ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ยังเป็นต้นน้ำของแหล่งน้ำสำคัญ 3 สาย คือ ลำน้ำทับเสลา ซึ่งไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำทับเสลา และไหลลงสู่[[แม่น้ำสะแกกรัง]]จนกระทั่งลงสู่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]], ลำน้ำห้วยขาแข้งไหลลงสู่[[เขื่อนศรีนครินทร์]] และลำน้ำแม่กลอง–อุ้มผาง ที่ไหลจากจังหวัดกาญจนบุรีและตาก ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตไฟฟ้ารวมถึงน้ำประปาในภาคตะวันตกและกรุงเทพมหานคร
 
ความหลากหลายทางชีวภาพของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของสัตว์ป่าหายากหลายชนิด บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เช่น [[สมเสร็จมลายู|สมเสร็จ]], [[เก้งหม้อ]], [[เลียงผาใต้|เลียงผา]], [[กระทิง]], [[วัวแดง]], [[ควายป่า]] ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่ทางธรรมชาติแห่งสุดท้ายแล้วในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาศัยของ[[เสือโคร่งอินโดจีน|เสือโคร่ง]] ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้แพร่ขยายไปยังพื้นที่ป่าใกล้เคียงกันด้วย จากการศึกษาพบว่ามีประมาณ 70–80 ตัว จากปริมาณทั้งหมดที่มีในธรรมชาติในประเทศไทย 250–300 ตัว<ref>{{cite web|title=ห้วยขาแข้ง หัวใจแห่งป่าตะวันตก / รายการ บันทึกพงไพร|url=https://www.youtube.com/watch?v=padUtD28XGw|publisher=[[ช่อง 5]]|date=October 10, 2015|accessdate=July 12, 2016}}</ref> โดยเฉพาะที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งนี้จะมีสัตว์ป่าที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวที่นิยมการเที่ยวแบบผจญภัยหรือนักถ่ายภาพธรรมชาติอยู่ทั้งสิ้น 7 ชนิด เรียกกันว่า "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 7" (Big 7) ได้แก่ [[ช้างอินเดีย|ช้าง]], เสือโคร่ง, [[เสือดาวอินโดจีน|เสือดาว]], ควายป่า, วัวแดง, กระทิง และสมเสร็จ<ref>หน้า ๐๓๐ "เรื่องของสัตว์ป่า". ''ห้วยขาแข้ง แรงบันดาลใจให้สานสืบ'' โดย ปิยะฤทัย ปิโยพีระพันธุ์. หน้า ๐๒๔-๐๓๖. [[อนุสาร อ.ส.ท.]]: ปีที่ ๕๘ ฉบับที่ ๒ กันยายน ๒๕๖๐</ref>
 
==ดูเพิ่ม==