ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยนเรศวร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นพดล คำกองแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BeckNoDa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค[[ภาคเหนือ]]ตอนล่างและ[[ภาคกลาง]]ตอนบนของ[[ประเทศไทย]]<ref>[http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/pcoc_menu/admin/manage/files/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%20%204.doc บทบาทของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดพิษณุโลกที่เกี่ยวกับนโยบายการลงทุน]</ref> โดยมีการเรียนการสอนครอบคลุมครบทุกสาขาวิชาทั้งสาย[[วิทยาศาสตร์]]และ[[เทคโนโลยี]] [[วิทยาศาสตร์สุขภาพ]] [[มนุษยศาสตร์]]และ[[สังคมศาสตร์]] รวมทุกระดับการศึกษาทั้งสิ้น 184 หลักสูตร<ref name="หลักสูตรมหาวิทยาลัยนเรศวร"> [http://www.nu.ac.th/th/d_course.php]</ref> มีจำนวนนิสิตประมาณ 22,200 คน<ref>http://www.reg.nu.ac.th/publish//studentstat_DL/2557/สถิตินิสิตประจำปีการศึกษา_2557(23-09-2557).pdf]</ref> และมีอาจารย์ประจำกว่า 1,400 คน<ref>[http://report.nu.ac.th/51/RP_PositionStaff_512.aspx รายงานบุคลากรสายวิชาการ (มีหน้าที่สอน) จำแนกตามตำแหน่งทางวิชาการ และระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2551]</ref>
 
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงประกอบพิธีสำคัญต่างๆต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนเรศวร
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 37:
ในปี [[พ.ศ. 2497]] รัฐบาลในสมัยนั้นได้ตรา[[พระราชบัญญัติ]]วิทยาลัยวิชาการศึกษา (College of Education) ขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้เป็นสถาบันหลักในการผลิต[[ครู]]ของประเทศ ซึ่งการจัดตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษานั้นเริ่มขึ้นที่[[กรุงเทพมหานคร]]เป็นแห่งแรกที่ซอยประสานมิตร ต่อมาจึงจัดตั้งเพิ่มเติมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ [[25 มกราคม]] [[พ.ศ. 2510]] มีที่ตั้ง ณ เลขที่ 1 ถนนสนามบิน [[ตำบลในเมือง]] [[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] [[จังหวัดพิษณุโลก]]
 
ต่อมา เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรได้ยกฐานะขึ้นเป็น[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] เมื่อวันที่ [[28 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2517]] แล้ว วิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยมีวิทยาเขตประสานมิตรเป็นศูนย์กลางการบริหารของมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกับวิทยาลัยวิชาการการศึกษาอื่นๆอื่น ๆ อีก 8 แห่ง การจัดการเรียนการสอนในสมัยนั้นเปิดสอนเพียง 5 [[คณะวิชา|คณะ]] คือ [[คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะศึกษาศาสตร์]] [[คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะมนุษยศาสตร์]] [[คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะวิทยาศาสตร์]] [[คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะสังคมศาสตร์]] และ[[บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร|บัณฑิตวิทยาลัย]]<ref name="ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร"/> โดยสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลกยังคงใช้สถานที่เดิมของวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก
 
[[ไฟล์:Naresuan_University.jpg|325px|thumb|left|มหาวิทยาลัยนเรศวร]]
บรรทัด 44:
ช่วงปี [[พ.ศ. 2527]] - [[พ.ศ. 2531|2531]] ทางวิทยาเขตได้เตรียมแผนสำหรับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ และในวันที่ [[29 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2533]] ซึ่งเป็นวันครบรอบ 400 ปี ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] รัฐบาลในสมัยของนายกรัฐมนตรี [[ชาติชาย ชุณหะวัณ|พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ]] มีมติให้ยกฐานะวิทยาเขตพิษณุโลก ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยใหม่แห่งนี้ว่า '''"มหาวิทยาลัยนเรศวร"''' ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้วันที่ [[29 กรกฎาคม]] ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัย<ref name="ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร"/>
 
ภายหลังจากการยกฐานะของมหาวิทยาลัยนเรศวรแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งอาคาร สถานที่และบุคลากร โดยมุ่งหวังที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ (Comprehensive University)<ref name="เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร">[http://www.nu.ac.th/ab-goal.htm เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> จึงมีการจัดตั้งคณะ วิทยาลัยต่างๆต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา และจัดตั้งหน่วยงานต่างๆต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและเพิ่มศักยภาพในด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัย ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2538]] ทางมหาวิทยาลัยมีมติจัดตั้งวิทยาเขตที่[[จังหวัดพะเยา]]<ref>[http://www.pyo.nu.ac.th/history.htm ประวัติมหาวิทยาลัยพะเยา]</ref> โดยปัจจุบันได้ยกฐานะขึ้นเป็น[[มหาวิทยาลัยพะเยา]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2553/A/044/4.PDF พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553]</ref> และในปี [[พ.ศ. 2548]] ได้จัดตั้ง[[โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]]<ref>[http://www.satit.nu.ac.th/satitprawad.html ประวัติโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นความรู้ทาง[[วิทยาศาสตร์]] [[เทคโนโลยี]] และภาษาต่างประเทศในระดับมัธยมให้กับนักเรียนในเขตภาคเหนือตอนล่าง
 
== สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ==
บรรทัด 188:
 
=== ศูนย์วิทยบริการ ===
แต่เดิมมหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดตั้งศูนย์วิทยบริการเพื่อขยายเครือข่ายการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาไปยังจังหวัดต่างๆต่าง ๆ ประกอบด้วย [[เชียงใหม่]] [[แพร่]] [[อุตรดิตถ์]] [[เพชรบูรณ์]] [[พิจิตร]] [[กำแพงเพชร]] [[นครสวรรค์]] [[ตาก]] [[สุโขทัย]] [[อุทัยธานี]] [[สุพรรณบุรี]] และ[[กรุงเทพมหานคร]] โดยมีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้สนใจศึกษาต่อที่ไม่สามารถมาเรียนโดยตรงที่มหาวิทยาลัยได้ และให้[[บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร|บัณฑิตวิทยาลัย]] กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยทั้งหมด ต่อมาจึงได้จัดตั้ง[[สถานการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยนเรศวร]] เพื่อเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์วิทยบริการโดยเฉพาะ<ref>[http://nuce.nu.ac.th/history.html ประวัติสถานการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
 
ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ [[13 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2554]] ได้มีมติให้ปิดศูนย์วิทยบริการ และปิดหลักสูตรการเรียนการสอนของศูนย์วิทยบริการทั้งหมดเมื่อนิสิตในปัจจุบันสำเร็จการศึกษาแล้ว และให้ดำเนินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้งเพียง 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรเภสัชศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชน (จัดการเรียนการสอนโดย[[คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะเภสัชศาสตร์]] ณ เภสัชสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์) และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการคลังและการบริหารหลักประกันสุขภาพ (หลักสูตรนานาชาติ) (จัดการเรียนการสอนโดย[[คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร|คณะแพทยศาสตร์]] ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.))<ref>[http://office.nu.ac.th/webapp/tools/meeting1/app/show01.asp?meet_id=730&part=5 มติที่ประชุมโดยย่อ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 165 (8/2554)]</ref> และในการประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ [[4 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2555]] ได้มีมติปิดสถานที่จัดการเรียนการสอน ณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอีกแห่งหนึ่ง คงเหลือแต่เภสัชสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์เพียงแห่งเดียว<ref>[http://office.nu.ac.th/webapp/tools/meeting1/app/show01.asp?meet_id=760&part=4 มติที่ประชุมโดยย่อ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 176 (10/2555)]</ref>
บรรทัด 194:
== การวิจัย ==
[[ไฟล์:NU_Central_Library.JPG|300px|thumb|right|[[สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร]]]]
จากการที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้วางเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยเป็น'' "มหาวิทยาลัยวิจัย (Research University) "''<ref name="เป้าหมายในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร"/> จึงได้มีการจัดตั้ง[[กองบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร|กองบริหารการวิจัย]] โดยเป็นหน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี เพื่อบริหารจัดการ ประสานงานและรวบรวมงานวิจัยต่างๆต่าง ๆ ของคณาจารย์และนิสิตของมหาวิทยาลัย
 
