ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 73:
# '''ประเด็นทางการเมือง''' ด้วยการเมืองในขณะนั้นแบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ฝ่าย 1 คือ วังหลวงหรือ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] ฝ่าย 1 คือ วังหน้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ และฝ่าย 1 คือ สมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยในขณะนั้นรัชกาลที่ 5 เพิ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติและยังทรงพระเยาว์ อำนาจทางการเมืองจึงอยู่ในมือของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในฐานะผู้สำเร็จราชการ ในขณะนั้น วังหลวงมีเพียงพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการรุ่นหนุ่ม ที่มีหัวคิดทันสมัย ซึ่งทรงโปรดใช้สอย โดยหนึ่งในจำนวนนั้นมีพระปรีชากลการรวมอยู่ด้วย เมื่อแต่ละฝ่ายต่างก็พยายามชิงอำนาจซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง จนนำไปสู่ความขัดแย้ง
# '''การพิจารณาคดีพระยาอาหารบริรักษ์(นุช)''' ซึ่งเป็นญาติสนิทของสมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยคดีนี้ พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) และพระยาเจริญราชไมตรี และหลวงพิจารณ์จักรกิจหรือในเวลาต่อมาคือพระยาเพชรพิชัย น้องชายของพระปรีชากลการ ทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นคนในตระกูลอมาตยกุลได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการชำระคดีความการทุจริต จนในที่สุดก็ได้ตัดสินโทษพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) ซึ่งประกอบด้วย ประหารชีวิต เฆี่ยน และริบราชบาทว์ ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างตระกูลทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่มีสูงมากในเวลานั้น ทำให้โทษประหารของพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) เหลือจำคุกตลอดชีวิต
# '''การสมรสกับแฟนนี่ นอกซ์''' ด้วยความที่ แฟนนี่ นอกซ์ เป็นลูกสาวของกงศุลอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลมาก เนื่องจากอินเดียและพม่า ได้เสียเอกราชแก่อังกฤษ จึงทำให้ผู้มีอำนาจของสยามต้องการได้นางไปเป็นภรรยา ซึ่งก็อยู่ในความคาดหวังของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่จะให้แต่งงานกับลูกชายคนหนึ่งของท่านด้วยเช่นกัน ทว่า แฟนนี่ นอกซ์กลับสมรสกับพระปรีชากลการ ซึ่งส่งผลให้ตระกูลอมาตยกุล มีอำนาจทางการเมืองเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายวังหลวง ความรักของแฟนนี่และพระปรีชากลการจึงดำเนินไป ท่ามกลางความขัดแย้งแตกแยกของกลุ่มอำนาจ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักพระทัยถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากลายพระราชหัตถเลขา ที่ทรงพระราชทานถึงสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเล่าถึงเรื่องความคิดอ่านของนายน็อกซ์และสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไว้ว่า