ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tktoo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
== ประวัติ ==
 
ในปี [[พ.ศ. 2482]] รัฐบาลได้อนุมัติจัดตั้งโรงเรียนเสนารักษ์กองทัพบกขึ้น โดยเป็นหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร ระยะเวลาศึกษา 4 ปี 6 เดือน ดำเนินการผลิตแพทย์เพื่อรับใช้กองทัพจนถึงปี [[พ.ศ. 2490]] รวมทั้งสิ้น 4 รุ่น แล้วหยุดไปเนื่องจากขาดแคลนบุคลากรอาจารย์แพทย์และอุปกรณ์การเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม[[กระทรวงกลาโหม]]มีความตระหนักถึงภารกิจที่สำคัญของ[[แพทย์ทหาร]] จึงได้หาแนวทางปฏิบัติต่างๆ อาทิ การรับแพทย์ภายในประเทศเข้ารับราชการ ตลอดจนให้ทุนการศึกษาแก่[[นักเรียนเตรียมทหาร]]เข้าศึกษาวิชาแพทย์ใน[[มหาวิทยาลัยมหิดล|มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ]] ในระหว่างปีการศึกษา 2511 ถึงปีการศึกษา 2516 แล้วก็ต้องยุติไป เนื่องจากกระแสต่อต้านที่รุนแรงจากหลายฝ่าย ที่เกรงว่าจะทำให้ผลิตแพทย์ที่ไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่
[[ไฟล์:Phramongkutklao College of Medicine.jpg|thumb|200px|พระราชวังพญาไท]]
 
วันที่ [[20 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2511]] โดย[[กรมแพทย์ทหารบก]]ได้เสนอเรื่องขอจัดตั้ง "โรงเรียนแพทย์ทหาร" เนื่องจากเกิดความขาดแคลนแพทย์ทหารอย่างมากในกองทัพ ทำให้มีการรื้อฟื้นแนวคิดในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารขึ้นมาอีกครั้ง และได้รับอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ [[6 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2513]] แต่ต้องชะลอโครงการไว้ก่อน
 
โครงการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ทหารได้เริ่มขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ภายหลังจาก[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ]] ได้พระราชทานกระแสพระบรมราโชวาท ในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงดนตรี ณ หอประชุมราชแพทยาลัย [[คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล]] เมื่อวันที่ [[29 กันยายน]] [[พ.ศ. 2516]] มีใจความสำคัญว่า