ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเจริญกรุง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)]] ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง [[พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง]]เป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก โดยมีนาย[[เฮนรี อาลาบาศเตอร์]] (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ [[พ.ศ. 2405]] โปรดเกล้าฯ ให้[[เจ้าพระยายมราช (ครุฑ)]] เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่[[วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร]]ถึง[[สะพานดำรงสถิต]] (สะพานเหล็ก) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็ก) ถึงกำแพงเมืองด้าน[[ถนนสนามไชย]] แต่[[พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่[[พระบรมมหาราชวัง]]อาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต
 
เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ''ถนนใหม่'' และชาวยุโรปเรียกว่า ''นิวโรด'' (New Road) ชาวจีนเรียกตาม[[สำเนียงแต้จิ๋ว]]ว่า ''ซิงพะโล่ว'' แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อ[[ถนนบำรุงเมือง]]และ[[ถนนเฟื่องนคร]] ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน
 
== อ้างอิง ==