ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรคพิษสุนัขบ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 50:
การแพร่เชื้อระหว่างมนุษย์ด้วยกันพบน้อยมาก มีผู้ป่วยน้อยคนมีบันทึกผ่าน[[การปลูกถ่ายอวัยวะ]] หลังการติดเชื้อมนุษย์ตรงแบบโดยการกัด ไวรัสเข้าระบบ[[ประสาทนอกส่วนกลาง]] แล้วเดินทางตาม[[เส้นใยประสาทนำเข้า|ประสาทนำเข้า]]สู่[[ระบบประสาทส่วนกลาง]] ระหว่างระยะนี้ ไวรัสไม่สามารถถูกพบได้โดยง่ายในตัวถูกเบียน และวัคซีนอาจยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันอาศัยเซลล์เป็นสื่อ (cell-mediated immunity) เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่แสดงอาการ เมื่อไวรัสเข้าสมอง มันทำให้เกิด[[สมองอักเสบ]]อย่างเร็ว ระยะบอกเหตุโรค และเป็นจุดเริ่มต้นของอาการ เมื่อผู้ป่วยแสดงอาการแล้ว การรักษาแทบไร้ผลโดยสิ้นเชิงและอัตราตายมีกว่า 99% โรคพิษสุนัขบ้าอาจยังทำให้[[ไขสันหลัง]]อักเสบ ทำให้เกิด[[transverse myelitis|ไขสันหลังอักเสบตามขวาง]] (transverse myelitis)
 
==การวินิจฉัย==
การวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าอาจทำได้ยาก เนื่องจากผู้ป่วยระยะแรกจะอาการคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ หรือเหมือนการมีบุคลิกก้าวร้าวโดยทั่วไป วิธีที่ให้ผลแม่นยำสามารถอ้างอิงได้ในการวินิจฉัยโรคนี้ต้องทำโดยการตรวจหาแอนติบอดีด้วยสารเรืองแสง (FAT) ซึ่งเป็นวิธีที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก วิธีนี้อาศัยโมเลกุลตรวจจับที่เรืองแสงได้ (นิยมใช้เป็นฟลูออเรสซีนไอโซไทโอไซยาเนต) ที่จับกับแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อพิษสุนัขบ้า ทำให้สามารถจับกับแอนติเจนของเชื้อ และสามารถตรวจพบได้ด้วยวิธีการทำให้เรืองแสงและตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (fluorescent microscopy technique) วิธีตรวจหาแอนติเจนของเชื้อด้วยการย้อมสิ่งส่งตรวจโดยตรงด้วยสารเรืองแสงนี้เป็นวิธีเดียวที่สามารถตรวจหาเชื้อได้โดยตรง ที่รวดเร็วและประหยัดที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอาการหรือแหล่งที่มาของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ป่วย อย่างไรก็ดีสิ่งส่งตรวจที่เน่าเสียอาจทำให้ผลการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่แม่นยำได้ การตรวจด้วยวิธี RTPCR เป็นวิธีตรวจวินิจฉัยอีกวิธีหนึ่งที่มีความไวและความจำเพาะสูง และสะดวกมากพอที่จะสามารถใช้เป็นวิธีพื้นฐานได้ในห้องปฏิบัติการที่มีศักยภาพเพียงพอ โดยเฉพาะในการตรวจสิ่งส่งตรวจที่เน่าเสียแล้วหรือเก็บไว้นาน นอกจากนี้ยังสามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำจากการตรวจชิ้นเนื้อของสมองจากร่างที่เสียชีวิตแล้ว หรืออาจใช้น้ำลาย ปัสสาวะ หรือน้ำหล่อสมองไขสันหลังของร่างที่เสียชีวิตแล้ว ก็ได้เช่นกัน แต่ผลจะไม่แม่นยำเท่าใช้ชิ้นเนื้อสมอง การตรวจพบอินคลูชันบอดีที่เรียกว่าเนกริบอดีในเซลล์สมองถือเป็นการวินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าได้ 100% แต่พบในผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยเพียง 80% เท่านั้น
== การป้องกัน ==
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดคือ ระวังอย่าให้ถูกสุนัขกัดหรือแมวกัด เพราะการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะมาจากน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรคอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุด คือ การเสริมภูมิคุ้มกันในสุนัข ซึ่งเป็นสัตว์นำโรคหลัก รวมทั้ง การควบคุมจำนวนสุนัข