ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคลักปิดลักเปิด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
การรักษาโรคลักปิดลักเปิดด้วยการให้อาหารสด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้[[สกุลส้ม|จำพวกส้ม]] เป็นคราว ๆ ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เจมส์ ลินด์ ศัลแพทย์ชาวสก็อตในกองทัพเรืออังกฤษ เป็นคนแรกที่พิสูจน์ว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยผลไม้พวกส้มในการทดลองที่เขาอธิบายในหนังสือของเขา ''A Treatise of the Scurvy'' (ศาสตร์นิพนธ์โรคลักปิดลักเปิด)<ref name="lind_james">{{cite book|author=Lind, James|title=A Treatise on the Scurvy|publisher=A. Millar|location=London|year=1753}}</ref> ที่เขียนเมื่อ ค.ศ. 1753 แต่สาเหตุของโรคลักปิดลักเปิดยังไม่ทราบกันกระทั่ง ค.ศ. 1932
 
โรคลักปิดลักเปิดไม่เกิดในสัตว์ส่วนใหญ่ เพราะสัตว์สามารถสังเคราะห์วิตามินซีได้เอง อย่างไรก็ดี ยกเว้นมนุษย์และ[[ไพรเมต]]ชั้นสูงอื่นๆ หนูตะเภา และค้างคาวเกือบทุกชนิด นกและปลาบางชนิด ที่ขาดเอนไซม์แอลกูโลโนแลกโตนอ็อกซิเดส (L-gulonolactone oxidase) ซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์วิตามินซีและ จึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีจากอาหาร วิตามินซีพบมากในเยื่อพืช และมีความเข้มข้นสูงในผลไม้จำพวกส้ม (ส้ม [[เลมอน]] [[มะนาว]] [[เกรปฟรุต]]) มะเขือเทศ มันฝรั่ง กะหล่ำปลี และพริกหยวก นอกจากนี้ยังพบวิตามินซีในเนื้อเยื่อสัตว์ เช่นจากการศึกษาอาหารของชนพื้นเมืองอินูอิ(เอสกิโม) ซึ่งแทบไม่มีการรับประทานผักผลไม้แต่ไม่มีปัญหาโรคลักปิดลักเปิด พบว่าชาวอินูอิได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ
จากอาหารพื้นเมืองเช่นหนังปลาวาฬ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์อื่นๆในเขตหนาวซึ่งมีวิตามินซีสูง โดยมีการรับประทานดิบๆไม่ผ่านความร้อน ทำให้วิตามินซีในเนื้อเยื่อสัตว์ไม่ถูกทำลาย
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}