ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Hnaue (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
 
== ประวัติ ==
'''พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์)''' เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ปีจอ พ.ศ. 2405<ref name="ข่าวตาย">ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/D/1483_1.PDF ข่าวตาย], เล่ม 43, ตอน ง, 11 กรกฎาคม 2469, หน้า 1497-8</ref> ที่ตำบลบ้านเพรียง อำเภอโพไร่หวาน จังหวัดเพชรบุรี บิดาชื่อพ่วง มารดาชื่อปิ่น ในวัยเด็กได้ไปอยู่เล่าเรียนหนังสือที่วัดห้วยเสือ และวัดมหาสมณาราม จังหวัดเพชรบุรี ตามลำดับ ต่อมาได้บรรพชาเป็นสามเณรและเล่าเรียนพระปริยัติธรรมคือภาษาบาลี จนอายุ 19 ปี จึงได้เข้ามาเล่าเรียนต่ออยู่ในสำนัก[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)]] [[วัดราชประดิษฐ์ประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]] กรุงเทพฯ เข้าแปลพระปริยัติธรรมสนามหลวงได้[[เปรียญธรรม 4 ประโยค]] พอดีอายุครบอุปสมบท จึงได้อุปสมบท ณ [[วัดราชประดิษฐ์ประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]]นั้น โดยสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้ลาสิกขาออกไปรับราชการ โดยได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เข้ารับราชการอยู่ในกรมศึกษาธิการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2430 เป็นต้นมา และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ''ขุนประเสริฐอักษรนิติ'' แล้วเลื่อนขึ้นเป็น ''หลวงประเสริฐอักษรนิติ'' ตำแหน่งปลัดกรม กรมศึกษาธิการ แล้วเลื่อนขึ้นเป็น ''พระปริยัติธรรมธาดา'' ตำแหน่งเจ้ากรมราชบัณฑิตขวา ในรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 6 ได้เลื่อนขึ้นเป็น '''''พระยาปริยัติธรรมธาดา'''''
 
พระยาปริยัติธรรมธาดา เป็นเพียงเปรียญ 4 ประโยคก็จริง แต่โดยที่ท่านได้เล่าเรียนมาในสำนักอาจารย์ที่นับว่าเป็นปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาพระองค์หนึ่งในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ซึ่งทรงได้รับสมญานามว่า "พระสังฆราช 18 ประโยค" เพราะทรงสอบประโยค 9 ได้สองครั้ง ท่านจึงมีความเชี่ยวชาญทางภาษาและอักษรศาสตร์ เป็นเยี่ยมคนหนึ่งในยุคนั้น ท่านสามารถพูดได้หลายภาษาโดยเฉพาะภาษาบาลีและสันสกฤต ทั้งเป็นผู้สนใจในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี