ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขเล็กน้อย
Good dharma (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความ
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:ชาลีมงคลอาสน์.jpg|thumb|พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์]]
 
'''พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์''' เป็นพระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่งใน[[พระราชวังสนามจันทร์]] ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราวปี พ.ศ. 2451 โดยมี[[หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร]] เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องสีแดง ชั้นบนมีเพียง 2 ห้อง ชั้นล่างมี 2 ห้อง มีระเบียงล้อมรอบ 3 ด้านของตัวพระตำหนักทั้ง 2 ชั้น จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาทซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะ[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา|เรอแนซ็องส์]]ของ[[ประเทศฝรั่งเศส]] กับอาคารแบบ[[ฮาล์ฟ ทิมเบอร์]]ของ[[ประเทศอังกฤษ]] แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศใน[[ประเทศไทย]] ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตร เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องบันได อีกด้านหนึ่งเป็นห้องเสวยและห้องส่งเครื่อง ชั้นบนประกอบด้วยทางเดินกลางแบ่งอาคารเป็น 2 ข้าง แต่ละข้างมีห้องใหญ่เป็นห้องบรรทม และห้องเล็กเป็นห้องทรงพระอักษร ล้อมด้วยระเบียงสามด้านยกเว้นด้านหลัง ทางด้านตะวันออกและตะวันตกมีเฉลียงเป็นรูปครึ่งวงกลมประกอบด้วยเสาขนาดใหญ่ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดง จุดเด่นของพระตำหนักอยู่ที่ป้อมหรือหอคอยที่มุมอาคาร ยอดหลังคาเป็นกรวยแหลม นอกจากนี้ทางเข้ากลางด้านหน้ายังทำเป็นมุขแบบชนบท ลายซุ้มหน้าบันเหนือระเบียงมีลายแบบยุคกลางของยุโรป ด้านใต้มีประตูเปิดไปสู่ฉนวนซึ่งทอดยาวไป[[พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์]]
 
ในปี พ.ศ. 2458 [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามพระตำหนักว่า "พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์" <ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/A/415.PDF ประกาศ พระราชทานนามพระตำหนัก ที่พระราชวังสนามจันทร์ เมืองนครปฐม], ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม ๓๒, หน้า ๔๑๕</ref> และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีขึ้นพระตำหนัก เมื่อวันที่ [[3 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2460]]
 
แต่เดิมพระตำหนักหลังนี้ชื่อว่า "พระตำหนักเหล" ซึ่งตั้งตามนามของ[[ย่าเหล]] สุนัขทรงเลี้ยงในรัชกาล