ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การยาสูบแห่งประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 82:
กิจการดำเนินมาจนกระทั่งในช่วง[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] เกิดการกักตุนบุหรี่ และเหตุการณ์ทหารญี่ปุ่นเข้ายึดโรงงานผลิตบุหรี่ย่าน[[ถนนเจริญกรุง]] ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2484 ทำให้กิจการของโรงงานยาสูบต้องหยุดดำเนินการในชั่วระยะหนึ่ง
 
ในปี พ.ศ. 2485 ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมโรงงานอุตสาหกรรมในกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2485 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2485<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/A/037/1186.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมโรงงานอุตสาหกรรมในกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2485๒๔๘๕]ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอนที่ 37 วันที่ 2 มิถุนายน 2485</ref> ให้โอนกิจการโรงงานยาสูบ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ไปสังกัด[[กรมโรงงานอุตสาหกรรม]] [[กระทรวงอุตสาหกรรม]] จนในปี พ.ศ. 2486 จึงโอนมาสังกัดกรมสรรพสามิตเช่นเดิม และได้มีประกาศพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2485 ให้การประกอบกิจการอุตสาหกรรมซิกาแรต เป็นอุตสาหกรรมผูกขาดของรัฐ แต่ในขณะเดียวกันโรงงานก็ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบเป็นอย่างมาก จนถึงในปี พ.ศ. 2488 จึงต้องปิดโรงงานที่สะพานเหลือง และที่ถนนวิทยุ
 
ในปี พ.ศ. 2491 จึงได้เปิดดำเนินการโรงงานที่สะพานเหลืองอีกครั้งหนึ่ง และได้ดำเนินกิจการก้าวหน้าเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2497 จึงได้โอนจากสังกัดกรมสรรพสามิต มาสังกัดกระทรวงการคลังโดยตรง<ref>[http://www.thaitobacco.or.th/thai/?page_id=6677 ประวัติโรงงานยาสูบ]</ref>
บรรทัด 92:
กระทั่งในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 70/2560 วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ที่ประชุมได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติการยาสูบแห่งประเทศไทย พ.ศ. ... ไว้พิจารณาด้วยคะแนนเห็นด้วย 142 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 5 เสียง ไม่ลงคะแนน ไม่มี
 
ต่อมาในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภาครั้งที่ ๑๑/๒๕๖๑ วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการยาสูบแห่งประเทศไทย พ.ศ. ... ในวาระที่ 2 และ 3 ผลปรากฎว่าสมาชิกให้ความเห็นชอบประกาศใช้เป็นกฎหมายด้วยคะแนนเห็นด้วย 192 เสียง ไม่เห็นด้วย ไม่มี งดออกเสียง 4 เสียง
 
== อ้างอิง ==