ในแต่ละปี กองบริหารการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัด '''"การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย (Naresuan Research Conference)"''' ขึ้น เพื่อให้หน่วยงานต่างๆต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยและผู้ที่สนใจนำเสนอผลงานวิจัยและการสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ๆใหม่ ๆ ซึ่งในปี [[พ.ศ. 2556]] นี้ [http://dra.research.nu.ac.th/nurc9/ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 9] จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ โดยมีหัวข้อการประชุม เรื่อง ''"ความรู้สู่เชิงพาณิชย์ นำเศรษฐกิจไทยก้าวไกลอาเซียน (Research-Based Commercialization for ASEAN Economic Development)"''
 
ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับ[[ผลงานการตีพิมพ์ของนักวิจัยไทย|การตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ISI]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2542]] - [[พ.ศ. 2548]] มีทั้งสิ้น 112 เรื่อง<ref>[http://www.scienceasia.org/2006.32.n2/v32_101_106.pdf Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005)]</ref> ส่วนในปี [[พ.ศ. 2555]] ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับทุนวิจัยรวมทั้งสิ้น 280 โครงการ<ref>[http://dra.research.nu.ac.th/realdb/index.aspx ระบบฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> โดยแบ่งตามสาขาดังนี้
บรรทัด 202:
* สาขา[[วิทยาศาสตร์]] และ[[เทคโนโลยี]] รวม 159 โครงการ
* สาขา[[มนุษยศาสตร์]] และ[[สังคมศาสตร์]] รวม 30 โครงการ
* หน่วยงานอื่นๆอื่น ๆ รวม 4 โครงการ
 
== การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ==
 
=== ระดับปริญญาตรี ===
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่างๆต่าง ๆ ดังต่อไปนี้<ref name="คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551">คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551</ref>
 
[[ไฟล์:Nupromation.jpg|300px|thumb|right|ป้ายมหาวิทยาลัยนเรศวร]]
* '''ระบบ Admission กลาง''' โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ความถนัดทั่วไป (GAT) และ ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) [ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2553 เป็นต้นไป] โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่างๆต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
* '''ระบบรับตรง (โควตา)''' มหาวิทยาลัยดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนระดับชั้น[[มัธยมศึกษา]]ปีที่ 6 ของโรงเรียนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง คือ จังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
บรรทัด 231:
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท<ref name="คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551">คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551</ref> ดังนี้
 
* '''การสอบคัดเลือก''' เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆต่าง ๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
 
* '''การคัดเลือก''' เป็นการคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆต่าง ๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน
 
=== ระดับปริญญาเอก ===
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆต่าง ๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ได้<ref name="คู่มือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551"/>
 
== อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย ==
บรรทัด 243:
ในปี [[พ.ศ. 2549]] [[สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา]] ได้ดำเนินการจัด[[อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย|อันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย]]ใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"<ref>[http://www.ranking.mua.go.th ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย]</ref> โดยในภาพรวมด้านการวิจัยนั้น มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 9 ของประเทศไทย<ref name="อันดับมหาวิทยาลัย"/>
 
นอกจากนี้แล้ว การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่างๆต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือน[[มกราคม]] และ[[กรกฎาคม]] ล่าสุดเดือน[[กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2556]] มหาวิทยาลัยนเรศวรอยู่ในอันดับที่ 4 ของมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค โดยเป็นอันดับที่ 9 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อันดับ 15 ของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับ 605 ของมหาวิทยาลัยทั่วโลก<ref name="Ranking Web of World Universities: Top South East Asia"></ref>
 
== พื้นที่มหาวิทยาลัย ==
บรรทัด 251:
 
==== มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนสนามบิน ====
หรือที่เรียกว่า "มน.ใน" ส่วนนี้เป็นสถานที่ตั้งแรกเดิมของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก ณ เลขที่ 1 ถนนสนามบิน [[ตำบลในเมือง]] [[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] [[จังหวัดพิษณุโลก]] ในปัจจุบันคณะและหน่วยงานต่างๆต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้ย้ายไปยังพื้นที่ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 คงเหลือแต่เพียงหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำโขง-สาละวินของ[[สถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร|สถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน]] สถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน "ไภษัชยศาลา" คณะเภสัชศาสตร์ และศูนย์สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร (สนามบิน) คณะแพทยศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงพื้นที่ส่วนใหญ่เพื่อเป็นที่ตั้งของ[[โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]]
 
==== มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ ====
[[ไฟล์:Birdeye_NU.jpg|thumb|right|350px|ภาพถ่ายทางอากาศของมหาวิทยาลัยนเรศวร]]
หรือที่เรียกว่า "มน.นอก" ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลกไปทางใต้ประมาณ 10 กม. โดยตั้งอยู่ ณ เลขที่ 99 หมู่ 9 [[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117|ถนนพิษณุโลก-นครสวรรค์]] ตำบลท่าโพธิ์ [[อำเภอเมืองพิษณุโลก]] [[จังหวัดพิษณุโลก]] แต่เดิมนั้นที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ดินสาธารณะโดยชาวบ้านเรียกว่า "ทุ่งหนองอ้อ - ปากคลองจิก" เนื่องจากเคยเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่เต็มไปด้วยต้นอ้อ และมีต้นจิกปกคลุมไปทั่ว ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2527]] ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าใช้พื้นที่และทำการปรับรูปที่ดินและถมหนองน้ำต่างๆต่าง ๆ ซึ่งการก่อสร้างอาคารต่างๆต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยนั้นอาศัยแผนแม่บท (Master Plan) ที่จัดทำขึ้นโดย[[สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง]] ในปี [[พ.ศ. 2527]]<ref name="ประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร"/>
 
การก่อสร้างอาคารของแต่ละคณะและแต่ละหน่วยงานนั้นคำนึงถึงกลุ่มสาขาวิชาเป็นหลัก โดยมีถนนนเรศวร และถนนเอกาทศรถเป็นถนนสายหลักล้อมรอบมหาวิทยาลัย เชื่อมกันด้วยถนนสุพรรณกัลยา นอกจากนี้มีถนนเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารต่างๆต่าง ๆ และมีประตูเข้า-ออกโดยรอบมหาวิทยาลัย 6 ประตู ซึ่งกลุ่มอาคารในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็น 6 กลุ่มดังต่อไปนี้
 
* '''กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ''' ประกอบด้วย
บรรทัด 322:
 
* '''โดม'''
เป็นชื่อเรียกของอาคารอเนกประสงค์โดยมีหลังคาคล้ายโดม ซึ่งภายในเป็นห้องอเนกประสงค์และลานกีฬาในร่มสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้อาคารอเนกประสงค์ยังเป็นที่ตั้งของห้องพระราชทานปริญญาบัตร พิพิธภัณฑ์ผ้า กองกิจการนิสิต รวมทั้งชมรมต่างๆต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยด้วย
 
* '''[[พิพิธภัณฑ์ผ้า]]'''
โครงการพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของ[[จังหวัดพิษณุโลก]]<ref>[http://www.thaitextilemuseum.com/Thai/A_2/A_2_1_/a_2_1_.html ประวัติพิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> โดยประกอบด้วย 2 หน่วยงานคือ
:''พิพิธภัณฑ์ผ้า''
ตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคารอเนกประสงค์ โดยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของผ้าจากชนชาติต่างๆต่าง ๆ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนุ่งห่มและการแต่งกาย นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมและนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและของประดับเป็นระยะๆระยะ ๆ ตลอดทั้งปี และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าชนิดต่างๆต่าง ๆ และของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยอีกด้วย
:''พิพิธภัณฑ์ชีวิต''
ประกอบด้วยกลุ่มอาคารทรงไทยที่อยู่ข้าง[[สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร]] ซึ่งภายในจะให้ความรู้ในด้านความเป็นมาของผ้าและการทอผ้า
 
* '''[[โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร]]'''
เป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ โดยเป็นศูนย์การแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (Super tertiary care) ในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่าง นอกจากเป็นสถานพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรยังเป็นศูนย์ประชุม ศูนย์การวิจัยและสถานที่ทำการเรียนการสอนนิสิตในกลุ่ม[[วิทยาศาสตร์สุขภาพ]] ซึ่งยังมีชื่อเรียกอื่นๆอื่น ๆ อีกเช่น ศูนย์วิจัย หรือสถาบันวิจัย
 
* '''ตึก CITCOMS'''
บรรทัด 342:
 
* '''สวนเทเลทับบี้'''
เป็นสวนสาธารณะกลางมหาวิทยาลัยโดยตั้งอยู่ระหว่างอาคารสำนักหอสมุด คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ โดยชื่ออย่างเป็นทางการของสวนนี้คือ ''"กรีน แอเรีย"'' (Green Area) หรือ ''"โอเอซิส"'' (Oasis) จนกระทั่งมีภาพยนตร์สำหรับเด็กเรื่อง ''"เทเลทับบี้"'' เข้ามาฉายในประเทศไทย ซึ่งลักษณะของสวนมีความคล้ายคลึงกับสวนในภาพยนตร์ นิสิตจึงเรียกกันเล่นๆเล่น ๆ ว่าสวนเทเลทับบี้จนติดปาก
 
