ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แสงวาบรังสีแกมมา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยเว็บอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3:
'''แสงวาบรังสีแกมมา''' ({{lang-en|Gamma-ray burst}}: GRB) คือแสงสว่างของ[[รังสีแกมมา]]ที่เกี่ยวข้องกับการระเบิดอย่างรุนแรงของ[[ดาราจักร]]ที่อยู่ไกลมากๆ นับเป็นปรากฏการณ์ทาง[[คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า]]ที่สว่างที่สุดที่ปรากฏใน[[เอกภพ]]นับแต่เหตุการณ์[[บิกแบง]] ตามปกติเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ก็อาจมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันตั้งแต่ไม่กี่มิลลิวินาทีไปจนถึงหนึ่งชั่วโมง หลังจากการระเบิดครั้งแรก จะมีเหตุการณ์ "afterglow" อันยาวนานติดตามมาที่ช่วงความยาวคลื่นอื่นที่ยาวกว่า (เช่น [[รังสีเอ็กซ์]] [[อัลตราไวโอเลต]] [[แสงที่ตามองเห็น]] [[อินฟราเรด]] และ[[คลื่นวิทยุ]])
 
แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบส่วนใหญ่เชื่อคิดว่าเป็นลำแสงแคบๆ ประกอบด้วยรังสีที่หนาแน่นซึ่งปลดปล่อยออกมาระหว่างเกิดเหตุ[[ซูเปอร์โนวา]] เนื่องจากดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงมากและหมุนด้วยความเร็วสูงได้แตกสลายลงกลายเป็น[[หลุมดำ]] มีการแบ่งประเภทย่อยของแสงวาบรังสีแกมมาซึ่งเกิดจากกระบวนการอื่นที่แตกต่างกัน เช่นเกิดการรวมตัวกันของ[[ดาวนิวตรอน]]ที่เป็น[[ดาวคู่]]
 
แหล่งกำเนิดแสงวาบรังสีแกมมาส่วนใหญ่อยู่ห่างจากโลกไปไกลนับพันล้านปีแสง แสดงว่าการระเบิดนั้นจะต้องทำให้เกิดพลังงานสูงมาก (การระเบิดแบบปกติจะปลดปล่อยพลังงานจำนวนมากเพียงไม่กี่วินาทีเท่าพลังงานที่[[ดวงอาทิตย์]]ส่งออกไปตลอดช่วงอายุ 10,000 ล้านปี) และเกิดขึ้นน้อยมาก (เพียงไม่กี่ครั้งต่อดาราจักรต่อล้านปี)<ref>Podsiadlowski, Ph. ''et al''. (2004). [http://adsabs.harvard.edu/cgi-bin/nph-bib_query?bibcode=2004ApJ...607L..17P "The Rates of Hypernovae and Gamma-Ray Bursts: Implications for Their Progenitors"]. ''Astrophysical Journal'' 607L: 17P. doi:10.1086/421347. </ref> แสงวาบรังสีแกมมาที่สังเกตพบทั้งหมดมาจากดาราจักรแห่งอื่นพ้นจาก[[ทางช้างเผือก]] แม้จะมีการพบปรากฏการณ์คล้ายๆ กัน คือ soft gamma repeater flares เกิดจาก [[Magnetar]] ภายในทางช้างเผือกนี้ มีการตั้งสมมุติฐานว่า ถ้าเกิดแสงวาบรังสีแกมมาขึ้นในทางช้างเผือกแล้ว จะทำให้โลกดับสูญไปทั้งหมด<ref>Melott, A. L., et al. (2004). "Did a gamma-ray burst initiate the late Ordovician mass extinction?". ''International Journal of Astrobiology'' 3: 55–61. doi:10.1017/S1473550404001910.</ref>