ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แรงเทียม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
 
{{Quote|แรงที่ต้องเพิ่มขึ้นมา ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ที่เมื่อมองแบบสัมพัทธ์แล้วไม่ไปตามกัน ระหว่างกรอบอ้างอิงสองกรอบนั้น เรียกได้ว่า เป็น''แรงเทียม''|H. Iro ในหนังสือ ''A Modern Approach to Classical Mechanics'' หน้า 180}}
 
เมื่อยึดตามกฎข้อที่สองของ[[กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน]] ในรูปของสมการ F = ma จะพบว่า แรงเทียมที่ปรากฎ จะมีขนาดที่เป็นสัดส่วนกับมวล m เสมอ
 
แรงเทียมที่ปรากฎเสมือนว่าได้กระทำกับวัตถุนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อกรอบอ้างอิงที่สนใจ (กรอบที่ผู้สังเกตใช้อธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุ) เคลื่อนที่อย่างมีความเร่ง เมื่อเทียบกับกรอบอ้างอิงที่ไม่มีความเร่ง ทั้งนี้เนื่องจากกรอบอ้างอิงเป็นสิ่งสมมติ จึงอาจมีการเคลื่อนที่ในลักษณะใดก็ได้โดยไม่เกี่ยวกับการมีแรงกระทำหรือไม่มีแรงกระทำ ดังนั้นแรงเทียมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของกรอบ จึงอาจมีลักษณะใดก็ได้เช่นกัน
 
มีแรงเทียมอยู่ 4 ชนิดที่พบบ่อย จากการใช้กรอบอ้างอิงแบบมีความเร่งที่พบบ่อย เช่น แรงเทียมที่ปรากฎเมื่อมองกรอบอ้างอิงที่เคลื่อนที่โดยมีความเร่งเป็นบวกในแนวเส้นตรง (เช่น แรงเทียมที่กระชากคนบนรถให้ถอยหลัง เมื่อเทียบกับตัวรถ เมื่อรถออกตัว), แรงเทียมจากกรอบอ้างอิงหมุน ([[แรงหนีศูนย์กลาง]] และ [[แรงโคริโอลิส]]) และ[[Euler force|แรงออยเลอร์]]ที่เกิดจากอัตราการหมุนที่มีการเปลี่ยนแปลง
 
เมื่อมองการเคลื่อนที่ของวัตถุด้วย[[ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป]] จะพบว่า[[แรงโน้มถ่วง]]ก็เป็นแรงเทียมเช่นกัน เนื่องจากเกิดจากการที่มวลทำให้[[กาลอวกาศ]]บิดเบี้ยว วัตถุที่เคลื่อนที่เป็นเส้นตรงจึงดูเหมือนเคลื่อนที่เข้าหาวัตถุที่มีมวลมาก
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}