ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 107:
สืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดขึ้นและดำเนินการอย่างต่อเนื่องและความรุนแรงของการก่อเหตุในช่วงแรกยังอยู่ในระดับต่ำ แต่สันนิษฐานว่า การปลูกฝังอุดมการณ์การปรับเปลี่ยน และการเตรียมจัดตั้งองค์กรใหม่ น่าจะอยู่ในช่วงแห่งการฝังตัว จนเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดเหตุปล้นกองพันพัฒนาที่ 4 อำเภอเจาะไอร้อง และเกิดเหตุการณ์กรือเซะ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 มีผู้เสียชีวิต 108 คน รวมทั้งเหตุการณ์ที่ตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 มีผู้เสียชีวิต 85 คน จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นอีกครั้ง ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 207/2549 จัดตั้ง ศอ.บต. ขึ้น และได้แต่งตั้งให้ ผอ.ศอ.บต. เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
 
เมื่อวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2552]] [[คณะรัฐมนตรี]] มีมติเห็นชอบให้ '''[[ภาณุ อุทัยรัตน์]]''' ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และเป็นผู้อำนวยการ'''ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้''' (ผอ.ศอ.บต.)
 
ในปี พ.ศ. 2553 ได้มีพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานสำนักงานคือ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นนิติบุคคล ไม่ขึ้นต่อสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม อยู่ในบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี