ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอาจารย์ดี ฉนฺโน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 38:
ปี [[พ.ศ. 2465]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ออกธุดงค์เที่ยวหาเรียนวิชาอาคม หาของขลังและหาความรู้เพิ่มเติม ท่านได้เดินทางขึ้นไปทางสกลนคร นครพนม จึงได้พบกับ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] ที่บ้านสามผง [[อำเภอศรีสงคราม]] [[จังหวัดนครพนม]] เมื่อได้ฟังธรรมจาก[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] แล้ว จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเชื่อว่าหลวงปู่มั่นเป็นผู้มีญาณวิเศษสำเร็จแล้ว เพราะทักท้วงได้อย่างถูกต้องเหมือนตาเห็นเป็นอัศจรรย์ จึงได้กราบขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ให้ช่วยชี้แนะแนวทางประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย และได้จำพรรษาในเขต[[จังหวัดนครพนม]]และ[[จังหวัดสกลนคร ]]
 
ปี [[พ.ศ. 2469]] มีเหตุการณ์สำคัญของ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ที่ทำให้กองทัพธรรมสายของ [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] และ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่เสนาสนะ บ้านสามผง [[อำเภอศรีสงคราม]] [[จังหวัดนครพนม]] มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับความศรัทธาอย่างสูง เหตุการณ์ที่ว่านี้เป็นเพราะพระเถระที่ชาวบ้านศรัทธามาก 3 รูปได้ขอญัตติเป็นพระฝ่าย[[ธรรมยุต]] ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] ได้แก่ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ]] [['''พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก]]''' และ[['''พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร]]'''
 
ปี [[พ.ศ. 2470]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ทำการ ''ทัฬหิกรรม'' ญัตติเป็นพระภิกษุสังกัดคณะสงฆ์[[ธรรมยุติกนิกาย]] ณ พระอุโบสถวัดสร่างโศก อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ [[วัดศรีธรรมาราม]] (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง [[จังหวัดยโสธร]] โดยมี ''พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (ทองพูน โสภโณ)'' เป็นพระอุปัชฌาย์ ในการนี้ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] และพระอาจารย์ที่ติดตามอีกหลายรูปร่วมนั่งหัตถบาตร
บรรทัด 44:
ปี [[พ.ศ. 2471]] เมื่อได้ฝึกอบรมจิตภาวนาและข้อวัตรปฏิบัติกับ[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] แล้ว [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] จึงธุดงค์กลับไปปักกลดที่ ''ดอนคอกวัว'' เพื่อโปรดชาว ''บ้านกุดแห่'' ซึ่งเป็นบ้านของท่าน พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุรารัตน์ เจ้าของที่ดินแปลงนี้ได้ถวายที่ดินเพื่อให้สร้างวัด [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] จึงสั่งให้ญาติโยมรื้อศาลากุฏิจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขกทั้งหมดเอาไปปลูกสร้างวัดใหม่ที่บริเวณดอนคอกวัว และในปีนี้ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] จึงได้สร้างวัดใหม่ให้เป็นวัดป่าปฏิบัติกัมมัฏฐานสาย[[พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต]] และเห็นว่า ''พระอาจารย์อินทร์ สุนฺทโร (วงศ์เสนา)'' ซึ่งเป็นบิดาของท่านได้อุปสมบทมานานแล้ว จึงนำเรื่องเสนอพระเถระแต่งตั้ง [[พระอธิการอินทร์ สุนฺทโร]] เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และตั้งชื่อวัดให้คล้ายฉายาของเจ้าอาวาสรูปแรกซึ่งเป็นรูปปฐมฤกษ์ว่า [[วัดป่าสุนทราราม]] และพื้นที่วัดศรีบุญเรืองท่าแขกเดิมได้กลายเป็นธรณีสงฆ์ของวันป่าสุนทรารามในปัจจุบัน
 