* '''สวนพลังงาน'''
ตั้งอยู่ภายในวิทยาลัยพลังงานทดแทน โดยเป็นสวนตัวอย่างที่เป็นแหล่งสาธิตการใช้งานจริงของระบบ[[พลังงานทดแทน]] เช่น [[พลังงานแสงอาทิตย์]] [[พลังงานลม]] [[พลังงานน้ำ]] [[ชีวมวล]] และมีศูนย์ธุรกิจที่เป็นแหล่งของความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในการดำเนินการส่งเสริมธุรกิจทางด้านพลังงานทดแทน<ref>[http://www.sert.nu.ac.th/new/energypark.htm สวนพลังงาน วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
 
== ชีวิตในมหาวิทยาลัย ==
การเรียนในมหาวิทยาลัยนเรศวรนั้นจะใช้เวลาในการเรียนต่างกันตามแต่ละหลักสูตรในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการเรียน 4 ปี แต่สำหรับคณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์​ และคณะสหเวชศาสตร์​ สาขาทัศนมาตรศาสตร์​ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี ส่วนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และหลักสูตรคู่ขนานของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี<ref name="คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2551"/> นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมต่างๆต่าง ๆ ให้นิสิตได้เข้าร่วมเพื่อที่จะได้พบปะและทำความรู้จักนิสิตในคณะอื่น ซึ่งมีการจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี
 
=== กิจกรรมและประเพณีของมหาวิทยาลัย ===
บรรทัด 354:
; รับน้องเฟรชชี่และบีกินนิ่งแคมป์ (Beginning Camp) : กิจกรรมรับน้องใหม่ก่อนเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 สำหรับนิสิตใหม่ชั้นปีที่ 1 โดยจะจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน 2 คืน เพื่อให้นิสิตใหม่รู้จักมหาวิทยาลัยมากขึ้นและให้ปรับตัวเข้ากับเพื่อนใหม่ รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างน้อง-พี่
 
; กิจกรรมประชุมเชียร์ : เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์แรกของการเปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความสามัคคีของนิสิตชั้นปีที่ 1 และเป็นการสอนร้องเพลงมหาวิทยาลัยต่างๆต่าง ๆ ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1 ซึ่งภายหลังกิจกรรมประชุมเชียร์แล้ว แต่ละคณะมักจะให้มีการซ้อมการแสดงสแตนเชียร์ต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ ก่อนการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมประชุมเชียร์นี้จะจัดขึ้นใน[[ห้องเชียร์]] ของแต่ละคณะ
 
; หนองอ้อเกมส์ : กีฬาภายในของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตคณะต่างๆต่าง ๆ ซึ่งนอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีจุดที่น่าสนใจที่สุดของงานก็คือ การแสดงสแตนเชียร์ของแต่ละคณะ โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือน[[กรกฎาคม]] ของทุกปี
 
; งานเปิดโลกกิจกรรมและเฟรชชี่ ไนท์ (Freshy Night) : กิจกรรมที่ให้นิสิตชั้นปีที่ 1 เลือกเข้าชมรมต่างๆต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ส่วนในตอนกลางคืนจะมีการแสดงดนตรี การแสดงของนิสิตแต่ละคณะ และการประกวดดาวและเดือนของมหาวิทยาลัย โดยจัดขึ้น ณ อาคารเอนกประสงค์
 
; "Power Cheer" งานร้องเพลงมหาวิทยาลัย ภาคภูมิใจนเรศวร : เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนิสิตรุ่นพี่และรุ่นน้อง ให้นิสิตใหม่เกิดความรักและภาคภูมิใจในสถาบัน โดยมีกิจกรรมการแสดงละครกลางแจ้ง ประกอบแสง สี เสียง เรื่อง สมเด็จพระนเรศวรมหาราช การแสดงประกอบจินตลีลา จากนั้นเป็นการร่วมกันร้องเพลงมหาวิทยาลัยประกอบการแปรอักษรอันแสดงถึงความสามัคคี และความภาคภูมิใจในมหาวิทยาลัยนเรศวร
 
; งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ : จัดขึ้นในช่วงปลายเดือน[[สิงหาคม]] ของทุกปีในคณะต่างๆต่าง ๆ ในกลุ่ม[[วิทยาศาสตร์]]และ[[เทคโนโลยี]] และกลุ่ม[[วิทยาศาสตร์สุขภาพ]] ภายในงานจะมีนิทรรศการความรู้และกิจกรรมเสริมสร้างความรู้มากมาย
 
; งานลอยกระทง เทิดไท้องค์ราชันย์ มิ่งขวัญนเรศวร : งานประเพณีลอยกระทงของมหาวิทยาลัยที่จัดขึ้นทุกปีใน[[วันลอยกระทง]] โดยภายในงานจะมีขบวนแห่กระทงยักษ์ของแต่ละคณะ งานจัดร้านขายของและซุ้มเกมส์ของนิสิตแต่ละคณะ รวมทั้งงานแสดงมหรสพอีกมากมาย
บรรทัด 372:
งานประกวดการขับร้อง[[เพลงไทยสากล]]และเพลงสากลประจำปีของมหาวิทยาลัย โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือน[[ธันวาคม]]หรือ[[มกราคม]] ของทุกปี
 
; วงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก : การแสดงด้านการร้อง ดนตรี และแด้นเซอร์ ระดับนักศึกษา จากนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะต่างๆต่าง ๆ คัดเลือกนักศึกษาจากผู้มีความสามารถในระดับมัธยมศึกษาโดยการพิจารณาด้านความสามารถพิเศษ เข้าร่วมวงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยวงดนตรีลูกทุ่งมหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับงานแสดงจากภาครัฐและภาคเอกชน หรือการแข่งขันระดับอุดมศึกษาเวทีต่างๆต่าง ๆ
 
นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมภายในของแต่ละคณะ และกิจกรรมระหว่างคณะของมหาวิทยาลัยต่างๆต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เข้าร่วม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างมหาวิทยาลัย
 
:''ดูเพิ่มเติม [[กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศไทย]]''
บรรทัด 380:
=== การพักอาศัยของนิสิต ===
[[ไฟล์:NU Dormitory.JPG|350px|thumb|right|อาคารขวัญเมืองและหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]]
เนื่องจากมหาวิทยาลัยตั้งอยู่นอกเขตตัวเมือง ทำให้นิสิตส่วนใหญ่ทั้งที่มีภูมิลำเนาใน[[จังหวัดพิษณุโลก]] และนิสิตที่มาจากจังหวัดอื่นๆอื่น ๆ มีความจำเป็นในการพักอาศัยในหอพักบริเวณมหาวิทยาลัย ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยจึงได้สร้างหอพักนิสิตภายในมหาวิทยาลัย โดยมีนโยบายให้นิสิตชั้นปี 1 ทุกคณะ พักอาศัยอยู่ภายในหอพักนิสิตของมหาวิทยาลัยเพื่อให้มีโอกาสได้ทำความรู้จักกับเพื่อนนิสิตคณะอื่นๆอื่น ๆ ซึ่งหอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งอยู่ด้านหลังมหาวิทยาลัยบริเวณข้างอ่างเก็บน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี [[พ.ศ. 2549]] เป็นอาคาร 4 ชั้น มีทั้งสิ้น 15 อาคาร โดยมี '''"อาคารขวัญเมือง"''' เป็นอาคารบริการและอาคารอเนกประสงค์ของหอพักนิสิต การพักอาศัยในหอพักของมหาวิทยาลัยนั้นจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายรายปี<ref>[http://www.nudorm.com หอพักนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref> และในส่วนของนิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทางคณะมีหอพักให้สำหรับนิสิตแพทย์ชั้นปี 2 - 6 โดยเก็บค่าใช้จ่ายรายปี
 
สำหรับนิสิตชั้นปีอื่นๆอื่น ๆ สามารถเช่าหอพักเอกชนภายนอกมหาวิทยาลัยได้ ซึ่งมีอยู่โดยรอบมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.sad.nu.ac.th/Services/dormother.htm รายชื่อหอพักเอกชนรอบบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
 
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
นับแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยนเรศวร [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพิธีต่างๆต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยนเรศวร และพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นประจำทุกปี
 
