ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจ๊ก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
| doi =
| accessdate = }}</ref>
ส่วนคำว่า ''โจ๊ก'' ในภาษาไทย เลียนเสียงมาจาก[[ภาษาจีนกวางตุ้ง]] ''จุ๊ก'' (粥 dzuk<sup>7</sup>) <ref>เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. ''พจนานุกรม จีน-ไทย (จีนกลาง กวางตุ้ง แต้จิ๋ว) ''. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น, 2541. หน้า 405. ISBN 978-974-246-307-6</ref> บ้างก็ว่ามาจากคำว่า ''ล่าปาเจี๋ย'' (腊八节) ซึ่งแปลว่า "[[เทศกาลลาป่า]]" อันเป็นประเพณีตั้งแต่โบราณ ตั้งแต่ยุค[[สามราชาห้าจักรพรรดิ]] (2852 ก่อนคริสตกาล ถึง 2070 ก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นการล่าสัตว์เพื่อบูชาบรรพบุรุษและเทพเจ้า ตามคติของ[[ศาสนาพุทธในประเทศจีน|พุทธศาสนาแบบมหายานของจีน]] เล่าว่า [[เจ้าชายสิทธัตถะ]]ขณะกำลังบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งสลบไป หญิงเลี้ยงวัวคนหนึ่งมาพบเข้าได้นำอาหารที่ติดตัวมาผสมกับ[[นมวัว]]รวมกับผลไม้ป่าหลายชนิดป้อนให้เจ้าชายสิทธัตถะให้รับประทานจนกระทั่งฟื้นคืนสติ และได้[[ตรัสรู้]]ในคืนนั้นสำเร็จเป็น[[พระพุทธเจ้า]] ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจีน ในยุค[[ราชวงศ์หมิง]] (ค.ศ. 1368 ถึง ค.ศ. 1644) เล่ากันว่า[[จูหยวนจาง]] ปฐมจักรพรรดิขณะยังมีสถานะเป็นสามัญชน เป็นผู้ที่มีความเป็นอยู่แร้นแค้นมาก วันหนึ่งได้ขุดรูหนูเพื่อจับหนูกิน แต่ได้ไปพบ[[ข้าวฟ่าง]]และ[[ธัญพืช]]หลายชนิด จึงนำมาต้มรวมกัน เรียกว่า ''ล่าปาโจว'' (腊八粥; แปลว่า ''ข้าวต้มล่าปา'') ในประเทศไทยบางพื้นที่ออกเสียงคำว่า "โจว" (节) เพี้ยนเป็น "โจ๊ก" จนกลายมาเป็นโจ๊กดังในปัจจุบัน <ref>หน้า 3, ''เทศกาลล่าปา'' โดย กิเลน ประลองเชิง. "ชักธงรบ". '''ไทยรัฐ'''ปีที่ 68 ฉบับที่ 21842: วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 แรม 6 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา</ref>
 
== อ้างอิง ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/โจ๊ก"