ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
Amatyakul1 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
[[ไฟล์:บ้านพระปรีชา สะพานพุทธ.jpg|thumb|บ้านของพระปรีชากลการตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ]]
 
พระปรีชากลการเป็นคนกว้างขวางในสังคมต่างประเทศ เนื่องจากจบการศึกษาทางด้านวิศวกรรมเมื่ออายุเพียง 20 ปี จากสกอตแลนด์ ประเทศอังกฤษ <ref>ศูนย์การเรียนรู้อุตสาหกรรมเหมืองแร่. (2560). ''พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล).'' ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560 จาก http://lc.dpim.go.th/kb/1010</ref> จึงสามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ท่านคุ้นเคยสมรสกับนางสาวแฟนนี่ น็อกซ์ ลูกสาวของนาย[[โทมัส ยอร์ช น็อกซ์]] กงสุลใหญ่อังกฤษ เนื่องจากมีพื้นฐานทางสังคม ครอบครัว และการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ความรักของหนุ่มสาวทั้งคู่จึงเกิดขึ้นท่ามกลางสิ่งแวดล้อม ในวงสังคมชั้นสูง โดยเริ่มรู้จักกันเมื่อทั้งสองฝ่ายซึ่งนิยมกีฬาขี่ม้า ได้สมรสขี่ม้าเล่นเพื่อออกกำลังกายในเวลาเช้า ฝายชายอยู่ในกลุ่มข้าราชบริพารที่โปรดปรานขี่ม้าตามเสด็จรัชกาลที่ 5 ส่วนฝ่ายหญิงก็ขี่ม้าเล่นกับนายน็อกซ์ผู้เป็นบิดา แม้ว่า ฝ่ายชายจะมีภรรยาและบุตรชายหญิงอยู่แล้ว เมื่อมีโอกาสรู้จักกัน ครั้งแรกจึงอยู่ในฐานะมิตรสหาย แต่ต่อมาเมื่อภรรยาพระปรีชาฯ ถึงแก่กรรม การรู้จักกันฉันเพื่อนทำให้มีโอกาสได้เข้าไปแสดงความเห็นอกเห็นใจ และสานความสัมพันธ์ต่อจนกลายเป็นความรักในที่สุด การสมรสของทั้งสองคนเกิดขึ้นท่ามกลางการสบประมาทของขุนนางชั้นผู้ใหญ่หัวโบราณและเป็นชาตินิยมสุดโต่ง<ref>Minney, R.J. ''FANNY & THE REGENT OF SIAM''. London : Collins Clear-Type Press, 1962</ref> และมีบุตรด้วยกันหนึ่งคนชื่อ จำรัส อมาตยกุล หรือ เฮนรี สเปนเซอร์ ({{lang-en|Henry Spencer}})
 
ก่อนหน้านี้ พระปรีชากลการมีภรรยาจำนวน 2 คน และมีบุตรรวม 3 คน หลังจากที่เขาได้สมรสกับแฟนนี่แล้ว ก็มีภรรยาอีก 4 คน และมีบุตรธิดารวมกันอีก 6 คน คือ <ref>ไกรฤกษ์ นานา, "ฟื้นปริศนาคดีประวัติศาสตร์ นางแฟนนี่ น็อกซ์ แก้ต่างความผิดให้พระปรีชากลการ". นิตยสาร''ศิลปวัฒนธรรม'' เล่มที่ 7 พฤษภาคม 2551 หน้า 113</ref> <ref>ตระกูลไกรฤกษ์. (2549). ลำดับตระกูลไกรฤกษ์. กรุงเทพฯ. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.</ref>
บรรทัด 70:
เป็นที่น่าสังเกตว่า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้เร่งรัดให้มีการประหารชีวิต แม้ว่าการสอบสวนจะยังไม่เสร็จสิ้นลง ทั้งคณะผู้ตัดสินไม่ยอมให้พระปรีขากลการประกันตัวออกมาสู้คดี รวมทั้งไม่ให้เบิกความพยานฝ่ายจำเลย ความขัดแย้งระหว่างตระกูลบุนนาคและอมาตยกุลที่มีมาแต่ก่อน จึงอาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงของเหตุการณ์ครั้งนี้ <ref>โรงถลุงแร่ทองคำเมืองปราจีน สมัยรัชกาลที่ 5.(2559). โพลส์ทูเดย์. http://www.posttoday.com/local/scoop/432071</ref> กล่าวคือ
