ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเพณีสารทเดือนสิบ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Liger (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อน 1 การแก้ไขของ 203.113.17.150 ด้วยสคริปต์จัดให้: มีการลบข้อมูลเก่า
บรรทัด 1:
'''ประเพณีสารทเดือนสิบ''' เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทาง[[ศาสนาพราหมณ์]]โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
[[หมวดหมู่:ประเพณีไทย]]
1. ประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีสารทเดือนสิบ นับเป็นประเพณีที่สำคัญของชาวภาคใต้โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ประเพณีนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย และได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ประเพณีสารทเดือนสิบมีพื้นฐานมาจากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่ว่า ในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ พญายมจะปล่อย “เปรต” จากนรกภูมิให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องของตนในเมืองมนุษย์ และให้กลับขึ้นสู่นรกในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ โอกาสนี้ชาวบ้านจึงจัดให้มีกาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว งานบุญนี้ถือว่าเป็นงานสำคัญวันหนึ่งวงศ์ตระกูล ฉะนั้นบรรดาญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่น จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมเพื่อร่วมทำบุญในประเพณีที่สำคัญนี้
1.1 ความมุ่งหมายของประเพณีสารทเดือนสิบ
ประเพณีสารทเดือนสิบ มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราชเป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนาในสังคมเกษตรกรรม จึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วยพอสรุปได้ดังนี้
1) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว
2) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปเป็นอาหารถวายพระ รวมถึงการจัดหฺมฺรับถวายพระในลักษณะของ “สลากภัต” นอกจากนี้ยังถวายพระในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
3) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณีของชาวนครศรีธรรมราช แต่ประเพณีสารทเดือนสิบเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัด การแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงจึงได้ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี เรียกว่า “งานเดือนสิบ” ซึ่งงานเดือนสิบนี้ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนถึงปัจจุบัน
 
ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะ นิยมทำบุญกันมากคือวันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน
 
[[หมวดหมู่:ประเพณีไทย]]
 
1.2 วิถีปฏิบัติ และพิธีกรรม
วิธีปฎิบัติและพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีความแตกต่างกันไปบ้าง บางท้องถิ่นจะประกอบพิธีในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ครั้งหนึ่ง และประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ เดือน สิบ อีกครั้งหนึ่ง สำหรับชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น หากประกอบพิธีในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ จะเรียกว่า “วันหฺมฺรับเล็ก” ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่นิยม ส่วนใหญ่จะนิยมประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ 15 ค่ำ เดือน สิบ ซึ่งเรียกว่า “วันหฺมฺรับใหญ่” ดังนั้น ประเพณีวันสารทเดือนสิบของนครศรีธรรมราชจะมีวิถีปฏิบัติและพิธีกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองพอสรุปได้ดังนี้
1) การเตรียมการ
ก่อนถึงวันสารทเดือนสิบ แต่ละครอบครัวจะเตรียมจัดหาข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้พร้อม ในอดีตจะมีธรรมเนียมการออกปากเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวเพื่อนำมาใช้ทำขนมประจำเทศกาลชนิดต่าง ๆ แต่วิถีปัจจุบันได้เปลี่ยนไป เพราะขนมประจำเทศกาลและข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มีการวางขายโดยทั่วไป การเตรียมการในปัจจุบันจึงเป็นเพียงการหาซื้อข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้พร้อมเพื่อการจัดหฺมฺรับ ซึ่งมักกระทำในวันแรม 13 ค่ำ เดือนสิบ โดยเรียกวันนี้ว่า “วันจ่าย”
 
