ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:VARIN 01.JPG|thumb|รองศาสตราจารย์ ดร.วารินทร์ วงษ์หาญเชาว์]]
'''รองศาสตราจารย์ วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์''' ([[15 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2480]] – [[11 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2550]]) นัก[[เศรษฐศาสตร์]] นักการศึกษา นักวิจัย อดีตคณบดี[[คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ภาคเอกชน นักเขียนและนักคิดที่ได้รับการยกย่องจากผู้อยู่ในวงการเดียวกันและจากบุคคลทั่วไป บรรณาธิการของนิตยสาร ชาวบ้าน ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref>
 
==ประวัติ==
===การศึกษา===
'''รองศาสตราจารย์ ดร. วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์''' หรือ รองศาสตราจารย์ ดร.วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ เป็นบุตรชายคนโตของนายหลงและนางฉวีวรรณ มีพี่น้องรวม 5 คน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]เมื่อ [[พ.ศ. 2504]] ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาต่อระดับปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ที่[[มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์]] ประเทศสหรัฐฯ จบการศึกษาเมื่อ [[พ.ศ. 2508]] ต่อมาได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาเดียวกันที่มหาวิทลัยเดิมได้รับปริญญา Ph.D. (Economics) เมื่อ พ.ศ. 2513
 
===การทำงาน===
อาจารย์ ดรรศ. วารินทร์ วงศ์หาญเชาว์ ได้เข้าทำงานในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิจัยการตลาดใน[[บริษัทคอลเกต-ปาล์มโอลิฟ (ประเทศไทย)]] มาตั้งแต่ก่อนจบการศึกษาปริญญาตรีและจนถึง [[พ.ศ. 2505]] จึงได้ไปศึกษาต่อที่สหรัฐฯ เมื่อได้รับปริญญาโทแล้วได้เข้าทำงานเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเศรษฐศาสตร์ [[มหาวิทยาลันนอร์ทแคโลไลนา]] อยู่ 2 ปี พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาปริญญาเอกไปด้วย เมื่อจบการศึกษาได้กลับประเทศไทยและรับราชการในตำแหน่งอาจารย์และหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]] ในปี [[พ.ศ. 2517]] เป็นของคณะฯ จนถึง [[พ.ศ. 2518]] จึงได้โอนไปเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการไทย-ญี่ปุ่นศึกษา ใน[[สถาบันเอเซียศึกษา]]ด้วยพร้อมๆ กับการเป็นผู้อำนวยการหน่วยวิจัยเศรษฐศาสตร์ไปด้วย ระหว่าง [[พ.ศ. 2521]] – [[พ.ศ. 2522]] ได้ดำรงตำแหน่งคณบดี
 
หลังจากหมดวาระ อาจารย์ ดรรศ. วารินทร์ได้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการ[[สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 8 ปีจึงลาออกจากราชการเมื่อ [[พ.ศ. 2531]] ในตำแหน่ง[[รองศาสตราจารย์]]ระดับ 9 มาทำงานด้านที่ปรึกษาและวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมเป็นอิสระ และด้วยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่สูงจึงได้จัดตั้งบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลคอนซัลแทนซี่เน็ตเวิร์ค จำกัด รับงานศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นบริษัท โซซิโอ-เอคโคโนมิค คอนซัลแทน จำจัด เมื่อ [[พ.ศ. 2545]] ดำเนินงานในลักษณะเดียวกัน
 
นอกจากนี้อาจารย์วารินทร์ยังเป็นผู้อำนวยการโครงการ MBA ของ [[มหาวิทยาลัยเอเซียอาคเนย์]] กรรมการมูลนิธิสถาบันที่ดิน กรรมการ[[มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ด]] กรรมการปรับปรุงชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ภูมิภาคและเมือง [[มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช]] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ[[มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์]] อนุกรรการพิจารณาศึกษากฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง [[สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]