ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอบราแฮม ลิงคอล์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 61:
ลินคอล์นเกิดในครอบครัวยากจน ณ เมืองฮ็อดเจนวิลล์ รัฐ[[เคนทักกี]] ซึ่งสมัยนั้นเป็นพรมแดนทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ส่วนใหญ่ลินคอล์นศึกษาด้วยตนเอง และได้รับอนุญาตให้ประกอบอาชีพทนายความใน[[อิลินอยส์]]ใน ปี 1836 เขากลายเป็นผู้นำ[[พรรควิก (สหรัฐอเมริกา)|พรรควิก]] และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐอิลลินอยส์ระหว่างค.ศ. 1834 - 1842 และต่อมาถูกเลือกเป็นสมาชิก[[สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา]]ในปี 1846 โดยดำรงตำแหน่งอยู่หนึ่งสมัย ลินคอล์นเน้นการปฏิรูประบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และต่อต้าน[[สงครามเม็กซิโก-อเมริกา]] หลังหมดวาระลินคอล์นกลับไปประกอบวิชาชีพกฎหมายจนประสบความสำเร็จ เมื่อกลับมาสู่เวทีการเมืองอีกครั้งใน ปี ค.ศ. 1854 ลินคอล์นกลายเป็นผู้นำก่อตั้งพรรคใหม่ คือ [[พรรคริพับลิกัน]] ในระหว่าง[[:en:Lincoln-Douglas debates|การโต้วาที]]กับตัวแทนพรรคเดโมแครต [[สตีเฟน เอ. ดักลัส]] ใน ค.ศ. 1858 ลินคอล์นแสดงจุดยืนทางการเมืองที่คัดค้านการขยายตัวของ[[สถาบันทาส]] แต่ก็แพ้การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแก่ดักลัส คู่แข่งผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองชนิดไม่แทรกแทรงการมีอยู่ของสถาบันทาส โดยเชื่อว่าเป็นเรื่องที่ประชาชนควรมีสิทธิกำหนดเอง
 
ลินคอล์นกลายเป็นตัวแทนผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งของ[[พรรคริพับลิกัน (สหรัฐอเมริกา)|พรรคริพับลิกัน]] ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปึ ค.ศ. 1860 ในฐานะนักการเมืองผู้มีทัศนะทางการเมืองเป็นกลาง (moderate) และมาจากรัฐที่คะแนนเสียงไม่แน่นอน (swing state) แต่แม้จะแทบไม่ได้รับเสียงสนับสนุนเลยในทางใต้ ลินคอล์นก็กวาดคะแนนเสียงในทางเหนือและได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1860 ชัยชนะการเลือกตั้งของลินคอล์นกระตุ้นให้เจ็ดรัฐทาสทางใต้ตัดสินใจประกาศแยกตัวออกจากสหภาพ และก่อตั้ง[[สมาพันธรัฐอเมริกา|สมาพันธรัฐ]]ทันทีโดยไม่รอให้มีพิธีเข้ารับตำแหน่งเสียก่อน การถอนตัวของนักการเมืองฝ่ายใต้ ทำให้พรรคของลินคอล์นกุมที่นั่งในรัฐสภาคองเกรสได้อย่างเด็ดขาด แต่ความพยายามที่จะประนีประนอมต่างจบลงด้วยความล้มเหลว และเหลือเพียงสงครามเป็นทางเลือกสุดท้าย
 
สงครามกลางเมืองเปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1861 เมื่อกองกำลังของนายพลโบริการ์ด แห่งฝ่ายสมาพันธรัฐเปิดการยิงโจมตี[[ยุทธการที่ฟอร์ตซัมเทอร์|ฟอร์ตซัมเทอร์]] รัฐฝ่ายเหนือให้การตอบรับการเรียกระดมพลอย่างแข็งขัน ลินคอล์นดำเนินกลยุทธการเมืองอย่างชาญฉลาด และเขายังเป็นนักปราศัยที่มีทักษะการพูดที่ทรงพลัง สมารถโน้มน้าวจิตใจผู้คนได้<ref>Randall (1947), pp. 65–87.</ref> [[สุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์ก]]ของเขาใน ค.ศ. 1863 เป็นสุนทรพจน์ที่มีการยกคำพูดไปอ้างอิงมากที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา<ref name="Bulla">Bulla (2010), p. 222.</ref> และเป็นคำนิยมอันอุโฆษ ต่ออุดมคติแห่งหลักการชาตินิยม สาธารณรัฐนิยม สิทธิเท่าเทียม เสรีภาพ และประชาธิปไตย