ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประปานครหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
| ตรา_กว้าง = 150px
| ตรา_บรรยาย =
| วันก่อตั้ง = [[14 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2457]] ({{อายุ|2457|11|14}} ปี) (การประปากรุงเทพ)<br/>[[16 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2510]] ({{อายุ|2510|8|16}} ปี) (การประปานครหลวง)
| สืบทอดจาก_1 = การประปากรุงเทพ<br/>การประปาธนบุรี<br/>การประปานนทบุรี<br/>การประปาสมุทรปราการ
| สืบทอดจาก_2 =
บรรทัด 23:
| หัวหน้า2_ชื่อ = ปริญญา ยมะสมิต
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = ผู้ว่าการ
| หัวหน้า3_ชื่อ = สมศักดิ์ ภู่ธงชัยฤทธิ์
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ
| หัวหน้า4_ชื่อ = ชลิต แก้วไสย
| หัวหน้า4_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ
| หัวหน้า5_ชื่อ = กวี อารีกุล
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ
| หัวหน้า6_ชื่อ = สมบูรณ์ สุนันทพงศ์ศักดิ์
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ
| หัวหน้า7_ชื่อ = สุรีย์ ส.ศรีสุวรรณ
| หัวหน้า7_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ
| หัวหน้า8_ชื่อ = ผุสดี ขอมทอง
| หัวหน้า8_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ
| หัวหน้า9_ชื่อ = คงเกียรติ เจริญบุญวรรณ
| หัวหน้า9_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการ
| ประเภทหน่วยงาน = รัฐวิสาหกิจ
| ต้นสังกัด = [[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]]
เส้น 50 ⟶ 36:
 
== ประวัติ ==
ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] นอกจากจะเป็นยุคแห่งการพัฒนาความเจริญแล้ว ยังเริ่มต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรอีกด้วย เนื่องจากในสมัยนั้นราษฎรได้อาศัยน้ำฝนหรือน้ำในแม่น้ำลำคลอง ใช้ในการอุปโภคและบริโภคในบางฤดูน้ำจะกร่อยและสกปรก บางครั้งมีอหิวาตกโรคระบาดประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงทานขึ้นที่ข้าง[[พระบรมมหาราชวัง]]เพื่อแจกอาหารและน้ำที่สะอาดให้ประชาชนได้ดื่มกิน และหลังจากที่ได้ตั้งกรมสุขาภิบาลขึ้นแล้ว เมื่อ [[พ.ศ. 2448]] จึงมีพระราชดำริให้กรมสุขาภิบาลดำเนินการสำรวจหาวิธีการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับประชาชนในพระนคร ซึ่งนายเดอ ลาโรเตียร์ ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสที่เข้ามารับราชการเป็น ช่างสุขาภิบาลในสมัยนั้น ได้เสนอให้เอาน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่น้ำเค็มเข้าไม่ถึงมาใช้ ซึ่งสะดวกและไม่ต้องลงทุนมาก ในที่สุดจึงร่วมมือกับกรมคลองพิจารณาขุดคลองรับน้ำจากเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี นำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศ กิจการที่นำน้ำมาใช้ในพระนครนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เรียกตามภาษาสันสกฤตว่า '''การประปา'''
 
ในที่สุดเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังเช่นการจัดซื้อที่ดิน การขุดคลอง อ่างเก็บน้ำ ก่อสร้างประตูน้ำ ท่อไซฟอนลอดคลอง สะพาน ติดตั้งเครื่องสูบเพื่อให้สามารถส่งน้ำจืด มายังโรงกรองน้ำสามเสนได้ ซึ่งได้ก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งระบบผลิตน้ำ ได้แก่ การติดตั้งเครื่องกวนสารส้มเพื่อให้น้ำตกตะกอน ถังเกอะกรองน้ำที่ ตำบลสามเสน ในการก่อสร้างระบบน้ำได้ฝังท่อเหล็ก เพื่อส่งน้ำไปตามท้องที่ที่จะจ่ายน้ำไปทั่วพระนครตั้งที่ปิด – เปิดน้ำตามถนนต่างๆ รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประปาทั้งหมดรวมทั้งค่าที่ดินทั้งสิ้น 4,308,221.81 บาท โดยใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ปีเศษ จึงสามารถจ่ายน้ำสะอาดให้กับชาวพระนครได้ใช้ นับว่าเป็นโครงการใหญ่ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน ตราบเท่าทุกวันนี้
เส้น 61 ⟶ 47:
 
== การดำเนินงาน ==
การประปานครหลวงมีพื้นที่รับผิดชอบ 3,192 ตารางกิโลเมตร ใช้น้ำดิบจากสองแหล่งในการผลิตน้ำประปา คือ [[แม่น้ำเจ้าพระยา]] และ[[แม่น้ำแม่กลอง]] มีโรงงานผลิตน้ำหลัก 4 แห่ง คือ โรงงานผลิตน้ำบางเขน มหาสวัสดิ์ สามเสน และธนบุรี รวมกำลังการผลิต 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำประปาที่ผลิตได้มีคุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก จำนวนผู้ใช้น้ำกว่า 2.1 ล้านราย คิดเป็นประชากรประมาณ 10 ล้านคน หรือเป็นร้อยละ 99% ของประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ
 
== ตราสัญลักษณ์ ==
 
ตราสัญลักษณ์ประจำองค์กร ประกอบด้วย ตรา[[พระแม่ธรณี]] ชื่อการประปานครหลวง และเส้นน้ำ และมีสีหลักขององค์กร 3 สี คือ[[สีน้ำเงิน]], สีเขียวน้ำทะเล และ[[สีน้ำเงิน|สีฟ้าใส]]