดภาพในขณะเดินทาง
..........จากวิธีการวาดภาพด้วยแสงของกล้องออบสคูรา ซึ่งได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์แบบในคริสศตวรรษที่ 18 (ตั้งแต่ พ.ศ 224 เป็นต้นมา ) ทำให้จิตรกรและนักวิทยาศาสตร์พากันคิดค้นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อ หาวิธีการและกระบวนการที่จะทำให้แสงที่ปรากฏบนจอรับภาพนั้น กลายเป็นภาพขึ้นโดยไม่ต้องใช้วิธีการวาด นั่นคือได้มีการประดิษฐ์เลนส์ที่มีคุณภาพเพื่อให้รับแสงสว่างได้มาก นอกจากนี้ยังคิดค้นหาวิธีการที่จะทำให้ภาพคงทนอยู่ด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งผลการคิดค้นเหล่านี้เป็นที่มาของการถ่ายภาพในระยะต่อมานั่นเอง