ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทิวซิดิดีส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 81:
===การวิเคราะห์และตีความของนักวิชาการ===
 
อย่างไรก็ดีหากพิจารณาจากบันทึกมหาสงครามเพโลพอนนีเซียนทั้งเล่มของท่าน จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีส ไม่ได้เป็นนักสัจจะนิยมสายแข็ง แต่ท่านกลับมุ่งแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า อำนาจย่อมนำไปสู่ความกระสันกระหายที่จะแสวงหาอำนาจเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด หากไม่ถูกบั่นทอนเสียบ้างโดยสำนึกของความยุติธรรม และซึ่งความมัวเมาในอำนาจและความมั่งคั่งทางวัตถุของจักรมรรดิจักรวรรดินี้ อาจกลายเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่จะเอามาใช้เพื่อหาเสียงเข้าสู่อำนาจ จนประเทศชาติถูกนำพาชักนำไปสู่ความหายนะ ซึ่งนี่ก็เป็นชะตากรรมแบบเดียวกับที่เอเธนส์เผชิญในที่สุด เพราะชาวเอเธนส์ถูกชักนำโดยให้มีความหยิ่งยโส คิดถึงแต่เรื่องผลประโยชน์แต่ถ่ายเดียว และแต่ไม่ใส่ใจที่จะคิดพิจารณาถึงความชอบธรรมทางจารีตประเพณีในการกระทำของตน พวกเขาจึงประเมินกำลังตัวเองสูงเกินไป และในที่สุดความกระหายอำนาจนั้นจึงก็นำไปสู่การความพ่ายแพ้สงครามต่อสปาร์ตาคู่อริ ดังนี้จะเห็นได้ว่าทิวซิดิดีวก็เอาภาพรวมของประวัติศาสตร์ มาอธิบายการล่มสลายของจักรวรดิเอเธนส์ว่าเกิดจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดต่อๆกันมาเป็นอนุกรม เพราะถูกชักจูงโดยความโลภและขาดสติ ซึ่งเป็นแนวคิดที่คล้ายกับวรรณกรรมโศกนาฏกรรมของกรีก ด้วยเหตุนี้นักวิชาการสมัยใหม่จึงเริ่มแคลงใจที่จะจัดให้ ทิวซิดิดีส เป็นบิดาของสัจนิยมการเมือง (real politik) เหมือนอย่างในอดีต
 
นักปรัชญาการเมือง ลีโอ สเตราส์ (ในหนังสือ ''The City and Man'') เห็นว่าทิวซิดิดีสมีความรู้สึกขัดแย้งต่อวัฒนธรรมของชาวเอเธนส์ กล่าวคือในขณะที่สติปัญญาของตัวท่านเองเป็นผลผลิตของประชาธิปไตยแบบ[[เพริคลีส]] ซึ่งให้เสรีภาพแก่ความล้าคิดกล้าทำ ความกล้าเสี่ยงภัย และจิตวิญญาณที่ใฝ่ค้นหาคำตอบของปัจเจกบุคคล แต่เสรีภาพดังกล่าวในที่สุดก็ส่งเสริมความทะเยอทะยานทางการเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม และความยุ่งเหยิงในประเทศ
 
นักวิชาการด้านกรีกโบราณ [[จาเคอลีน เดอ รอมิยี]] (Jacqueline de Romilly) เป็นคนแรกที่ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาในทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมของเอเธนส์ เป็นหนึ่งในประเด็นที่ทิวซิดิดีสเพ่งความสนใจมากที่สุด และเธอชี้ว่าท่านวางงานเขียนประวัติศาสตร์ของตนไว้ ในบริบทของความคิดแบบกรีกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ การวิเคราะห์ของเธอกระตุ้นให้นักวิชาการหลายคน หันมาตั้งคำถามเกี่ยวกับมุมมองของทิวซิดิดีส ที่มีต่อ ''Realpolitik'' หรือแนวคิดสัจนิยมการเมือง จนระยะหลังมานี้ ความเชื่อว่าตัวทิวซิดิดีสเป็น "บิดาของสำนักความคิดสัจนิยมการเมือง" ถูกสั่นคลอนอย่างต่อเนื่อง นักวิชาการบางท่านรวมทั้ง [[ริชาร์ด เน็ด เลอโบ]] (Richard Ned Lebow) เห็นว่างานเขียนของทิวซิดิดีส อาศัยและอ้างอิงแนวคิดในบทกวีมหากาพย์ และ[[โศกนาฏกรรม]]ในวรรณกรรมกรีกอย่างมาก จนถึงขนาดว่าจะยกให้ท่านเป็น "นักประพันธ์โศกนาฏกรรมคนสุดท้าย"<ref>Richard Ned Lebow, ''The Tragic vision of Politics'' (Cambridge University Press, 2003), p. 20.</ref> ก็ไม่ผิดนัก ในมุมมองนี้ พฤติกรรมที่ไร้ศีลธรรม และอัปยศ หรือ [[ฮิวบริส]] (ὕβρις) ของชาวเอเธนส์ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาต้องพบกับความหายนะ
 
ส่วนนักปรัชญาการเมือง ลีโอ สเตราส์ (ในหนังสือ ''The City and Man'') เห็นว่าทิวซิดิดีสมีความรู้สึกขัดแย้งต่อวัฒนธรรมของชาวเอเธนส์ กล่าวคือในขณะที่สติปัญญาของตัวท่านเองเป็นผลผลิตของประชาธิปไตยแบบ[[เพริคลีส]] ซึ่งให้เสรีภาพแก่ความล้ากล้าคิดกล้าทำ ความกล้าเสี่ยงภัย และจิตวิญญาณที่ใฝ่ค้นหาคำตอบของปัจเจกบุคคล แต่เสรีภาพดังกล่าวในที่สุดก็ส่งเสริมความทะเยอทะยานทางการเมืองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนนำไปสู่ลัทธิจักรวรรดินิยม และความยุ่งเหยิงในประเทศ
 
==แหล่งข้อมูลอื่นและอ้างอิง==