ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คริสท็อฟ วิลลีบัลท์ กลุค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ Christoph_Willibald_Gluck_painted_by_Joseph_Duplessis.jpg ด้วย Joseph_Siffred_Duplessis_-_Christoph_Willibald_Gluck_-_Google_Art_Project.jpg จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
ป้ายระบุ: เพิ่มข้อความไม่เป็นวิกิขนาดใหญ่
บรรทัด 13:
[[หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐบาวาเรีย]]
{{โครงชีวประวัติ}}
คริสโตฟ วิลลีบาล์ด กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck)
 
คริสโตฟ วิลลีบาล์ด กลุ๊ค (Christoph Willibald Gluck 1714-1798) เป็นบุตรของ อเล็กซานเดอร์ โยฮันเนส กลัค และ มาเรีย วัลบูร์กา กลัค เขาเกิดเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 1714 ที่เมืองอีราสบาค (Erasbach) ใกล้กับเมืองไวเดนแวง (Weidenwang) แต่งงานกับมาเรีย แอนนา เบอร์กิน พ.ศ. 2293–พ.ศ. 2330 และเขาถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนา วันที่ 15 พฤศจิกายน 1787
คริสโตฟ วิลลีบาล์ด กลุ๊ค เกิดในบาวาเรีย เขาต้องจากบ้านตั้งแต่อายุ 14 ปี และอยู่ที่กรุงปร๊าคหลายปี เขาเดินทางและเรียนดนตรีในเวียนนาและอิตาลี เขาเริ่มคุ้นเคยกับสไตล์ของ Baroque opera และประพันธ์ หลายโอเปร่าในสไตล์ที่มีอยู่ทั่วไป ระหว่างปี1745 – 1760
เขาเดินทางทั่วยุโรปเพื่อสำรวจโอเปร่าในขณะนั้น ด้วยความเป็นนักทฤษฎีพอ ๆ กับความเป็นนักประพันธ์ ในปี 1761 เขาเห็นว่าสิ่งสำคัญในบัลเล่ต์ (Ballet) และโอเปร่า (Opera) ควรเป็นเรื่องราวและอารมณ์ของผู้แสดง ไม่ใช่กลอุบายในการกระตุ้นความสนใจด้วยเล่ห์ ความโดดเด่นที่ผิด ๆ และเค้าโครงเรื่องประกอบมากมายซึ่งเป็นในแง่การค้าของสมัยบาโรก เขาตั้งใจแต่งโอเปร่าในปลายศตวรรษที่ 18 โดยยกเลิก Vocal virtuosity และทำให้เกิดดนตรีที่สนองความต้องการของการละคร (Drama) งานชิ้นแรกของเขาได้แก่โอเปร่า ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ Premiered in Vienna ในปี 1762 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ ศิลปะแบบคลาสสิกของกรีก โดย Orpheus (เทพเจ้าออฟีอูส เป็นนักดนตรียิ่งใหญ่ที่สุดในเทพนิยายโบราณ กล่าวถึงการสูญเสียภรรยาสุดที่รักของเขาแก่โลกใต้พิภพ) สาธารณะชนในเวียนนายังไม่ได้ยอมรับผลงานของเขาในขณะนั้นจนกระทั่งปี 1770 เขาย้ายไปปารีสตามคำขอร้องของเจ้าหญิงมารี อังตัวเนตต์ (Marie Antoinette) ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จกับโอเปร่าของเขา Orfeo and Eurydice, Alceste ในปี 1774 และ Iphigenie en Tauride ในปี 1779 ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นงานที่แข่งขันกันระหว่างกลุดกับพิชชินนี (Piccini 1728 – 1800) ได้นำออกแสดงผลัดกันคนละหนเพื่อพิสูจน์ความดีเด่นกัน ในที่สุดกลุดก็ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พิชชินนีก็ยอมรับว่างานของกลุดชิ้นนี้ดีเยี่ยมจริง ๆ ทำให้สังคมส่วนรวมเกี่ยวกับโอเปร่าและนักวิจารณ์ยอมรับเขามากขึ้นซึ่งงานของเขาเป็นที่นิยมมากในปารีสขณะนั้น ด้วยการแต่งโอเปร่าครั้งสุดท้ายของเขาในปี 1779 เขาไปที่เวียนนาที่ซึ่งเขาถูกเชิญให้เป็นนักประพันธ์ของราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 เขาตายในปี 1787 ถึงแม้ว่าแนวดนตรีของเขาจะจบลงเมื่อเขาตาย แต่ Operatic reform ของเขาได้เป็นแบบอย่างแก่นักประพันธ์รุ่นหลังต่อมาและมีอิทธิพลต่องานแสดงดนตรีบนเวทีของ Mozart, Berliozและ Wagner
 
ผลงานของคริสโตฟ วิลลีบาล์ด กลุ๊ค
