ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
== ประวัติ ==
=== ยุคเริ่มแรก ===
นับแต่สมัย[[กรุงศรีอยุธยา]]เป็นต้นมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประเพณีของบ้านเมืองมาแต่โบราณ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินสวรรคตย่อมต้องจัดสร้างพระเมรุมาศ เป็นที่ถวายพระเพลิงที่ท้องสนามหลวงเป็นพระเกียรติยศ นับเป็นธรรมเนียมมาแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เป็นประเพณีที่ถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงนั้น สำหรับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้าฟ้า ส่วนพระศพเจ้านายก็ดี ขุนนางก็ดี มีพระราชประเพณีต้องนำออกไปพระราชทานเพลิงในวัดนอกกำแพงเมืองชั้นนอกในเมรุปูน ซึ่ง[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]] ทรงสร้างสถานปลงศพเป็นวัตถุถาวรถวาย เรียกสามัญ ว่า “เมรุปูน” ที่[[วัดสุวรรณาราม]]
 
[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงสันนิษฐานว่า เมื่อแรกสร้างเมรุปูนขึ้นนั้น สำหรับพระศพเจ้านาย ที่มียศไม่สูงศักดิ์ถึงกับสร้างเมรุกลางเมือง ส่วนขุนนางจะเผาในเมรุปูนได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตพิเศษ ดังนั้นเมื่อต้องเผาศพขุนนางนอกกำแพงเมือง จึงต้องนำศพออกไปทางสำราญราษฎร์ออกประตูกำแพงเมืองที่เวลานั้นเรียก “ประตูผี” คือประตูที่นำศพออกไปฝัง หรือเผานอกกำแพงเมือง
 
ในรัชกาลที่ 1 เกิด[[อหิวาต์]]ระบาด ผู้คนตายประมาณ 30.000 รายในเวลาครึ่งเดือน ต้องนำศพออกนอกกำแพงเมืองไปทิ้งในป่าช้า และ ศาลาดิน [[วัดสระเกศ]] [[วัดสังเวชวิศยาราม]] [[วัดปทุมคงคา]] เผาไม่ทัน แร้งมารุมทึ้งกันมากมาย จนลือชื่อ แร้งวัดสระเกศ ผู้คนหวาดกลัวเป็นอันมาก [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] โปรดเกล้าให้ตั้งพิธี “อาพาธพินาศ” และโปรดเกล้าฯ ให้ทำ[[เงินพดด้วง]] ตราเฉลวด้วย ต่อมารัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ]]ครั้งเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็น นายงานสร้างเมรุด้วยอิฐปูน เรียก เมรุปูน สำหรับพระราชทานเพลิงศพเจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เมรุปูนนี้นับเป็นเกียรติยศสำหรับผู้ตายซึ่งพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพแต่รัชกาลที่ 3
 
ครั้นมาถึง ร.ศ. 112 [[พ.ศ. 2436]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯให้สร้างเมรุอิศริยยศ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ปลงศพได้ทุกชั้นบรรดาศักดิ์ สุดแต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตพิเศษเป็นสำคัญ และที่สุสานหลวงนี้โปรดเกล้าฯ ให้ทำการปลงพระศพ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์|พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์]] เมื่อ ร.ศ. 113 [[พ.ศ. 2437]] เป็นปฐม และครั้งนั้นทรงสร้างที่ตั้งพระศพเป็นพลับพลาถาวร พระราชทานนามว่า “พลับพลาอิศริยาภรณ์” สำหรับใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพงานอื่นๆ ต่อมาในปี ร.ศ. 114 [[พ.ศ. 2438]] ได้พระราชทานเพลิงพระศพ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี|พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี]]เป็นองค์ที่สอง ในครั้งนั้นพระเมรุหรือเมรุที่ใช้พระราชทานเพลิงพระศพและศพเป็นพระเมรุหรือเมรุชั่วคราวก่อสร้างด้วยไม้ เวลาเผาพระศพหรือศพจริงก็จะเผาบนจิตกาธานที่รับพระราชทานเพลิงเกียรติยศ
 
การเผาพระศพและศพลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามธรรมเนียมที่มีมาแต่เดิม ด้วยในขณะนั้น บริเวณรอบๆ วัดเทพศิรินทราวาส ยังไม่มีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนหนาแน่น ครั้นต่อมา บ้านเมืองเจริญขึ้น เกิดอาคารบ้านเรือนก่อสร้างขึ้นรอบๆ วัดเทพศิรินทราวาส โดยเฉพาะแถบที่ใกล้ชิดติดต่อกับสุสานหลวง การเผาศพแบบเก่าทำให้เกิดควันและกลิ่นฟุ้งกระจายไปตามลม ผู้ที่อาศัยในบริเวณนั้นต้องเดือดร้อนและเสียสุขภาพมาก แม้ว่าต่อมาจะมีเทศบัญญัติควบคุมการเผาศพในเขตกรุงเทพฯ ไม่ให้มีการเผาศพบนจิตกาธาน ให้ย้ายศพไปเผาในเตาที่มีปล่องควันสูง แต่ที่สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาสยังคงเผาศพตามธรรมเนียมเก่าตลอดมา อีกทั้งตัวเมรุหลวงของเดิมที่ก่อสร้างด้วยไม้นั้นค่อนข้างสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการสร้าง ซ่อมแซม และตกแต่งเมรุทุกครั้งมีการพระราชทานเพลิงพระศพและศพ และยังดูไม่งามเท่าที่ควร แต่ครั้นจะสร้างพระเมรุหรือเมรุขึ้นในที่อื่นก็เป็นการสิ้นเปลืองมาก