ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 57:
}}
 
'''จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี''' รู้จักกันในนาม '''ออสเตรีย-ฮังการี''' ({{lang-en|Austria-Hungary}}) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบ[[การปกครองแบบควบคู่]] (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปี[[พ.ศ. 2410]] จนถึง [[พ.ศ. 2461]] หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจาก[[สงครามโลกครั้งที่ 1]]
 
จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจาก[[จักรวรรดิออสเตรีย]] ([[ค.ศ. 1804]]-[[ค.ศ. 1867]]) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจาก[[การเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี]] เมื่อปี[[พ.ศ. 2410]] ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดย[[ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก]]มาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม
บรรทัด 87:
หลังจากเกิดเหตุการณ์การเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการีเมื่อปี [[พ.ศ. 2410]] ซึ่งดำเนินการการรวมชาติการเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการสานต่อโครงสร้างของการปกครองที่คงตัวตั้งแต่เมื่อยังคงเป็น[[จักรวรรดิออสเตรีย]] ตั้งแต่ปี[[พ.ศ. 2347]]ถึง[[พ.ศ. 2410]] เพื่อปกป้องและขยายอำนาจของจักรวรรดิ ซึ่งรวมไปถึง[[คาบสมุทรอิตาลี]] (ซึ่งนำไปสู่[[สงครามออสเตรีย-ซาร์ดีเนีย]]เมื่อปี[[พ.ศ. 2402]] ท่ามกลางรัฐต่างๆของ[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]] ซึ่งถูกแทนที่โดย[[ปรัสเซีย]] ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจสูงสุดในกลุ่มประเทศเยอรมันทั้งมวล อันนำไปสู่[[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย]] เมื่อปี[[พ.ศ. 2409]] ทำให้ประเทศหลายประเทศต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมทั้ง[[ประเทศฮังการี]] ซึ่งมีการชุมนุมประท้วงที่ไม่พอใจที่ได้อย่ภายใต้การปกครองของ[[ออสเตรีย]] รวมทั้งการรวมเชื้อชาติต่างๆของจักรวรรดิออสเตรีย ฮังการีไม่พอใจต่อการปราบปรามจลาจลของออสเตรีย ซึ่งมี[[จักรวรรดิรัสเซีย]]สนับสนุนอีกแรง ซึ่งนำไปสู่[[การปฏิวัติในประเทศฮังการี พ.ศ. 2391|การปฏิวัติเสรีนิยมในประเทศฮังการี]] เมื่อปี[[พ.ศ. 2391]] อย่างไรก็ตาม ความไม่พอใจของฮังการีต่อการปกครองของทาง[[ออสเตรีย]]ได้เกิดขึ้นเป็นเวลาหลายปี
 
ส่วนทางด้านออสเตรียซึ่งสนับสนุนระบอบกษัตริย์หรือจักรพรรดิอย่างเต็มที่ [[จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 แห่งออสเตรีย|จักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟ]] ทรงริเริ่มที่จะเจรจากับฮังการี โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้นำปฏิวัติของ[[ชาวแม็กยาร์]] (ฮังกาเรียน) ให้มั่นใจและรับรองต่อระบอบการปกครองของพระองค์ โดยในที่สุด ประเทศฮังการีก็ยอมรับพระองค์เป็นประมุข โดยในฐานะสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี โดยฮังการีได้ก่อตั้งรัฐสภาเป็นของตนเอง ณ [[กรุงบูดาเปสต์]] เพื่อที่จะได้ออกกฎหมายเป็นของตนเอง ในนามของ'''ผืนแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์ สตีเฟน''' ''' (The Holy Hungarian Land of St. Stephen) '''
 
== การเมืองการปกครอง ==
บรรทัด 134:
 
== เศรษฐกิจ ==
{{บทความหลัก|เศรษฐกิจในออสเตรีย-ฮังการี}}
[[ไฟล์:BanknoteA-H.jpg|thumb|right|300px|ธนบัตร20โครน ที่ใช้กันในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี]]
สภาพเศรษฐกิจในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้มีการเปลี่ยนแปลงตามการปกครอง ด้วยการที่มีระบอบการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ควบคู่ (Dual Monarchy) ทางด้านเทคโนโลยีนั้นได้ขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงสภาพของเมืองต่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทางด้านการผลิตนั้นได้เติบโต และสามารถส่งออกไปต่างประเทศได้ในช่วงเวลา 50 ปีของการริเริ่มยุคกลางของการผลิตอุตสาหกรรม โดยในช่วงแรกนั้น ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตเฉพาะใน[[กรุงเวียนนา]] พื้นที่เขตอัลไพน์ และโบฮีเมีย แต่ต่อมา เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 19 ระบบเศรษฐกิจได้เจริญเติบโตในเขตพื้นที่ฮังการีตอนกลางและเขตพื้นที่คาร์พาเธียน ดังนั้น ระบเศรษฐกิจได้พัฒนาขึ้นในเขตจักรวรรดิในระยะเริ่มต้น โดยระบบเศรษฐกิจในจักรวรรดิฝั่งตะวันตกจะพัฒนาได้ดีและมากกว่าระบบเศรษฐกิจในฝั่งตะวันออก เมื่อแรกเริ่มศตวรรษที่ 20 จักรวรรดิหลายจักรวรรดิส่วนใหญ่ได้ริเริ่มพัฒนาระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต้อนรับศตวรรษใหม่ [[มาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ]] (GNP) เจริญเติบโตร้อยละ 1.45% ต่อปีตั้งแต่ปี[[พ.ศ. 2413]]ถึง[[พ.ศ. 2456]] ซึ่งการเจริญเติบโตของรายรับและผลผลิตของจักรวรรดินี้ สามารถนำไปเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจชาติอื่นๆได้ เช่น [[อังกฤษ]] (1.00%), [[ฝรั่งเศส]] (1.06%), และ[[เยอรมนี]] (1.51%) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจของจักรวรรดิยังมีความล้าหลังกว่าชาติอื่นๆอยู่บ้าง เช่น อังกฤษมีรายรับและผลผลิตของประเทศเกือบ 3 เท่า ซึ่งมากกว่าจักรวรรดิถึงแม้ว่ามาตรวัดจะน้อยกว่า ในขณะเดียวกันที่เยอรมนี ได้มีรายรับและผลผลิตของประเทศ 2 เท่าซึ่งมากกว่าออสเตรีย-ฮังการีด้วยซ้ำ ทั้งในด้านGNPและมาตรวัดรายรับและผลผลิตของประเทศ ถึงแม้ว่าทุกประเทศนั้นจะมียอดพัฒนาระบบเศรษฐกิจไม่เหมือนกัน