ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6608987 สร้างโดย 1.46.38.74 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 24:
อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ [[ศิลาจารึก|จารึก]]วัดโพธิ์ร้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่12 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้|เอเชียอาคเนย์]]ทั้งหมด ปรากฏเป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงใน[[ภาษามอญ]] แสดงว่ามอญใช้อักษรปัลลวะในการสื่อสาร<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=271</ref> อักษรที่ประดิษฐ์เพิ่มนี้ยังได้พบในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับ[[พระพุทธศาสนา]] สันนิษฐานว่า จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=921</ref>
{{อักษรพม่า}}
 
=====สมัยกลาง =====
# จารึกในประเทศพม่าภาคเหนือ ส่วนมากได้จากเมืองพะขัน และเมืองแปร [[ศิลาจารึก]]เหล่านี้ สร้างขึ้นในรัชสมัยของ[[พระเจ้าอโนรธา]] กษัตริย์[[อาณาจักรพุกาม|พุกาม]]ประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา พม่ารับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก
# ศิลาจารึกพบที่วัดจารึกวัดมหาวัน[[จังหวัดลำพูน]] ลักษณะอักษรเป็นจารึกในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 กำหนดอายุจากรูปอักษรมอญโบราณ ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก”มยเจดีย์” (Mayazedi) ของ[[พระเจ้าจานสิตา]] กษัตริย์พุกาม ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. 1628 และ 1630 ดังนั้นจารึกหลักนี้จึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 เช่นเดียวกัน<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=573</ref>
# จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๑ (วัดดอนแก้ว) จารึกหลักนี้ถูกพบเมื่อ พ.ศ. 2460 โดยบัญชีทะเบียนพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ระบุว่าพบจารึกดังกล่าวที่วัดดอน ซึ่งอยู่ราว 250 เมตร ทางทิศตะวันออกของเมืองลำพูน ในบริเวณทิศตะวันออกของวัดต้นแก้ว มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=543</ref>
#จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๒ ([[วัดกู่กุด]]) พบที่ฐานพระเจดีย์ด้านทิศตะวันออกของวัดจามเทวีหรือกู่กุด อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีรูปอักษรมอญโบราณ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 17<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=546</ref>