ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเยาวราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น [[วงเวียนโอเดียน]], [[ถนนเจริญกรุง]] ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ [[เขตสัมพันธวงศ์]] ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับ[[ถนนทรงสวัสดิ์]] (สี่แยกเฉลิมบุรี), [[ถนนราชวงศ์]] (สี่แยกราชวงศ์) และ[[ถนนจักรวรรดิ]] (สี่แยกวัดตึก) ข้าม[[คลองรอบกรุง]] (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ [[เขตพระนคร]] สิ้นสุดที่แยก[[ถนนพีระพงษ์]]ตัดกับ[[ถนนมหาไชย]]และ[[ถนนจักรเพชร]]
 
บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชน[[ชาวจีน]]และ[[ชาวไทยเชื้อสายจีน]]เป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของ[[กรุงเทพมหานคร]]โดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "[[China Town|ไชน่าทาวน์]]แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ<ref>Van Roy, Edward. ''Sampheng: Bangkok's Chinatown Inside Out''. Bangkok: Asian Studies Institute of Chulalongkorn University, 2007</ref> และถือว่าเป็นไชน่าทาวน์ หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก<ref name=เจริญ>{{cite web|url=https://www.facebook.com/Charoen1948/videos/1508768385839766/|title= แฟนพันธุ์แท้ ตอน เยาวราช| work=[[แฟนพันธุ์แท้ 2003]]|first=เจริญ|last= ตันมหาพราน}}</ref>
 
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:เยาวราชแต่ก่อน.jpg|thumb|250px|left|ถนนเยาวราชในราวพุทธทศวรรษ 2500 ในยุคที่[[รถราง]]ยังคงให้บริการอยู่]]
ถนนเยาวราชเป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตามโครงการถนนอำเภอสำเพ็งซึ่งเป็นนโยบายสร้างถนนในท้องที่ที่เจริญแล้วเพื่อส่งเสริมการค้าขาย [[สำเพ็ง]]เป็นย่านการค้าที่เจริญมากแห่งหนึ่งนอกเหนือจากบริเวณ[[ถนนเจริญกรุง]]แล้ว ทำให้มีพระราชดำริที่จะสร้างถนนให้มากขึ้น ถนนเยาวราชเป็น 1 ใน 18 ถนนที่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]] (ขณะดำรงพระอิสริยยศพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ) เสนอให้สร้าง เช่น [[ถนนจักรวรรดิ]], [[ถนนราชวงศ์]], [[ถนนอนุวงศ์]] โดยในเวลานั้นสภาพของพื้นที่ ๆ จะกลายมาเป็นถนนเยาวราช มีสภาพเป็นท้อง[[ทุ่งนา]]<ref name=เจริญ/>
 
ถนนเยาวราชเริ่มตั้งแต่[[คลองรอบกรุง]]ตรงข้ามกับ[[ป้อมมหาไชย]] ตัดลงไปทางทิศใต้บรรจบกับถนนราชวงศ์ซึ่งสร้างแยกจาก[[ถนนเจริญกรุง]]ตรงไปฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (ท่าราชวงศ์) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์กราบบังคมทูลว่าจะสร้างถนนใน [[พ.ศ. 2434]] โดยให้ชื่อถนนว่า "ถนนยุพราช" ต่อมาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ถนนเยาวราช" และในวันที่ [[28 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2434]] ได้มีพระบรมราชโองการให้ออกประกาศกรมโยธาธิการแจ้งให้ราษฎรทราบว่า การตัดถนนเยาวราชเนื่องจากมีพระราชประสงค์จะให้บ้านเมืองเจริญและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไปเพื่อมิให้ราษฎรพากันตกใจขายที่ดินไปในราคาถูก เพราะเข้าใจว่าจะซื้อเป็นของหลวง หรือบางทีเข้าใจว่าการชิงขายเสียก่อน ถึงจะได้ราคาน้อยก็ยังดีกว่าจะสูญเปล่า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ตึกที่ยื่นล้ำเข้ามาในแนวถนนไม่เกินกว่า 1 วา ไม่ต้องรื้อถอนด้วย
 
