ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โมบิดิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘กรุงนิวยอร์ก’ ด้วย ‘นครนิวยอร์ก’
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
'''โมบิดิก''' ({{lang-en|Moby-Dick}}) คือ[[นวนิยาย]]ของ [[เฮอร์มัน เมลวิลล์]] ในปี ค.ศ. 1851 เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการเดินทางผจญภัยของกะลาสีชื่อ [[อิชมาเอล (โมบิดิก)|อิชมาเอล]] ใน[[เรือล่าวาฬ]] Pequod และกัปตันเรือชื่อ อาฮับ ไม่นานอิชมาเอลก็ทราบว่า อาฮับกำลังออกติดตามหา[[วาฬ]]ตัวหนึ่งชื่อ โมบิดิก ซึ่งเป็นวาฬสีขาวขนาดมหึมาที่ดุร้ายมาก ไม่ค่อยมีเรือล่าวาฬลำใดรู้จักโมบิดิก ยิ่งที่เคยได้เจอตัวมันยิ่งน้อยนัก เมื่ออาฮับเจอมันคราวก่อน วาฬยักษ์ทำลายเรือของอาฮับและยังกัดขาเขาขาด อาฮับจึงคิดจะตามแก้แค้น
 
ในเรื่อง ''โมบิดิก'' เมลวิลล์ได้ใช้กลวิธีทางภาษา สัญลักษณ์ และการเปรียบเทียบต่างๆ ในการนำเสนอโครงเรื่องอันซับซ้อน ผ่านทางตัวละครหลัก โดยสื่อถึงเรื่องของชนชั้นและฐานะทางสังคม ความดี ความชั่ว และการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าซึ่งยังสื่อออกมาด้วยมุมมองต่อพระเจ้ากับศาสนาคริสต์ ผ่านความเชื่อส่วนตัวของอิชมาเอล และตำแหน่งกับ ''เควเคว็ก'' พลฉมวกคู่หูซึ่งเป็นชาวเกาะนอกศาสนา รวมถึงบุคลิกเกรี้ยวกราดเหนือธรรมชาติของเขาในจักรวาลกัปตันอาฮับ เขาเมลวิลล์สะท้อนเรื่องราวผ่านวิธีการเล่าของผู้เล่าเรื่อง การบรรยายสภาพชีวิตของกะลาสีบนเรือล่าวาฬ ค่อยๆ ถักทอเรื่องราวไปพร้อมกับการใช้เทคนิคภาษาแบบ[[เชกสเปียร์]] คือและ[[คิงเจมส์ไบเบิ้ล]] ซึ่งล้วนเป็นภาษาอังกฤษปลายสมัย[[ราชีนีอลิซาเบธที่ 1]] (Elisabethan English) และเป็นภาษามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่องานวรรณกรรมของทั้งอังกฤษ และอเมริกัน นอกจากนี้เมลวิลล์ยังใช้เทคนิคทางวรรณกรรมหลายรูปแบบ ไม่ว่าเป็น บทกวี บทเพลง การเล่าเรื่องผ่านมุมมองเหมือนละครเวที และใช้วิธีการรำพึงกับตัวเองของตัวละครเพื่อบอกเล่าความในใจนึกคิด
 
นักวิจารณ์เห็นว่างานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน[[ศิลปะจินตนิยม|ยุคจินตนิยม]]ใน[[สหรัฐอเมริกา]] ''โมบิดิก'' ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ริชาร์ด เบนท์ลีย์ ในกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 1851 โดยแบ่งพิมพ์ออกเป็น 3 เล่มชุด ใช้ชื่อเรื่องว่า '''The Whale''' ต่อมาจึงพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวกันโดยสำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์และพี่น้อง ในนครนิวยอร์ก ใช้ชื่อเรื่องว่า '''Moby-Dick; or, The Whale''' เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851 ประโยคแรกในบทที่หนึ่งคือ —"Call me Ishmael."— ("เรียกข้าพเจ้าว่า อิชมาเอล") ถือเป็นหนึ่งในประโยคเปิดเรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดางานวรรณกรรมทั้งปวง นวนิยายได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวกและลบ อย่างไรก็ดี ตราบจนปัจจุบัน ''โมบิดิก'' ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนวนิยายภาษาอังกฤษที่ยอดเยี่ยมที่สุด และทำให้เมลวิลล์เป็นหนึ่งในนักเขียนชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
 
อย่างไรก็ดีเนื่องจาก ''โมบิดิก'' มีเนื้อหาแฝงคำวิจารณ์ทางศาสนาไว้มากมาย เช่น การที่แต่งให้อิชมาเอลเป็นคนไม่เชื่อศาสนา และมีความสัมพันธ์เชิงรักร่วมเพศกับ เควเคว็ก เพื่อนผิวสีที่นับถือจารีตของชนเผ่าป่าเถื่อน เมื่อหนังสือออกตีพิมพ์คราวแรก จึงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบมากมาย แม้ว่าทางสำนักพิมพ์ในอังกฤษจะเซ็นเซ่อร์ข้อความที่แสดงทัศนะหมิ่นศาสนาคริสต์ออกไปมากแล้วก็ตาม ''โมบิดิก''กลายเป็นหนังสือที่ขายไม่ได้ และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ยุติอาชีพทางการประพันธ์ของเมลวิลล์ ''โมบิดิก''ถูกลืมเลือนไปจน [[ดี.เอช. ลอว์เรนซ์]] นักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดังกลับมาค้นพบในช่วงทศวรรษที่ 1920s นับแต่นั้นมา โมบิดิก ก็ได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณกรรมเอกของอเมริกา ควบคู่ไปกับบทกวีของ [[วอล์ท วิทแมน]] กวีเอกของอเมริกาผู้มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเมลวิลล์ นักวิจารณ์วรรณกรรมชื่อดัง ศ.[[แฮโรลด์ บลูม]] ให้ความเห็นว่า ''โมบิดิก'' เป็น "มหากาพย์ร้อยแก้ว" (epic prose) ประจำชาติอเมริกา และเป็นหนังสือนิยายที่ดีที่สุดจากปลายปากกาของนักเขียนอเมริกันตราบจนปัจจุบัน
 
 
 
==ความสำคัญของโมบิดิกในวรรณกรรมอเมริกา==
 
 
นักวิจารณ์เห็นว่างานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน[[ศิลปะจินตนิยม|ยุคจินตนิยม]]ใน[[สหรัฐอเมริกา]] ''โมบิดิก'' ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยสำนักพิมพ์ริชาร์ด เบนท์ลีย์ ในกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 1851 โดยแบ่งพิมพ์ออกเป็น 3 เล่มชุด ใช้ชื่อเรื่องว่า '''The Whale''' ต่อมาจึงพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวกันโดยสำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์และพี่น้อง ในนครนิวยอร์ก ใช้ชื่อเรื่องว่า '''Moby-Dick; or, The Whale''' เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1851 ประโยคแรกในบทที่หนึ่งคือ —"Call me Ishmael."— ("เรียกข้าพเจ้าว่า อิชมาเอล") ถือเป็นหนึ่งในประโยคเปิดเรื่องที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในบรรดางานวรรณกรรมทั้งปวง นวนิยายได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่บวกและลบ อย่างไรก็ดี ตราบจนปัจจุบัน ''โมบิดิก'' ได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนวนิยายภาษาอังกฤษที่ยอดเยี่ยมที่สุด และทำให้เมลวิลล์เป็นหนึ่งในนักเขียนชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==