ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตัวรับรู้สารเคมี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tikmok (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับให้ดีขึ้น
Tikmok (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
chemoreceptor, chemosensor
-->
{{ปรับปรุงการอ้างอิง}}
ใน[[ระบบประสาท]] '''ตัวรับรู้สารเคมี'''
({{lang-en |chemoreceptor, chemosensor}})
เป็น[[ตัวปลายประสาทรับความรู้สึก]]ที่[[การถ่ายโอนความรู้สึก|ถ่ายโอน]][[สารเคมี|ข้อมูลทางเคมี]]ไปเป็น[[ศักยะงาน]]เพื่อส่งไปยัง[[สมองระบบประสาทกลาง]]
โดยทั่ว ๆ ไปก็คือ เป็นตัวรับรู้[[สิ่งเร้า]]คือ[[สารเคมี]]ใน[[สิ่งแวดล้อม]]
 
เมื่อมีสิ่งเร้าใน[[สิ่งแวดล้อม]]ที่สำคัญต่อการรอดชีวิตของ[[สิ่งมีชีวิต]] สิ่งมีชีวิตจะต้องตรวจจับสิ่งเร้านั้นได้
และเพราะกระบวนการของชีวิตทั้งหมดมีกระบวนการทางเคมีเป็นมูลฐาน จึงเป็นเรื่องธรรมดาว่า การตรวจจับและ[[การถ่ายโอนความรู้สึก|การถ่ายโอน]]รับรู้สิ่งเร้าภายนอกจะเป็นปรากฏการณ์ทางเคมี
แน่นอนว่า สารเคมีในสิ่งแวดล้อมสำคัญต่อการรอดชีวิต และการตรวจจับสิ่งเร้าเคมีจากภายนอก อาจเชื่อมกับการทำงานทางเคมีของ[[เซลล์]]โดยตรง
 
เส้น 57 ⟶ 58:
รสเค็มและเปรี้ยวจะทำปฏิกิริยากับ[[ช่องไอออน]]ของเซลล์ได้โดยตรง ในขณะที่รสหวานและขมจะมีปฏิสัมพันธ์กับ GPCR ของเซลล์ ส่วนรสอุมะมิโดยผ่าน[[กลูตาเมต]]ก็จะมีปฏิสัมพันธ์กับ GPCR ด้วย
 
=== การรับรับรู้สารเคมีโดยสัมผัส ===
การรับสารเคมีโดยสัมผัสต้องอาศัยการสัมผัสกันโดยตรงระหว่าง[[ตัวรับความรู้สึก]]กับ[[สิ่งเร้า]]
ตัวรับความรู้สึกเช่นนี้มีขนหรือรูปกรวยสั้น ๆ ที่มีรูเดียวใกล้หรือที่ยอด
ดังนั้น จึงเรียกว่า ตัวรับความรู้สึกรูเดียว (uniporous receptor)
ตัวรับความรู้สึกบางอย่างอ่อน บางอย่างแข็งและจะไม่งอเมื่อสัมผัส
ตัวรับความรู้สึกโดยมากจะพบที่ส่วนปาก แต่ก็พบที่หนวดและขาของแมลงบางชนิดด้วย
จะมีกลุ่ม[[เดนไดรต์]]ใกล้ ๆ กับรูของตัวรับความรู้สึก แต่การจะกระจายตัวของเดนไดรต์จะต่างต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับสัตว์
และการส่งสัญญาสัญญาณประสาทจากเดนไดรต์ก็ต่างกันขึ้นอยู่กับสัตว์และสารเคมีที่เป็นสิ่งเร้า
 
=== หนวดของเซลล์ (Cellular antennae) ===
มีการค้นพบงานศึกษาทาง[[ชีววิทยา]]และทาง[[การแพทย์เร็ว]]ปี 2551 นี้แสดงว่า ขนเซลล์ (cilia) หลักของเซลล์ต่าง ๆ ใน[[ยูแคริโอต]] ทำหน้าที่เป็นหนวดรับความรู้สึก
คือมีบทบาทสำคัญในการรับรู้สารเคมี
มุมมองปัจจุบันทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับขนเช่นนี้อันเป็น[[ออร์แกเนลล์]]ของเซลล์ก็คือ
เป็น "หนวดรับความรู้สึกของเซลล์ ที่ประสานวิถีการอำนวยกระบวนการส่งสัญญาณของเซลล์ (signaling pathway) เป็นจำนวนมาก บางครั้งจะโดยจับคู่กับการเคลื่อนไหวของขน (ciliary motility) หรือกับ[[การแบ่งเซลล์]]และการพัฒนาให้แตกต่างของเซลล์"<ref name="Satir2008">{{cite journal | author = Satir, P; Christensen, S.T. | year = 2008 | title = Structure and function of mammalian cilia | journal = Histochemistry and Cell Biology | volume = 129 | pages = 6 | quote = sensory cellular antennae that coordinate a large number of cellular signaling pathways, sometimes coupling the signaling to ciliary motility or alternatively to cell division and differentiation.}}</ref>
 
