ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "บรันเดนบูร์ก" → "บรันเดินบวร์ค" +แทนที่ "โฮเฮนโซลเลิร์น" → "โฮเอ็นโซลเลิร์น" ด้วย[[WP:iScript|ส...
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "บรานเดนบวร์ก" → "บรันเดินบวร์ค" ด้วยสจห.
บรรทัด 57:
ระหว่างรัชสมัยอันขาดสมรรถภาพของ[[เกออร์ก วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค|เกออร์ก วิลเฮล์ม]] (ค.ศ. 1619–1640) ราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์นก็ได้รับความกระทบกระเทือนอย่างหนักระหว่าง[[สงครามสามสิบปี]] [[จักรวรรดิสวีเดน|สวีเดน]]บังคับให้เกออร์ก วิลเฮล์มเป็นพันธมิตร จากนั้นสวีเดนก็ยึดครองดินแดนส่วนใหญ่ของบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย ซึ่งเป็นผลทำให้กองทัพโรมันคาทอลิกเข้าทำลายบรันเดินบวร์คและดินแดนของโฮเอ็นโซลเลิร์นครั้งแล้วครั้งเล่า [[ฟรีดริช วิลเฮล์ม ผู้คัดเลือกแห่งบรันเดินบวร์ค|ฟรีดิช วิลเฮล์ม]]ผู้ครองรัฐต่อจากกออร์ก วิลเฮล์ม ทำสัญญาสงบศึกกับสวีเดน แม้ว่าสวีเดนจะยึดครอง[[ดัชชีพอเมอเรเนีย]] แต่บรันเดินบวร์คมีสิทธิในการสืบครองหลังจากการเสียชีวิตของดยุกผู้ไม่มีทายาท[[โบกิสลอว์ที่ 14 ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย|โบกิสลอว์ที่ 14]] ในปี ค.ศ. 1637 ฟรีดิช วิลเฮล์มไปเป็นพันธมิตรกับ[[สาธารณรัฐดัตช์]] ในปี ค.ศ. 1648 [[สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย]]และการสนับสนุนของดัตช์ทำให้ฟรีดริช วิลเฮล์มได้รับ[[ฟาร์เทอร์พอเมอเรเนีย]] [[รัฐมุขนายกฮัลเบอร์ชตัดท์]] และ[[ราชรัฐมุขนายกมินเดิน]] และสิทธิในการสืบครอง[[ราชรัฐอัครมุขนายกมักเดบูร์ก]] การตกลงเรื่องเขตแดนพอเมอเรเนียกับสวีเดนก็มาสำเร็จลงด้วยการลงนามใน[[สนธิสัญญาสเทททิน (ค.ศ. 1653)]] เมื่อมาถึง ค.ศ. 1680 ดินแดนเหล่านี้และ[[รัฐมุขนายกคัมมิน]]ก็ได้รับการรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย
 
ในช่วงที่โปแลนด์มีปัญหากับสวีเดนระหว่าง[[สงครามเหนือ]] (Northern Wars) ฟรีดิช วิลเฮล์มฉวยโอกาสขออิสรภาพแก่ปรัสเซียแก่บรานเดนบวร์กบรันเดินบวร์คจากพระเจ้า [[Władysław IV Vasa]] แห่งโปแลนด์[[สนธิสัญญาเวห์เลา]]ในปี ค.ศ. 1657 สิทธิของ[[ราชบัลลังก์โปแลนด์]]หมายความว่าดัชชีจะกลับไปเป็นของโปแลนด์ถ้าราชวงศ์โฮเอ็นโซลเลิร์นสิ้นสุดลง ข้อแม้นี้ได้รับการต่ออายุทุกครั้งที่แต่ละประเทศเปลี่ยนประมุขมาจนถึงปี ค.ศ. 1700.
 
ในปี ค.ศ. 1675 [[พระเจ้าจอห์นที่ 3 โซบิเอสกีแห่งโปแลนด์]]ทำสัญญาลับกับ[[ฝรั่งเศส]] โดยโปแลนด์จะโจมตีปรัสเซียขณะที่ฝรั่งเศสสร้างความกดดันต่อ[[จักรวรรดิออตโตมัน]]ให้คืนดินแดนให้แก่[[เครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย]] เมื่อความขัดแย้งกับออตโตมันสิ้นสุดลง โปแลนด์ก็สามารถโจมตีบรันเดินบวร์ค หรือออสเตรียศตรูของฝรั่งเศสได้ แต่แผนการของโซบิเอสกีได้รับการคัดค้านจากพระสันตะปาปา และจากชนชั้นนำของโปแลนด์เองที่เห็นว่าออตโตมันเป็นภัยมากกว่า และจากขุนนางโปแลนด์ที่ได้รับการติดสินบนจากเบอร์ลินและเวียนนา ฉะนั้นแผนของโซบิเอสกีจึงประสบความล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้ลงมือ<ref>Alexander Gieysztor, Stefan Kieniewicz, Emanuel Rostworowski, Janusz Tazbir, and Henryk Wereszycki. ''History of Poland''. PWN. Warsaw, 1979. ISBN 83-01-00392-8</ref>
 
การที่ที่ตั้งของดัชชีปรัสเซียตั้งอยู่ภายนอก[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] — ที่อาณาจักรที่อยู่ภายในด้วยกันไม่มีรัฐใดที่สามารถเรียกตนเองว่าเป็นกษัตริย์ได้นอกไปจากประมุขของ[[ราชอาณาจักรโบฮีเมีย|โบฮีเมีย]] — ทำให้[[พระเจ้าฟรีดริชที่ 1 แห่งปรัสเซีย|ฟรีดริชที่ 3 แห่งบรานเดนบวร์กรันเดินบวร์ค]]กลายเป็น "[[กษัตริย์ในปรัสเซีย]]"<!--ไม่ใช่กษัตริย์แห่งปรัสเซีย-->ในปี ค.ศ. 1701 เป็นการแลกเปลี่ยนกับการให้ความช่วยเหลือต่อ[[จักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์|จักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1]] ใน[[สงครามสืบราชบัลลังก์สเปน]] ซึ่งเป็นตัดขาดจากโปแลนด์ และเป็นกษัตริย์ปรัสเซียองค์แรกที่เป็นประมุขคนสุดท้ายของบรันเดินบวร์ค-ปรัสเซีย ผู้ตรัส[[ภาษาโปแลนด์]]ได้อย่างคล่องแคล่ว ในปี ค.ศ. 1773 อดีตดัชชีก็ได้รับการจัดให้เป็นมณฑล[[อีสต์ปรัสเซีย]] ขณะที่ส่วนใหญ่ของมณฑล[[รอยัลปรัสเซีย]]กลายเป็น[[เวสต์ปรัสเซีย]] ในปี ค.ศ. 1815 บรันเดินบวร์คก็ได้รับการจัดใหม่ให้เป็นมณฑล[[บรันเดินบวร์ค]]ของปรัสเซีย
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 74:
[[หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศเยอรมนี]]
[[หมวดหมู่:ปรัสเซีย]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์บรานเดนบวร์กบรันเดินบวร์ค]]