ปรากฏในเอกสารของกรมโยธาธิการว่าเมื่อเจ้าพนักงานไปวัดที่ตัดถนนบริเวณตำบลตรอกเต๊านั้น ราษฎรร้องเรียนว่าเจ้าพนักงานไม่ยุติธรรม เพราะถ้าวัดปักไม้ถูกบ้านของผู้มีบรรดาศักดิ์ก็จะเลี่ยงไปปักที่ใหม่ ถูกแต่ที่ราษฎรทั้งสิ้น ทำให้แนวถนนไม่ตรง ราษฎรที่ตรอกเต๊าจึงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณา พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์จึงเสนอให้มีเงินค่าเวนคืนที่ดินหรือคำทำขวัญขึ้นเช่นเดียวกับที่คนในบังคับต่างประเทศได้รับ โดยได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเมื่อ [[พ.ศ. 2437]] และได้มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าปรึกษาในที่ประชุม[[รัฐมนตรี]]สภา ซึ่งมีพระราชดำรัสว่า ''"ถนนสายเดียวซึ่งผู้ที่ไม่ได้ขัดขวางยอมให้ทำล่วงไปแล้วจะไม่ได้รับรางวัล จะได้แต่ผู้ที่ร้องขัดขวางเช่นนี้ก็เป็นที่น่าสงสารอยู่"'' แต่อย่างไรก็ตาม [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]มีพระราชดำริเห็นชอบในการจ่ายค่าที่ดินแก่คนไทยเช่นเดียวกับคนในบังคับต่างประเทศ เพื่อคนไทยจะได้ไม่เสียเปรียบคนต่างประเทศ
 