เมื่อ [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] เสด็จขึ้นทรงราชย์ สืบราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรสืบมาจวบจนกาลปัจจุบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยจัดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม (เฉพาะปีการศึกษา 2559 จัดขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560) ณ ห้องพระราชทานปริญญาบัตร ภายในอาคารอเนกประสงค์
บรรทัด 412:
 
== งานเทา-งามสัมพันธ์ ==
กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยนเรศวร [[มหาวิทยาลัยบูรพา]] [[มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]] และ[[มหาวิทยาลัยทักษิณ]] แม้ว่าวิทยาเขตต่างๆต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันของทั้ง 4 มหาวิทยาลัย รวมทั้ง[[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]] จึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี "เทา" ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า "งาม" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น "เทา-งามสัมพันธ์" ซึ่ง ''" มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ "'' เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งแรกเมื่อปี [[พ.ศ. 2538]] โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2539]] อธิการบดีทั้ง 5 มหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้านคือด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการร่วมกัน
บรรทัด 447:
ในวันที่ [[27 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2550]] ได้มีกลุ่มนิสิตของมหาวิทยาลัยออกแถลงการณ์แสดงความเคลือบแคลงสงสัยในขั้นตอนการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... โดยอ้างว่าทางมหาวิทยาลัยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยน้อยเกินไป ทำให้นิสิตไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยยังขาดกระบวนการทำประชาพิจารณ์ที่ถูกต้อง โดยนิสิตที่เข้าร่วมเสนอข้อคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวมีจำนวนน้อยเกินไป ไม่มีการสอบถามความคิดเห็นของนิสิตในการประชุมเสนอความเห็น เพียงแต่บอกข้อดี ข้อเสีย และความไม่โปร่งใสเนื่องจากมีการเข้าวาระการพิจารณาอย่างเร่งด่วน<ref>[http://pitloknews.ob.tc/news-View.php?N=504 กลุ่มนิสิต ม.นเรศวร ยื่นแถลงการณ์คัดค้านมหาวิทยาลัยออกนอก]</ref> และในวันเดียวกันนั้นได้มีนิสิตประมาณ 500 คนเดินขบวนประท้วงรอบมหาวิทยาลัยเพื่อต่อต้านการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบด้วย<ref>[http://www.mornor.com/boards/index.php/topic,4611.0.html กองทัพนิสิต มน. กว่าครึ่งพันเดินขบวนถามหาความโปร่งใส]</ref>
 
วันที่ [[29 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2550]] นายกองค์การนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มายื่นหนังสือถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนหน้าที่จะเข้าสู่วาระประชุมในสภา เพื่อขอให้ชะลอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... โดยให้เหตุผลว่า มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้นิสิตมีส่วนร่วมในร่างนี้ ดังนั้นจึงขอให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยกลับมาทำความเข้าใจตกลงร่วมกันกับประชาคมภายในมหาวิทยาลัยให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันก่อน<ref name="มหาวิทยาลัยนอกระบบ 3"/> ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ใหม่อีกครั้งในวันที่ [[3 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2550]]<ref>หนังสือ ศธ 0527.01.01/617 เรื่องขอเชิญร่วมประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ...</ref> แต่ต่อมาได้ยกเลิกโดยให้เหตุผลว่าการทำความเข้าใจกับบุคลากรและนิสิตอย่างทั่วถึง จะต้องใช้เวลาพอสมควรหากจะดำเนินการในระยะเวลาสั้นๆสั้น ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาดังเช่นที่ผ่านมาขึ้นอีกได้ จึงเห็นควรชะลอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ไปจนกว่าจะทำความเข้าใจกับประชาคมมหาวิทยาลัยนเรศวรให้มีความเห็นพ้องต้องกันทุกฝ่ายจึงจะดำเนินการนำเสนอต่อไป<ref>[http://www.nu.ac.th/webapp/tools/meeting1/app/ มติที่ประชุมโดยย่อ คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 133 (6/2550)]</ref><ref>[http://www.managerradio.com/Radio/webboard/Question.asp?GID=127145&Mbrowse=1 กับดักร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร]</ref>
 
จากนั้นในวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2550]] คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอถอนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ... ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังจากได้เลื่อนการพิจารณามาแล้ว 2 ครั้ง<ref>[http://news.thaiza.com/detail_78134.html ครม.ไฟเขียวถอนร่างพ.ร.บ.มน. ดันมช.-สจล.-จุฬาฯออกนอกระบบ]</ref>