ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สิทธิในความเป็นส่วนตัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
→‎กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล: ช่วยแก้ไขข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลส่ว...
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ลบข้อความสอบถาม
บรรทัด 17:
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1945
 
          มาตรา 12 บุคคลใดๆ จะถูกแทรกแซงโดยพลการ ใน'''ชีวิตส่วนตัว''' ครอบครัว ในเคหสถานหรือในการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่ในเกียรติยศและชื่อเสียงมิได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายต่อการแทรกแซงหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น ช่วยตรวจข้อมูลส่วนตัวและแก้ปัญหามิให้ทุกคนรู้เรื่องส่วนตัวของผมด้วยครับเพราะคนเราไม่มามารถที่จะก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของผมได้
 
== การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ==
'''การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล''' หมายถึง การที่บุคคลใช้เสรีภาพของตนมากเกินไปหรือใช้สิทธิของตนเกินขอบเขต จนไปละเมิดสิทธิของผู้อื่น คือทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ได้รับผลกระทบจากการกระทำนั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจตนา จงใจ หรือประมาทเลินเล่อก็ตาม
 
'''การละเมิด''' คือ การประทุษร้ายที่ผิดกฎหมายต่อสิ่งใดๆ ของบุคคลที่กฎหมายคุ้มครองการละเมิด
บรรทัด 26:
ตามกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 420 ความว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างได้ก็ดี ท่านว่าผู้นั้นละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”
 
'''สิทธิในความเป็นส่วนตัว (Right of privacy)''' หมายถึง สิทธิของบุคคลตามหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายที่จะอยู่ตามลำพังโดยปราศจากการรบกวนหรือสอดแทรกจากผู้อื่นที่ทำให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญใจ เสียหาย อับอาย หรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ
 
'''ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy)''' ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไปหมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าน่าสังเกตดังนี้
 
1. การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร
 
2. การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม
 
3. การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด
 
4. การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น
 
5. บุกรุกสถานที่ส่วนบุคคลโดยมิได้รับอนุญาต
 
ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จีงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล
 
== แนวทางการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาการลดระดับปัญหา ==
การใช้หลักศีลธรรมทางศาสนา หรือ ศีล5และกฏหลักเหตุผล เข้าควบคุม,ดูแล,รักษาความสงบภายในบ้านเมืองด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เปรียบเสมือนเชือกที่ล้อมรอบ1บุคคลแต่ละบุคคล(วงกลม,สี่เหลี่ยม) ภายในองค์กร,กรมกระทรวง,ทบวง,กรม มิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นการละเมิด[[สิทธิ]]และ[[เสรีภาพ]]หรือ[[สิทธิมนุษยชน]]ที่ควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมซึ่งกันและกัน
 
== อ้างอิง ==
 
{{รายการอ้างอิง}}