ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แยกท่าพระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
 
'''แยกท่าพระ''' ({{lang-en|Tha Phra Intersection}}) เป็นสี่แยกบริเวณจุดตัดระหว่าง[[ถนนเพชรเกษม]], [[ถนนรัชดาภิเษก]]และ[[ถนนจรัญสนิทวงศ์]] ในพื้นที่แขวงวัดท่าพระ [[เขตบางกอกใหญ่]] [[กรุงเทพมหานคร]] นับเป็นสี่แยกที่มีความสำคัญต่อการจราจรในพื้นที่[[ฝั่งธนบุรี]] ถือเป็นจุดเริ่มต้นของถนนจรัญสนิทวงศ์ และถนนรัชดาภิเษก ช่วงรัชดา-ท่าพระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบถนนวงแหวนรอบในของกรุงเทพฯ อีกทั้งยังเป็นทางแยกแรกของถนนเพชรเกษมจากจุดเริ่มต้นบริเวณสะพานเนาวจำเนียรซึ่งทอดยาวลงสู่[[ภาคใต้]]ของไทย นับเป็นบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นมากอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ฝั่งธนบุรีรองจาก[[วงเวียนใหญ่]] แม้ในปัจจุบันจะมีการตัดถนนในพื้นที่ข้างเคียงอีกหลายสาย เช่น[[ถนนราชพฤกษ์]] ซึ่งสามารถแบ่งเบาปริมาณการจราจรจากย่านวงเวียนใหญ่เข้าสู่แยกท่าพระได้ในระดับหนึ่ง
 
โดยชื่อ "ท่าพระ" อันทั้งชื่อของแยกและ[[แขวง]]ในพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ด้วย นั้นมาจากชื่อของ[[วัดท่าพระ]] ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงด้านถนนจรัญสนิทวงศ์ เดิมมีชื่อว่า "วัดเกาะ" ต่อมาได้มีการพบหลวงพ่อเกษร อันเป็นประธานในวัดลอยมาติดที่ท่าน้ำ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าพระดังเช่นในปัจจุบัน<ref>{{cite web|url=http://www.bangkok.go.th/bangkokyai/page/sub/6506/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0|title=วัดท่าพระ|work=สำนักงานบางกอกใหญ่}}</ref>
 
แยกท่าพระเดิมมีสภาพเป็นเพียงสามแยก ต่อมาทางด้านทิศใต้ได้มีการตัดถนนรัชดาภิเษกช่วงรัชดา-ท่าพระ จึงเปลี่ยนมาเป็นสี่แยก กระทั่งปี [[พ.ศ. 2534]] มีการเปิดใช้สะพานลอยข้ามแยกตามแนวถนนเพชรเกษม ทำพิธีเปิดโดย พล.ต.[[จำลอง ศรีเมือง]] [[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]]ในขณะนั้น และในปี [[พ.ศ. 2544]] มีการเปิดใช้อุโมงค์ลอดทางแยกตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนรัชดาภิเษก นับเป็นอุโมงค์ลอดทางแยกแห่งแรก ๆ ของกรุงเทพมหานคร