วันที่ 7 มีนาคม ค.ศ.1746 กลุ๊คได้นำอุปกรเรื่อง La Caduta dei Giganti ออกแสดงและวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1746 นำอุปรากรเรื่อง Artamene ออกแสดง แต่อุปรากรทั้ง 2 เรื่องนี้นับว่าไม่ได้ผลดีเท่าไรถ้าหากเทียบกับอุปรากรเรื่อง Pasticcio (Piramo e Tisbe) ที่ได้นำออกมาแสดงในปีต่อมา และในปีต่อมาคลุ๊คได้นำอุปรากรเรื่อง Nozzeed’ Ereol e ed’ Ebe ออกแสดงในงานมหกรรมที่ Schloss pillnitz ในเดือน มิถุนายน ค.ศ. 1748 ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1749 คลุ๊คได้นำอุปรากรเรื่อง Contesa dei Numi ออกแสดงที่ Charlottenberg โดยคลุ๊คเป็นผู้กำกับวงเอง ซึ่งอุปรากรเรื่องนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวันประสตูของเจ้าชายคริสเตียน และในปี ค.ศ. 1750 คลุ๊คได้นำอุปรากรเรื่อง Ezio ออกแสดงที่กรุงปร๊าคเนื่องในเทศการประจำปี ในปี ค.ศ. 1752 คลุ๊คได้นำอุปรากรเรื่อง Issiple ออกแสดงที่กรุงปร๊าคในเดือน มกราคม แต่ไม่ค่อยได้การต้อนรับจากประชาชนเท่าใดนัก แต่เขาก็ได้รับผลสำเร็จดีที่เมืองเนเปิลส์ และเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1752 เขานำอุปรากรเรื่องใหม่ชื่อ La Clemenza di Tito ออกแสดง คลุ๊คได้แต่งเพลงอุปรากรเรื่อง Le Cinesi จากเรื่องของ Metastasio และได้นำออกแสดงในฤดูใบไม้ร่วงปี 1754 ที่ Schlosshot ในปี ค.ศ. 1755 เขาได้แต่งอปรากรเรื่อง La Danza และ L’Innocenza Giustficate ได้นำออกแสดงที่กรุงเวียนนา และต่อมาในปี ค.ศ. 1756 กลุ๊คได้แต่อุปรากรเรื่อง Il Re Pastore นำออกแสดงเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ในปี ค.ศ. 1758 คลุ๊คได้แต่อุปรากรเรื่อง L’Ill de Merlin และ La Fausse Esclave ให้แก่ราชสำนักเมืองเวนิศ และในปี ค.ศ. 1759 ได้เขียนอุปรากรเรื่อง L’Arbre Enchante’ซึ่งเป็นอุปรากรชวนหัวแบบฝรั่ง และในปีเดียวกันคลุ๊คก็ได้เปิดการแสดงอุปรากรชวนหัวเรื่อง Cythere Assiegee ที่ Schwetzingen ต่อมาในปี ค.ศ. 1760 กลุ๊คได้เปิดการแสดงเรื่อง Tetide ที่กรุงเวียนนาและได้แต่งอุปรากรเรื่อง L’Ivrogne Corrige ค.ศ. 1761 กลุ๊คได้นำเพลงบัลเล่ท์เรื่อง Don Juan ออกแสดงที่กรุงเวียนนา และได้อุปรากรประเภทชวนหัวเรื่อง Le Cadi Dupe ปีต่อมา ค.ศ. 1762 กลุ๊คก็ได้แต่งเพลงประกอบอุปรากรเรื่อง Orfeo Ed Furidice ซึ่งเป็นอุปรากร 3 องค์จบ นำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1762 อุปรากรเรื่องนี้คลุ๊คได้ผสมผสานดนตรีลงไปตามความมุ่งหมายของเรื่อง ค.ศ. 1763 คลุ๊คได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Il Trionfo di clia ที่เมืองเวนิส ค.ศ. 1764 ได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง La Rencontre Imprevun ต่อมาในปี ค.ศ.1765 คลุ๊คได้แต่งอุปรากรเรื่อง Il Parnaso Confuso ได้นำออกแสดงที่กรุงเวียนนาพร้อมกับเรื่อง Telemaco และเพลงสำหรับระบำบัลเล่ท์ชื่อ Semiramide และในปี ค.ศ. 1767 ได้แต่งอุปรากรเรื่อง Il Prologo และได้นำออกแสดงที่เมืองฟลอเรนซ์ และได้แต่งอุปรากรขึ้นอีกเรื่องหนึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกับอุปรากรเรื่อง Orfeo ชื่อ Alceste ซึ่งมี Raniero da Calzadigi เป็นผู้เขียนอุปรากร ได้เปิดการแสดงในรอบปฐมทัศน์ (Premiere) ที่โรงละครเบอร์กเธียเตอร์ (Burgtheatre) กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1767 ในปี ค.ศ. 1769 เขาได้นำอุปรากรเรื่อง Le Feste d’ Apollo ออกแสดงที่ Parma ต่อมาในปี ค.ศ. 1770 กลุ๊คได้ความคิดจากอุปรากรเรื่อง Alceste โดยได้แก้ไขข้อบอพร่องที่ทีอยู่ในเรื่องนี้ แล้วได้นำมาแต่งอุปรากรเรื่อง Paride ed Elena (Paris and Helen) ซึง่นับเป็นเรื่องที่สามที่ได้เคยร่วมมือกับ Calzabigi อุปรากรเรื่องนี้เป็นเรื่องโรแมนติกที่คลุ๊กแต่งเพลงประกอบได้อย่างงดงาม ได้นำออกแสดงที่กรุงเวียนนาในปีเดียวกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จดังความคาดหวังเพราะมีคนเข้าชมน้อยมาก ในปี ค.ศ. 1774 คลุ๊คได้เปิดการแสดงอุปราการเรื่อง Iphigenie en Aulide ซึ่งเป็นอุปรากร 3 องค์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่ The Acedemie de Musique, paris เมื่อวันที่ 19 เมษายน การแสดงครั้งนี้ทำความพอใจให้แก่ผู้ชมมากและปรัสบผลสำเร็จพอสำควร และต่อมาคลุ๊คได้เปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Orphee ขึ้นในเดือน สิงหาคม ค.ศ. 1774 ในปีเดียวกัน และก็ได้รับความนิยมจากผู้ชมเช่นกัน