ในระหว่างพรรษานี้ [[พระอาจารย์ญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)|หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม]] ศิษย์อาวุโสของ[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] ซึ่งอยู่จำพรรษาที่บ้านหนองขอน [[จังหวัดอุบลราชธานี]] ได้รับจดหมายนิมนต์จาก ''พระครูพิศาลอรัญเขต'' เจ้าอาวาสวัดศรีจันทร์และเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น ต่อมาก็คือ [['''''พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย)]]''''' ให้ไปช่วยเผยแผ่ธรรมปฎิบัติให้กับประชาชนชาว[[จังหวัดขอนแก่น]] หลังจากออกพรรษา [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] จึงได้เดินทางไปบ้านน่าหัวงัวเพื่อนมัสการ[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] และร่วมประชุมปรึกษาหารือในกิจนิมนต์ดังกล่าว ในการนี้มีพระภิกษุสามเณรลูกศิษย์ของ[[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] และ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] จากเมืองอุบลฯ เมืองสกลฯ เมืองนครพนม เมืองยโสธร เมืองหนองคาย และเมืองเลย ต่างก็เดินทางมาประชุมพร้อมกันในช่วง[[วันมาฆบูชา]] วันเพ็ญเดือน 3 ณ ''บ้านนาหัวงัว'' [[อำเภอกุดชุม]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]]ในขณะนั้น หรือในปัจจุบันคือ[[จังหวัดยโสธร]] เมื่อที่ประชุมคณะสงฆ์ตกลงเห็นพ้องต้องกันแล้ว จึงได้แยกย้ายกันเดินทางมุ่งสู่[[จังหวัดขอนแก่น]] คณะสงฆ์กองทัพธรรมนำโดย [[พระอาจารย์ญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม)|หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม]] [[พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล]] [[พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] [[พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ]] [[พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก]] [[พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร]] เป็นต้น เมื่อไปถึงแล้วได้พำนักที่ ''ป่าช้าโคกเหล่างา'' ด้านทิศตะวันออกของเมืองขอนแก่น คณะสงฆ์จึงได้ร่วมกันสร้าง ''สำนักสงฆ์ป่าช้าโคกเหล่างา'' หรือ ''วัดป่าเหล่างา'' ขึ้น ซึ่งปัจจุบันก็คือ [[วัดป่าวิเวกธรรม]] อำเภอเมือง [[จังหวัดขอนแก่น]] [[File:วัดภูเขาแก้ว7.jpg|thumb|พระอุโบสถวัดภูเขาแก้ว ในปัจจุบัน]]
 
ปี [[พ.ศ. 2472]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้สร้างสำนักสงฆ์และจำพรรษาที่ ''วัดป่าโคกโจด'' ตำบลพระลับ อำเภอเมือง [[จังหวัดขอนแก่น]] ได้เทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฐิ เลิกจากการถือภูตฝีปีศาจ ให้มาตั้งมั่นในพระไตรสรณคมน์ กำหราบหมอผีมนต์ดำเดรัชฉานวิชา รักษาชาวบ้านด้วยยาสมุนไพร ตลอดระยะเวลา 3 ปี
บรรทัด 64:
ปี [[พ.ศ. 2485]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ธุดงค์ติดตามอุปัฏฐากรับใช้[[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] ในวาระสุดท้าย และได้อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] มรณภาพ ในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ภายในพระอุโบสถวัดอำมาตยาราม อำเภอวรรณไวทยากร [[จังหวัดนครจัมปาศักดิ์]] [[ประเทศไทย]] ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ[[แขวงจำปาศักดิ์]] [[ประเทศลาว]]) เมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ [[วัดบูรพาราม]] อำเภอเมือง [[จังหวัดอุบลราชธานี]] และได้ทำการฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน พ.ศ. 2486
 
ปี [[พ.ศ. 2493]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ไปพำนักอยู่จำพรรษาและรับเป็นเจ้าอาวาส[[ '''วัดป่าแสนสำราญ]]''' [[อำเภอวารินชำราบ]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] เพื่อโปรดญาติโยมในท้องที่อำเภอวารินชำราบ และในช่วงออกพรรษาของแต่ละปี ท่านก็ได้ออกธุดงค์ปลีกวิเวกไปตามท้องที่ต่างๆเพื่อโปรดศรัทธาญาติโยม
 
ปี [[พ.ศ. 2498]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ในปัจฉิมวัยได้เดินทางกลับไปพำนักอยู่จำพรรษาอยู่ ''บ้านกุดแห่'' ซึ่งเป็นบ้านของท่าน และรับเป็นเจ้าอาวาส[[วัดป่าสุนทราราม]] บ้านกุดแห่ ตำบลกุดเชียงหมี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี ในขณะนั้น ซึ่งปัจจุบันก็คือ [[วัดป่าสุนทราราม]] บ้านกุดแห่ ตำบลกุดแห่ [[อำเภอเลิงนกทา]] [[จังหวัดยโสธร]]