ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โคม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
| ICD9 = {{ICD9|780.01}}
}}
'''โคม่า''' ({{lang-en|Coma}}) คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวมากกว่า 6 ชั่วโมง โดยความไม่รู้สึกตัวนี้คือ ปลุกไม่ตื่น กระตุ้นด้วยความรู้สึกเจ็บ แสง เสียง แล้วไม่ตอบสนอง ไม่มีวงจรหลับ-ตื่น ตามปกติ และไม่มีการเคลื่อนไหวที่มาจากความตั้งใจ<ref>ความหมายคำว่า "โคม่า". พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542</ref> ในทางการแพทย์จะถือว่ามีความแตกต่างกันอย่างมากระหว่างโคม่าที่เกิดขึ้นเองหรือเป็นจากตัวโรค กับ[[โคม่าจากการใช้ยา]] ({{lang-en|induced coma}}) โดยแบบแรกเกิดขึ้นจากสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมทางการแพทย์ ส่วนแบบหลังเป็นความตั้งใจทางการแพทย์ เช่นอาจทำเพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยฟื้นฟูเองในสภาวะดังกล่าว
 
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะโคม่าจะไม่มีความตื่นโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถมีสติรับรู้ความรู้สึก ไม่สามารถพูด หรือได้ยิน หรือเคลื่อนไหว<ref>{{cite journal|last=Bordini|first=A.L.|author2=Luiz, T.F. |author3=Fernandes, M. |author4=Arruda, W. O. |author5= Teive, H. A. |title=Coma scales: a historical review|journal=Arquivos de neuro-psiquiatria|year=2010|pages=930–937|doi=10.1590/S0004-282X2010000600019|volume=68|issue=6|pmid=21243255}}</ref> โดยปกติแล้วการที่คนคนหนึ่งจะมีสติรับรู้ได้ จะต้องมีการทำงานที่เป็นปกติของสมองส่วนสำคัญสองส่วน ได้แก่ เปลือกสมอง และก้านสมองส่วน[[Reticular formation|เรติคูลาร์แอคทิเวติงซิสเต็ม]] (RAS)<ref name=med>{{cite book |author=Hannaman, Robert A.|title=MedStudy Internal Medicine Review Core Curriculum: Neurology 11th Ed|publisher=MedStudy| year=2005 |pages=(11–1) to (11–2) |isbn=1-932703-01-2}}</ref><ref>{{cite journal|title=Persistent vegetative state: A medical minefield|journal=[[New Scientist]]|date=July 7, 2007|pages=40–3|url=https://www.newscientist.com/article/mg19526111.800-persistent-vegetative-state-a-medical-minefield.html?full=true}} See [https://www.newscientist.com/data/images/archive/2611/26111801.jpg diagram].</ref> ความเสียหายต่อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งสองส่วนข้างต้นจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้
 
เปลือกสมองเป็นส่วนของ[[เนื้อเทา]]ที่มีนิวเคลียสของเซลล์ประสาทรวมกันอยู่หนาแน่น มีหน้าที่ทำให้เกิดการรับรู้ นำสัญญาณประสาทสัมผัสส่งไปยังเส้นทางทาลามัส และกระบวนการอื่นๆ ของสมอง รวมถึงการคิดแบบซับซ้อน
 
ส่วน RAS เป็นโครงสร้างที่ดั้งเดิมกว่า อยู่ในก้านสมอง ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเรติคูลาร์ฟอร์เมชัน (RF) บริเวณ RAS ของสมองมีทางประสาทที่สำคัญอยู่สองทาง คือทางขาขึ้นและทางขาลง ประกอบขึ้นมาจากเซลล์ประสาทชนิดที่สร้างอะเซติลโคลีน ทางขาขึ้น หรือ ARAS ทำหน้าที่กระตุ้นและคงความตื่นของสมอง ส่งผ่าน TF ไปยังทาลามัส และไปถึงเปลือกสมองเป็นปลายทาง<ref name="Young 2009 32–47">{{cite journal|last=Young|first=G.B.|title=Coma|journal=Ann. N. Y. Acad. Sci.|year=2009|issue=1|pages=32–47|doi=10.1111/j.1749-6632.2009.04471.x|volume=1157|bibcode=2009NYASA1157...32Y}}</ref> หาก ARAS ทำงานไม่ได้จะทำให้เกิดโคม่า
 
คำว่าโคม่านี้มาจากภาษากรีก κῶμα แปลว่า การหลับลึก<ref>{{cite web|url=http://www.etymonline.com/index.php?term=coma&allowed_in_frame=0|title=''Coma'' Origin|publisher=[[Online Etymology Dictionary]]|accessdate=14 August 2015}}</ref>
 
ผู้ป่วยที่อยู่ในอาการโคม่าจะยังถือว่ามีชีวิต เพียงแต่จะสูญเสียความสามารถที่จะตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมตามปกติไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลังการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ นอกจากนั้นก็อาจเป็นผลต่อเนื่องจากโรคอื่นได้ เช่น การติดเชื้อในสมอง เลือดออกในสมอง [[ไตวาย]]ขั้นรุนแรง น้ำตาลในเลือดต่ำ สมองขาดออกซิเจน เป็นต้น<ref>[http://www.neuro.or.th/tha/detail.php?id=169 โคม่า คืออะไร]. วิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไท</ref>
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โคม่า"