ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kritapas penbunprasert (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kritapas penbunprasert (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52:
ทั้งนี้ เมื่อการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตงแล้วเสร็จ จะทำให้การคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดยะลา และการเชื่อมต่อสู่ประเทศมาเลเซียที่ด่านเบตงและพื้นที่ใกล้เคียงจะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะเพิ่มขึ้นจากปีละ 600,000 คน เป็น 1,000,000 คนต่อปี และมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 4,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2563 เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่แก่ประชาชน
 
โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งวันที่ 10 พ.ย. มีพิธีวางศิลาฤกษ์ “สนามบินเบตง” ปลุก ศก.-ท่องเที่ยว 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างชนะการเสนอราคาในเฟสแรก คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562
 
ล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 อนุมัติให้ขยายทางวิ่งท่าอากาศยานเบตงเพิ่มอีก 300 เมตรจากเดิม 1,800 เมตร เพิ่มเป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างอย่างแอร์บัส เอ-319 , เอ-320 และโบอิ้ง 737 ของสายการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมบินไทยแอร์เอเชีย นกแอร์ และบางกอกแอร์เวยส์ได้อีกด้วย
 
วันที่ 8 ธันวาคม 2560 ความคืบหน้าของงานก่อสร้างทางวิ่ง ทางขับ ลานจอดเครื่องบิน มีผลการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 32 เปอร์เซ็นต์ของงานทั้งหมด และความคืบหน้างานก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร และอาคารประกอบผลการดำเนินงาน รวมทั้งสิ้น 8 เปอร์เซ็นต์ของงานทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ต้นปี 2563