ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิวของนาซี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''การคว่ำบาตรธุรกิจชาวยิว''' ใน[[นาซีเยอรมนี]] เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี ค.ศ. 1933 ฝ่ายพรรคนาซีอ้างว่าการคว่ำบาตรครั้งนี้เป็นมาตรการตอบโต้การคว่ำบาตรสินค้าเยอรมันของ[[ชาวยิว|พวกยิว]]<ref name="USHMM_HE_boycott">{{Cite web |url=http://www.ushmm.org/wlc/en/article.php?ModuleId=10005678 |title=Boycott of Jewish Businesses |work=Holocaust Encyclopedia |publisher=[[USHMM]]}}</ref><ref>The History Place (2 July 2016), [http://www.historyplace.com/worldwar2/triumph/tr-boycott.htm “Triumph of Hitler: Nazis Boycott Jewish Shops”]</ref> จากการที่พวกยิวได้เริ่มพากันคว่ำบาตรสินค้าเยอรมันในเดือนมีนาคม 1933<ref name="Lang2009">{{cite book|author=Berel Lang|title=Philosophical Witnessing: The Holocaust as Presence|url=https://books.google.com/books?id=-bQ_I1xx5doC&pg=PA131|year=2009|publisher=UPNE|isbn=978-1-58465-741-5|pages=131–}}</ref> การคว่ำบาตรธุรกิจของชาวยิวครั้งนี้ไม่ประสบความสำเร็จเลย ชาวเยอรมันไม่ค่อยสนใจกับคำรณรงค์ซักเท่าไหร่ ประชากรเยอรมันส่วนใหญ่ยังคงซื้อและใช้สินค้าจากธุรกิจของพวกยิวอย่างตามปกติ เป็นหนึ่งในชนวนเหตุที่ทำให้พรรคนาซีวางแผนถอนรากถอนโคนชาวยิวในเยอรมัน<ref>Pauley, Bruce F (Mar 1 1998), "From Prejudice to Persecution: A History of Austrian Anti-Semitism", University of North Carolina Press, pp 200-203</ref>
 
การคว่ำบาตรครั้งนี้ถือเป็นมาตรการแรกๆที่รัฐบาลนาซีได้ใช้ต่อชาวยิวในเยอรมัน ก่อนที่จะนำไปสู่การออกมาตรการขั้นรุนแรงที่เรียกว่า "[[การแก้ปัญหาชาวยิวครั้งสุดท้าย]]" ในปี 1941 การคว่ำบาตรในครั้งนี้ถือเป็นมาตรการของรัฐที่มีการใช้ความรุนแรง, การจับกุม, การชิงทรัพย์, การขู่เข็ญให้ชาวยิวขายธุรกิจของตัวเอง ซึ่งแค่เฉพาะในกรุงเบอร์ลินมีธุรกิจของชาวยิวอยู่กว่า 50,000 แห่ง<ref name="Kreutzmüller_2013">{{Cite book |url=http://www.berlin.de/2013/en/partners/publications/metropol-verlag-christoph-kreutzmueller/ |title=Final Sale – The Destruction of Jewish Owned Businesses in Nazi Berlin 1930–1945 |first=Christoph |last=Kreutzmüller |publisher=Metropol-Verlag |year=2012 |isbn=978-3-86331-080-6}}</ref> มีการรณรงค์ให้ชาวเยอรมันงดซื้อสินค้าจากธุรกิจของยิวโดยการปิดประกาศต่างๆ อาทิ ''"อย่าซื้อของจากยิว!"'', ''"พวกยิวคือเคราะห์ภัยของเรา!"'', ''"กลับไปปาเลสไตน์ไปซะ!"''
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==