# '''ความขัดแย้งในการทักท้วงการซ่อมแซมวัดพระเชตุพน''' เมื่อครั้ง[[พระยากระสาปนกิจโกศล_(โหมด_อมาตยกุล)|พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล)]] ผู้เป็นบิดา เริ่มรับราชการในสมัยรัชกาลที่ 3 ด้วยความที่ท่านมีความสนใจในด้านวิชาช่าง ค่อนข้างเป็นคนหัวก้าวหน้า และมีนิสัยตรงไปตรงมา ท่านได้ทักท้วงการซ่อมแซมอุโบสถวันพระเชตพน ซึ่งอยู่ในความดูแลของพระยาศรีพิพัฒน์โกษาธิบดี (ทัศ บุนนาค) ว่า การดำเนินการดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องและอาจพังถล่มลงมาได้ แต่พระยาศรีพิพัฒน์โกษาธิบดี (ทัศ บุนนาค) นั้นไม่เชื่อ การก่อสร้างจึงดำเนินต่อไป จนในที่สุดกำแพงได้ถล่มทับคนงานที่ก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น รัชกาลที่ 3 ได้ยกย่องพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ว่า เป็นผู้มีความสามารถมากกว่าผู้ใหญ่บางคน จึงทำให้ตระกูลบุนนาคเสียหน้า และเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างตระกูลบุนนาคและอมาตยกุล
# '''ประเด็นทางการเมือง''' ด้วยการเมืองในขณะนั้นแบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ฝ่าย 1 คือ วังหลวงหรือ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] ฝ่าย 1 คือ วังหน้า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ และฝ่าย 1 คือ สมเด็จเจ้าพระยาฯ สำหรับตระกูลอมาตยกุลโดยในขณะนั้นอยู่ฝ่ายวังหลวงหรือ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] แต่ตระกูลบุนนาคนั้นเพิ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติและยังทรงพระเยาว์ อำนาจทางการเมืองจึงอยู่ฝ่ายในมือของสมเด็จเจ้าพระยาฯเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในฐานะผู้สำเร็จราชการ ในครั้งขณะนั้น วังหลวงมีเพียงพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการรุ่นหนุ่ม ที่มีหัวคิดทันสมัย ซึ่งทรงโปรดใช้สอย โดยหนึ่งในจำนวนนั้นมีพระปรีชากลการรวมอยู่ด้วย เมื่อแต่ละฝ่ายต่างก็พยายามชิงอำนาจซึ่งกันและกัน เมื่ออมาตยกุลกับบุนนาคอยู่คนละฝ่าย จึงทำให้เกิดการแข่งขันเพื่อชิงความได้เปรียบทางการเมือง จนนำไปสู่ความขัดแย้ง
# '''การพิจารณาคดีพระยาอาหารบริรักษ์(นุช)''' ซึ่งเป็นญาติสนิทของสมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยคดีนี้ พระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) และพระยาเจริญราชไมตรี และหลวงพิจารณ์จักรกิจหรือในเวลาต่อมาคือพระยาเพชรพิชัย น้องชายของพระปรีชากลการ ทั้ง 3 ท่านซึ่งเป็นคนในตระกูลอมาตยกุลได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นตุลาการชำระคดีความการทุจริต จนในที่สุดก็ได้ตัดสินโทษพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) ซึ่งประกอบด้วย ประหารชีวิต เฆี่ยน และริบราชบาทว์ ด้วยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ทำให้ความขัดแย้งระหว่างตระกูลทวีความรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยอิทธิพลของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่มีสูงมากในเวลานั้น ทำให้โทษประหารของพระยาอาหารบริรักษ์(นุช) เหลือจำคุกตลอดชีวิต
# '''การสมรสกับแฟนนี่ นอกซ์''' ด้วยความที่ แฟนนี่ นอกซ์ เป็นลูกสาวของกงศุลอังกฤษซึ่งมีอิทธิพลมาก เนื่องจากอินเดียและพม่า ได้เสียเอกราชแก่อังกฤษ จึงทำให้ผู้มีอำนาจของสยามต้องการได้นางไปเป็นภรรยา ซึ่งก็อยู่ในความคาดหวังของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเช่นกัน ทว่า แฟนนี่ นอกซ์กลับสมรสกับพระปรีชากลการ ซึ่งส่งผลให้ตระกูลอมาตยกุล มีอำนาจทางการเมืองเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลต่อความได้เปรียบทางการเมืองของฝ่ายวังหลวง ที่มีต่อฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ความบาดหมางระหว่าง 2 ตระกูล ถึงจุดแตกหัก