การสร้างถนนเยาวราชประสบอุปสรรคหลายประการนับแต่เริ่มกรุยทางในปี [[พ.ศ. 2435]] จนถึงปี [[พ.ศ. 2438]] ก็ยังไม่เสร็จ เพราะนอกจากราษฎรจะขัดขวางแล้วยังปรากฏว่า เจ้าของที่ดินหลายรายขวนขวายที่จะขายที่ดินให้กับคนในบังคับต่างประเทศ ทำให้การก่อสร้างค่อนข้างล่าช้า เพราะกระทรวงนครบาลไม่อาจจัดการเรื่องที่ดินที่ถนนจะต้องตัดผ่านให้กับกรมโยธาธิการได้ ปรากฏว่าพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงนครบาลเกี่ยวกับการมอบที่ดินที่อยู่ในแนวถนนให้กระทรวงโยธาธิการ ขอให้[[กระทรวงนครบาล]]จัดการในกรณีที่คนในบังคับต่างประเทศจะมาทำหนังสือซื้อขายหรือจำนำที่ดินที่ได้กรุยทางสร้างถนนเยาวราชไว้โดยสั่งให้เจ้าพนักงานหรืออำเภอกำนันให้ทราบว่าเป็นที่ทำถนนอย่าให้รับทำหนังสือซื้อขาย ''"ขอกระทรวงเมืองได้โปรดประทานพระอนุญาตให้ราชการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินไปโดยสดวกด้วย"'' แต่[[กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์]]ทรงอ้างว่าต้องทรงรอคำวินิจฉัยจากที่ประชุม[[เสนาบดี]]ในเรื่องที่ราษฎรร้องเรียนกันขึ้นมาว่าการตัดถนนผ่านที่ดินเป็นไปอย่างไม่เป็นธรรม และปรากฏหนังสือโต้ตอบกันระหว่างเสนาบดีทั้ง 2 กระทรวงนี้ เพราะกระทรวงโยธาธิการก็ต้องการสร้างถนนให้เสร็จสิ้น ขณะที่กระทรวงนครบาลพยายามที่จะให้ราษฎรได้รับเงินค่าที่ดินจากรัฐบาล จึงรอพระบรมราชโองการเกี่ยวกับเรื่องนี้ และยังไม่มอบที่ดินให้[[กระทรวงโยธาธิการ]] ถึงกับ[[กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิธาดา]]ทรงระบุว่า กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ทรงพระเมตตากับราษฎรบริเวณถนนเยาวราชกว่าราษฎรในแนวถนนอื่น ๆ กรมโยธาธิการจึงต้องดำเนินการสร้างถนนส่วนที่ไม่มีปัญหาและที่ดินที่เป็นของหลวงก่อน
บรรทัด 34:
ในช่วงเทศกาล[[กินเจ]] เยาวราชก็มีความคึกคักเช่นเดียวกัน โดยจะมีผู้คนออกมาจับจ่ายหาซื้ออาหารเจเป็นจำนวนมากเป็นประจำทุกปี<ref>{{cite web|title=กินเจย่านเยาวราชบรรยากาศคึกคัก|date=2016-10-02|accessdate=2018-01-20|work=ไอเอ็นเอ็น|url=http://www.innnews.co.th/show/733329/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%84%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%81}}</ref> <ref>{{cite web|url=https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/35823|work=[[พีพีทีวี]]|date=2016-09-30|accessdate=2018-01-20|title=เยาวราชคึกคัก คนแห่กินเจ ไม่หวั่นแม้ราคาสูงขึ้น (คลิป)}}</ref>
=== ศาสนสถาน ===
เยาวราชรวมไปถึงฝั่งถนนเจริญกรุงและถนนอื่น ๆ ใกล้เคียงเป็นแหล่งที่ตั้งของ[[ศาสนสถาน]]มากมายหลายแห่ง ในหลากหลายความเชื่อทั้งพุทธ[[หินยาน]], [[มหายาน]] รวมถึง[[อนัมนิกาย]]<ref>{{cite web|url=https://anamnikayathai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=105:watloka&catid=14&Itemid=119|title=วัดโลกานุเคราะห์|work=อนัมนิกายแห่งประเทศไทย}}</ref>และ[[อิสลาม]]<ref name=มัส>{{cite web|url= http://lek-prapai.org/home/view.php?id=5271|title=มัสยิด หลวงโกชา อิศหาก และตระกูลสมันตรัฐ ในท่ามกลางย่านการค้าท่านํ้าราชวงศ์|accessdate=2018-01-28|date=2017-04-25|work=มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์}}</ref> เช่น ศาลเจ้า[[กวนอู]]ถึง 2 แห่ง ([[ศาลเจ้าโจวซือกง]]และย่านตลาดเก่า), ศาล[[เจ้าแม่กวนอิม]], [[ศาลเจ้าเล่งบ๊วยเอี๊ยะ]], [[วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร]] (วัดสามจีน), [[วัดชัยชนะสงคราม]] (วัดตึก), [[วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร]] (วัดเกาะ), [[วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร]] (วัดสำเพ็ง), [[วัดคณิกาผล]], (วัดใหม่ยายแฟง), [[วัดกันมาตุยาราม]], [[วัดโลกานุเคราะห์]] (ตื้อเต้ตื่อ), [[วัดมังกรกมลาวาส]] (เล่งเน่ยยี่), วัดชัยภูมิการาม (ตี๊หง่านตื่อ), [[วัดบำเพ็ญจีนพรต]] (ย่งฮกยี่), [[มัสยิดหลวงโกชาอิศหาก]]<ref name=มัส/> เป็นต้น<ref>{{cite web|title=ยิ่งไหว้ยิ่งรวย! เที่ยวเยาวราชไหว้ 5 วัดเด็ด เอาเคล็ดเสริมมงคลตรุษจีน |url= https://www.thairath.co.th/content/482050|date=2015-02-10|accessdate=2018-01-20|work=ไทยรัฐ}}</ref> <ref>{{cite web|work=[[ผู้จัดการรายวัน]]|date=2009-01-25|author=หนุ่มลูกทุ่ง|accessdate=2018-01-20|url=https://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9490000010761|title=ตระเวนเยาวราช ไหว้ 8 ศาลเจ้าเอาฤกษ์ตรุษจีน}}</ref>
 
