ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าปดุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Banklive (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
พระเจ้าปดุง เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทำสงครามชนะ[[รัฐยะไข่|ยะไข่]] หรือ อะรากัน ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของพม่า ที่[[ประเทศพม่า|พม่า]]ไม่เคยเอาชนะมาก่อนเลย หลังสงครามครั้งนี้ พระองค์ยังได้อัญเชิญ[[พระมหามัยมุนี]] อันเป็นพระพุทธรูปประจำชาติพม่า จาก[[ยะไข่]]มาประทับที่[[มัณฑะเลย์]]
 
===ทำสงคราม 9 ทัพกับสยามบุกกรุงรัตนโกสินทร์===
พระเจ้าปดุงเป็นผู้ที่ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของพระเชษฐา(พระเจ้ามังระ)ตลอด12ปีแห่งการครองราชย์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วพระองค์ต้องการแสดงให้เห็นถึงพระบารมีของพระองค์ว่า ทรงเป็นพระเจ้าช้างเผือกผู้พิชิตเอเชียอาคเนย์ได้อีกพระองค์หนึ่งไม่แพ้ หลังจาก[[พระเจ้าบุเรงนอง]]แห่งราชวงค์ตองอู กับ[[พระเจ้ามังระ]]แห่งราชวงค์คองบอง พระเชษฐาของพระองค์ที่สามารถทำได้
 
ครั้งนั้นพระเจ้าปดุงสั่งเกณฑ์ไพร่จำนวนกว่า 1 แสน 24 หมื่นคน แยกเป็น 5 สาย 9 ทัพ มากที่สุดเท่าที่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์ของพม่า หรือที่เราเรียกว่า "[[สงครามเก้าทัพ]]" มา[[กรุงเทพมหานคร]] ในปี พ.ศ. 2328 โดยพระองค์ทรงยกมาเป็นทัพหลวง โดยตั้งทัพและตั้งฐานบัญชาการที่เมาะตะมะ แต่เมื่อพระองค์เสด็จจากอังวะ ราชธานีสู่[[เมาะตะมะ]] แต่ทางเมาะตะมะเตรียมเสบียงไม่พอ ทำให้กองทัพพม่าไม่พร้อม และเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำสงครามครั้งนี้ได้สำเร็จ รวมถึงการเตรียมตัวป้องกันพระนครมาเป็นอย่างดีของโดยครั้งนั้น[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]ทรงใช้การตั้งรับเชิงรุก ทรงส่งกองทัพไปรบแถบชายแดนเพื่อไม่ให้พม่าสามารถรวมทัพได้เหมือนทุกคราว โดยมี[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] เป็นหัวใจสำคัญในการปกป้องกรุงรัตนโกสินทร์ในคราวนี้
 
===สงครามศึกท่าดินแดงกับสยาม===
ในสงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงโปรดเกล้าให้ยกทัพเข้ามาทาง ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นทัพใหญ่เพียงทัพเดียว ทางฝ่ายสยามตั้งทัพที่ท่าดินแดงแขวงเมืองกาญจนบุรี ซึ่งสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจากกองทัพสยามที่นำโดย[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]]บุกเข้าโจมตีกองทัพพม่าโดยไม่ทันได้ตั้งตัวจนแตกพ่ายไป หลังพ่ายแพ้การศึกครั้งนี้ พระเจ้าปดุงก็ไม่เคยยกทัพใหญ่มาทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์อีกเลย
 
==สวรรคต==