2) การจัดหฺมฺรับ
เมื่อถึงวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ ซึ่งเรียกกันว่า “วันหลองหฺมฺรับ” แต่ละครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะร่วมกันนำข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ มาจัดเป็นหฺมฺรับ สำหรับการจัดหฺมฺรับนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอน จะจัดเป็นรูปแบบใดก็ได้ แต่ลำดับการจัดของลงหฺมฺรับจะเหมือน ๆ กัน คือ เริ่มต้นจะนำกระบุง กระจาด ถาด หรือกะละมัง มาเป็นภาชนะ แล้วรองก้นด้วยข้าวสาร ตามด้วยหอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ต่อไปก็ใส่ของจำพวกอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม และผักผลไม้ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น ฟักเขียว ฟักทอง มะพร้าว ขมิ้น มัน ลางสาด เงาะ ลองกอง กล้วย อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ฯลฯ จากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ไต้ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย และเครื่องเซี่ยนหมาก สุดท้ายก็ใส่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการจัดหฺมฺรับ คือ ขนม 5 อย่าง ( บางท่านบอกว่า 6 อย่าง ) ซึ่งขนมแต่ละอย่างล้วนมีความหมายในตัวเอง คือ ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับผู้ล่วงลับใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ขนมลา แทนเครื่องนุ่งห่มแพรพรรณ ขนมกง หรือ ขนมไข่ปลา แทนเครื่องประดับ ขนมดีซำ แทนเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย ขนมบ้า แทนสะบ้าใช้เล่น ในกรณีที่มีขนม 6 อย่าง ก็จะมีขนมลาลอยมัน ซึ่งใช้แทนฟูกหมอน เข้าไปด้วย
3) การยกหฺมฺรับ
ในวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหมฺรับ ต่างก็จะนำหมฺรับพร้อมภัตตาหารไปวัด โดยแต่ละคนจะแต่งตัวอย่างสะอาดและสวยงาม เพราะถือเป็นการทำบุญครั้งสำคัญ วัดที่ไปมักจะเป็นวัดใกล้บ้านหรือวัดที่ตนศรัทธา การยกหมฺรับไปวัดอาจต่างครอบครัวต่างไปหรืออาจจัดเป็นขบวนแห่ ทั้งนี้เพื่อต้องการความสนุกสนานรื่นเริงด้วย วัดบางแห่งอาจจะจัดให้มีการประกวดหฺมฺรับในส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราชนั้น ได้จัดให้มีขบวนแห่หมฺรับอย่างยิ่งใหญ่ตระการตาในงานเดือนสิบทุก ๆปี โดยมีองค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนต่างส่งหฺมฺรับของตนเข้าร่วมขบวนแห่และร่วมการประกวด ซึ่งในช่วงเทศกาลนี้สามารถจูงใจนักท่องเที่ยวให้มาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชมากยิ่งขึ้น
เมื่อขบวนแห่หฺมฺรับมาถึงวัดแล้ว ก็จะร่วมกันถวายภัตตาหารแก่ภิกษุสงฆ์ เสร็จแล้วจะร่วมกัน “ตั้งเปรต” เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ในอดีตมักตั้งเปรตบริเวณโคนต้นไม้หรือบริเวณกำแพงวัด แต่ปัจจุบันนิยมตั้งบน “หลาเปรต” โดยอาหารที่จะตั้งนั้นจะเป็นขนมทั้ง 5 หรือ 6 อย่างดังกล่าวข้างต้น รวมถึงอาหารอื่น ๆ ที่บรรพชนชอบ ตั้งเปรตเสร็จแล้ว พระสงฆ์จะสวดบังสุกุล โดยจับสายสิญจน์ที่ผูกไว้กับหลาเปรต เมื่อพิธีสงฆ์เสร็จสิ้น ผู้คนจะร่วมกัน “ชิงเปรต” โดยการแย่งชิงอาหารบนหลาเปรต ทั้งนี้นอกจากเพื่อความสนุกสนานแล้วยังมีความเชื่อว่า หากใครได้กินอาหารบนหลาเปรตจะได้รับกุศลแรง เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เสร็จสิ้นการชิงเปรตต่างก็แยกย้ายกลับบ้านด้วยใจอิ่มบุญ