== ธุรกิจการค้า ==
เยาวราชเป็นแหล่งรวมธุรกิจการค้าต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น เทปและซีดีสวดมนต์รวมไปถึงเพลงของจีน, ของเล่นเด็ก, ชุด[[กี่เพ้า]], โคมไฟและผ้าแดงมงคล, [[เครื่องประดับ]], ปฏิทิน, อาหารแห้ง, ห้างทอง รวมไปถึงโรงแรมที่พักต่าง ๆ และยังเคยเป็นที่ตั้งของ[[โรงภาพยนตร์]]และโรง[[อุปรากรจีน|งิ้ว]]ต่าง ๆ เป็นจำนวนมากในอดีตอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/03/K9035222/K9035222.html|title= รายชื่อโรงภาพยนต์ในย่านเยาวราชจนถึงวังบูรพา{แตกประเด็นจาก K9026952}|author=suchu|date=2010-03-25|accessdate=2018-01-20|work=[[พันทิปดอตคอม]]}}</ref> ซึ่งผลจากธุรกิจที่หลากหลายอันนี้ ทำให้ราคาซื้อขายที่ดินที่เยาวราชยังติดอันดับที่ดินราคาแพงที่สุดลำดับต้น ๆ ในประเทศไทยอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.thansettakij.com/content/54776|title=เปิดพื้นที่ราคาที่ดินแพงสุด/ถูกสุด|date=2016-05-24|accessdate=2018-01-20|work=[[ฐานเศรษฐกิจ]]}}</ref>
 
ในส่วนของห้างทอง หรือร้านขายทองนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก จนทำให้เยาวราชได้ชื่อว่าเป็น "ถนนสายทองคำ" หลายร้านมีอายุความเก่าแก่มาตั้งแต่ก่อน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เฉพาะในปี พ.ศ. 2545 มีการรวบรวมจำนวนร้านขายทองทั้งหมดเฉพาะแค่ฝั่งถนนเยาวราชมีถึง 40 ร้าน และอาณาบริเวณรอบข้างอีก 132 ร้าน จนจัดได้ว่าเยาวราชเป็นถนนหรือแหล่งรวมร้านขายทองไว้มากที่สุดของประเทศไทย <ref name=เจริญ/>
 
ซึ่งผลจากธุรกิจที่หลากหลายอันนี้ ทำให้ราคาซื้อขายที่ดินที่เยาวราชยังติดอันดับที่ดินราคาแพงที่สุดลำดับต้น ๆ ในประเทศไทยอีกด้วย<ref>{{cite web|url=http://www.thansettakij.com/content/54776|title=เปิดพื้นที่ราคาที่ดินแพงสุด/ถูกสุด|date=2016-05-24|accessdate=2018-01-20|work=[[ฐานเศรษฐกิจ]]}}</ref>
=== อาหาร ===
[[ภาพ:Chinatowns Talat Leng-Buai-la market (6491922789).jpg|thumb|ตลาดเล่งบ๊วยเอี๊ยะ หรือตรอกอิสรานุภาพ]]
เส้น 57 ⟶ 61:
*[https://www.facebook.com/chinatownyaowarach/ เฟซบุก]
*[http://www.tnews.co.th/contents/340987 ภาพชุดรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 เสด็จเยาวราช] จากทีนิวส์
*[http://www.now26.tv/view/89351 เล่าขานตำนานเยาวราช : ความสัมพันธ์ 2 แผ่นดิน]จาก[[นาว 26]]
*[https://thai.tourismthailand.org/%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A เยาวราช] เยาวราช จาก[[การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย]]
 
*[https://www.facebook.com/Charoen1948/videos/1508768385839766/ แฟนพันธุ์แท้ ตอน เยาวราช] จาก[[แฟนพันธุ์แท้ 2003]]
{{สร้างปี|2441}}
[[หมวดหมู่:ถนนในเขตสัมพันธวงศ์|ยเยาวราช]]