== สรีรวิทยา ==
* ต่อมแครอทิด (carotid body) และ Aortic body สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของ[[ออกซิเจน]]ได้เป็นหลัก และยังตรวจจับระดับที่สูงขึ้นของ[[คาร์บอนไดออกไซด์]]และการเพิ่ม[[ความเป็นกรด]]ในเลือดได้ด้วย แม้จะในระดับที่ต่ำกว่าออกซิเจน
* chemoreceptor trigger zone เป็นบริเวณของ[[ก้านสมอง]]ส่วนท้าย (medulla) ที่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ[[ยา]]และ[[ฮอร์โมน]]จากเลือด และสื่อสารกับศูนย์ควบคุมการอาเจียน เพื่อให้อาเจียนในสถานการณ์บางอย่าง{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน | date = 2010-07}}
 
=== อัตราการหายใจ ===
ตัวรับเคมีสามารถตรวจจับระดับ[[คาร์บอนไดออกไซด์]]ใน[[เลือด]]
โดยเฝ้าตรวจความเข้มข้นของ[[ไอออน]][[ไฮโดรเจน]]ซึ่งเพิ่มความเป็นกรดในเลือด
ซึ่งอันเป็นผลโดยตรงของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้นขึ้น เพราะมันมีปฏิกิริยากับ[[เอนไซม์]]คาร์โบนิก แอนไฮเดรส (carbonic anhydrase) แล้วสร้าง[[โปรตอน]]และไอออนไบคาร์บอเนต
ต่อจากนั้น ศูนย์การหายใจใน[[ก้านสมอง]]ส่วนท้าย (medulla)
ก็จะส่งอิมพัลส์ประสาทไปยัง[[กล้ามเนื้อ]][[ซี่โครง]] (intercostal muscles) และกล้ามเนื้อ[[กะบังลม]] ผ่านเส้นประสาท intercostal nerve และ phrenic nerve ตามลำดับ
เพื่อเพิ่มอัตราการหายใจและ[[ปริมาตร]]ของปอดเมื่อหายใจเข้า
 
ตัวรับเคมีที่มีอิทธิพลต่ออัตราการหายใจแบ่งหมวดได้เป็น 2 หมู่{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน | date = 2010-07}}
* ตัวรับเคมีใน[[ระบบประสาทกลาง]] (central chemoreceptor) ที่อยู่บนผิวข้างด้านล่าง (ventrolateral) ของก้านสมองส่วนท้าย และตรวจจับความเป็นกรดของ[[น้ำหล่อสมองไขสันหลัง]] และยังพบโดยการทดลองว่า ตอบสนองต่อภาวะ hypercapnic hypoxia (คาร์บอนไดออกไซด์สูง ออกซิเจนต่ำ) แม้ในที่สุดจะตอบสนองน้อยลง (desensitized) ดังนั้นจึงไวต่อทั้งคาร์บอนไดออกไซด์และความเป็นกรดและคาร์บอนไดออกไซด์
* ตัวรับเคมี[[ระบบประสาทนอกส่วนกลาง|นอกระบบประสาทกลาง]] (peripheral chemoreceptor) ประกอบด้วย aortic bodies และต่อมแครอทิด aortic bodies จะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด แต่ไม่ตรวจความเป็นกรด แต่ต่อมแครอทิดจะตรวจจับทั้ง 3 อย่าง และทั้งสองจะไม่ตอบสนอง/ไวภาวะน้อยลง แม้ผลของพวกมันต่ออัตราการหายใจจะน้อยกว่าตัวรับเคมีในระบบประสาทกลาง
 
=== อัตราหัวใจเต้น ===