ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันไหล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mayyoung12 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mayyoung12 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14:
===เมืองชลบุรี ===
*'''งานนมัสการพระพุทธสิหิงค์ฯ และงานสงกรานต์จังหวัดชลบุรี'''
(11-19 เมษายน) ซึ่งเปรียบเสมือนงานประจำปีของจังหวัดชลบุรี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปี 2475 ภายหลังจากคณะราษฎร์ได้ยึดอำนาจการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "งานฉลองสันติภาพ" ซึ่งจัดขึ้นโดยสโมสร[[คณะราษฎร์]]ประจำจังหวัดชลบุรี เพื่อร่วมกันชื่นชมยินดีที่บ้านเมืองเข้าสู่ความเป็นปกติสุขภายหลังจากมีการก่อเหตุความวุ่นวายภายในบ้านเมืองอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง งานปีนี้ ได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ มากมายเหมือนทุกปี อาทิ งานนมัสการพระพุทธสิหิงค์ฯ พระคู่บ้านคู่เมืองชลบุรี การทำบุญ-สรงน้ำพระ การออกร้านของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และอำเภอ การจัดแสดงนิทรรศการโบราณวัตถุและศิลปวัฒนธรรมไทย การจัดริ้วขบวนแห่ฉลองสงกรานต์ที่ยิ่งใหญ่ การประกวดนางสงกรานต์ การแข่งขันกีฬาไทยและกีฬาพื้นเมือง ประกอบด้วย การแข่งขันศิลปะมวยไทย การแข่งขันเซปักตระกร้อ และตระกร้อลอดบ่วง การจำหน่ายสินค้า OTOP และสินค้าราคาถูกจากโรงงานอุตสาหกรรม การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งมหรสพไทย-[[จีน]] อาทิ ภาพยนตร์จอยักษ์[[ภาพยนต]]ร์จอยักษ์ ลิเก งิ้ว การแสดงคอนเสิร์ตศิลปินดังทุกคืน <ref>http://www.bangsaensook.com/NEWS/6004-Songkran-Chonburi-2560.html</ref>
 
*'''งานก่อพระทรายวันไหลบางแสน'''
(16-17 เมษายน) ภายในงานมีกิจกรรมมากมาย อาทิเช่น การทำบุญตักบาตร การสรงน้ำ[[พระพุทธรูป]] การรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การก่อพระเจดีย์ทรายรูปทรงต่างๆสวยงามวิจิตรตระการตา เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย ตลอดแนวชาย[[หาดบางแสน]] การประกวดขวัญใจวันไหล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ได้แก่ การแข่งขันสะบ้าและช่วงรำ การแข่งขันชักเย่อ การแข่งขันวิ่งเปี้ยว การแข่งขันวิ่งกระสอบ การแข่งขันมวยทะเล การแข่งขันตะกร้อลอดห่วง การแข่งขันมอญซ่อนผ้าของเยาวชน และการแข่งขันอาชีพท้องถิ่นและชุมชน ได้แก่ การแข่งขันแกะหอยนางรม การแข่งขันเรือสกู๊ตเตอร์และเรือลากกล้วย การจำหน่ายสินค้าและอาหารพื้นเมือง โดยมีการกวนขนมเปียกที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวตำบลแสนสุขให้ได้ชม และสนุกสนานกับศิลปินนักร้องที่มาให้ความบันเทิงทั้งภาคกลางวันและกลางคืน นับเป็นประเพณีท้องถิ่นที่จัดแตกต่างไปจากที่อื่นที่มีลักษณะเฉพาะตามสภาพท้องถิ่น ที่คงคุณค่าควรอนุรักษ์ไว้
 
===เมืองพัทยา ===
บรรทัด 29:
*'''[[ประเพณีกองข้าว นาเกลือ|งานประเพณีกองข้าวเมืองพัทยา]] '''
(20 เมษายน) ณ สวนสาธารณะลานโพธิ์นาเกลือ ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย อาทิ การแข่งขันยิงหนังสติ๊ก,แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง, แข่งขันปริศนาคำกลอน (ทายโจ๊ก) มวยทะเล, ปีนเสาน้ำมัน, เล่นเกม/ทายปัญหา, การแสดงศิลปะการต่อสู้ ในช่วงเย็นจะมีพิธีบวงสรวงกองข้าวและขบวนแห่เทวดา/นางฟ้า ขบวนแห่ผีป่า, การออกร้านอาหารของชุมชนและหน่วยงานราชการ, การแสดงดนตรีลูกทุ่ง ฯลฯ
 
===อำเภอศรีราชา===
*'''ประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว'''
(19-21 เมษายน) กองข้าว เป็นประเพณีท้องถิ่นของ จ.ชลบุรี โดยแท้ที่สืบทอดต่อกันมาตามประวัติ เล่าว่าประเพณีกองข้าวจัดในหลายอำเภอ อาทิเช่น อ.เมืองชลบุรี, อ.ศรีราชา, อ.บางละมุง, อ.พนัสนิคม ฯลฯ ครั้นกาลเวลาล่วงเลยผ่านไปในบางพื้นที่ประเพณีนี้ได้เลือนหายไป ในอดีต เมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวบ้านจะนัดหมายกันนำสำรับข้าวปลาอาหารทั้งคาวหวานมากองรวมกันแล้วเชิญภูติผีทั้งหลายมากินปีละครั้ง โดยเชื่อว่าภูตผีจะไม่ทำอันตราย ชีวิตครอบครัวหรือทรัพย์สินของตนเอง หลังพิธีเซ่นไหว้ชาวบ้านจะล้อมวงรับประทานอาหารร่วมกันมีการร้องรำทำเพลง การละเล่นสนุกสนาน มีเกร็ดว่าทุกคนจะไม่นำอาหารที่เหลือกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้เพื่อเป็นทานแก่สัตว์ เทศบาลเมืองศรีราชาและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงานประเพณีกองข้าว นอกจากการกองข้าวอันเป็นหัวใจของงานแล้ว ยังได้เพิ่มกิจกรรมเพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันเป็นสีสันของงาน อาทิ [[มวยตับจาก]], [[เพลงพื้นบ้าน]], [[ดนตรีไทยประยุกต์]], ประกวดเทพีกองข้าว, กีฬาพื้นบ้าน และซุ้มอาหารไทย ฯลฯ ประเพณีกองข้าว จึงได้รับการยกระดับปรับตัวให้เป็นเอกลักษณ์ประเพณีที่โดดเด่น ชาวศรีราชาทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมและอนุรักษ์ประเพณีกองข้าว
 
==จังหวัดระยอง==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วันไหล"