ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์จิ้น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
|p1 = วุยก๊ก
|p2 = ง่อก๊ก
|s1 = ราชวงศ์เหนือ-ใต้
|s2 = ราชวงศ์หลิวซ่ง
|eventstart = สถาปนา
บรรทัด 60:
}}
{{ประวัติศาสตร์จีน}}
'''ราชวงศ์จิ้น''' (คริสต์ศักราช 265 – คริสต์ศักราช 420) เป็นราชวงศ์หนึ่งของ[[จีน]] สถาปนาในปี ค.ศ. 265 เมื่อ[[พระเจ้าจิ้นหวู่]]ขึ้นครองราชย์ ปราบ[[ยุคสามก๊ก|สามก๊ก]]ได้ในปี ค.ศ. 280 ต่อมา[[จักรพรรดิจิ้นหยวน]] จักรพรรดิองค์ที่ 5 ของราชวงศ์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่[[เจี้ยงคัง]] และสถาปนา[[ราชวงศ์จิ้นตะวันออก]]ขึ้น ราชวงศ์จิ้นล่มสลายในปี ค.ศ. 420 และแตกออกเป็นอาณาจักร[[ราชวงศ์หลิวซ่ง]] เข้าสู่ยุค[[ราชวงศ์เหนือ-ใต้]]
 
== จิ้นตะวันตก (คริสต์ศักราช 265 – 316) ==
บรรทัด 80:
ในช่วงปลายของจลาจล ‘8 อ๋องชิงบัลลังก์’ ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่า[[ฮั่นกว๋อ]] ภายหลังหลิวหยวนสิ้นชีพลง บุครชายชื่อหลิวชง ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับ[[จิ้นหวยตี้]] เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ปราศยกให้[[จิ้นหมิ่นตี้]] ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้
 
จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซ่งหนูบุกเข้านครฉางอันเมืองหลวงเก่าของ[[ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก]] จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้นตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลายราชวงศ์จิ้นตะวันตกอยู่ในอำนาจรวม 51 ปี มีกษัตริย์เพียง 4 พระองค์ และเป็นราชวงศ์เดียวในยุคสมัยวุ่ยจิ้นเหนือใต้ (คริสต์ศักราช 220 – 589) ที่มีการปกครองแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว
 
== จิ้นตะวันออก (คริสต์ศักราช 317 – 420) ==
[[ราชวงศ์จิ้นตะวันออก]] ก่อตั้งขึ้นหลังจากการอพยพโยกย้าย[[ราชธานี]]ของเหล่าข้าราชสำนักจิ้นลงสู่ภาคใต้ ภายหลังการล่มสลายของ [[ราชวงศ์จิ้นตะวันตก]] ซึ่งแม้ว่าจะยังคงนับเนื่องเป็นราชวงศ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์โบราณของจีน แต่แท้จริงแล้ว ขอบข่ายอำนาจการปกครองเพียงสามารถครอบคลุมดินแดนทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงเท่านั้น ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ บ้านเมืองทางตอนเหนือระส่ำระสายไปด้วยไฟสงครามการแย่งชิงของแว่นแคว้นต่าง ๆภายใต้การนำของกลุ่มชนเผ่าจากนอกด่าน รวมทั้งชาวฮั่นเอง สถานการณ์ความแตกแยกนี้ ยังคงดำเนินไปท่ามกลางการผลุดขึ้นและล่มสลายลงของราชวงศ์จิ้นตะวันออก จวบจนถึงยุคแห่งการตั้งประจันของ [[ราชวงศ์เหนือ-ใต้]] ซึ่งกินเวลากว่า 300 ปี สถาปนาจิ้นตะวันออก
 
ปีคริสต์ศักราช 316 เมื่อ [[จิ้นหมิ่นตี้]] ฮ่องเต้องค์สุดท้ายถูก[[ชนเผ่าซ่งหนู]]จับเป็นเชลย ราชวงศ์จิ้นตะวันตกก็ถึงกาลอวสาน บรรดาขุนนางเก่าของราชวงศ์จิ้นที่ไม่ยอมรับในชะตากรรม ยังคงมีความเคลื่อนไหวเพื่อกอบกู้สถานการณ์อยู่ทุกหนแห่ง
 
ปีคริสต์ศักราช 317 ภายใต้การสนับสนุนจากเหล่าตระกูลชนชั้นสูงในจงหยวน (ที่ราบภาคกลางบริเวณลุ่ม[[แม่น้ำฮวงโห]]) และ[[เจียงหนัน]] (ดินแดนทางตอนใต้ของ[[แม่น้ำฉางเจียง]]หรือแยงซีเกียง) [[ซือหม่ารุ่ย]] ซึ่งขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นหลางหย่าหวัง จึงตั้งตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ราชวงศ์จิ้นสืบต่อมา ทรงพระนามว่า [[จิ้นหยวนตี้]] และสถาปนาเมืองเจี้ยนคัง (เมืองหนันจิงมณฑลเจียงซูในปัจจุบันหนันจิง[[มณฑลเจียงซู]]ในปัจจุบัน) ขึ้นเป็นราชธานี ถือเป็นจุดเริ่มของจิ้นตะวันออกถึงแม้จะย้ายเมืองหลวงมายังแดนเจียงหนันทางตอนใต้ของจีน แต่เนื่องจากยังคงมีการสืบราชบัลลังก์ต่อมา จึงคงมีความมุ่งหวังที่จะรวมแผ่นดินทางตอนเหนือกลับเข้ามาอีกครั้ง ตลอดยุคสมัยนี้ มีขุนศึกที่อาสายกทัพขึ้นเหนือหลายครั้ง จู่ถี้ปราบอุดรก็เป็นครั้งหนึ่งของความพยายามในการรวมประเทศ จู่ถี้แต่เดิมอยู่ในกลุ่มตระกูลใหญ่จากทางเหนือ ระยะแรกเมื่ออพยพลงสู่ใต้นั้น เนื่องจากยังมีสมัครพรรคพวกและประชาชนที่ภักดีอยู่ทางเหนือ จึงเห็นว่าการยกทัพขึ้นเหนือมีโอกาสประสบชัยอย่างมาก ดังนั้น ก่อนการประกาศก่อตั้งราชวงศ์จิ้นตะวันออก จึงขอการสนับสนุนจากซือหม่ารุ่ยหรือจิ้นหยวนตี้ในเวลาต่อมา เพื่อปราบกบฏฝ่ายเหนือ ซือหม่ารุ่ยแต่งตั้งจู่ถี้เป็นเจ้าเมืองอี้ว์โจวแล้วมอบเสบียงให้จำนวนหนึ่ง จู่ถี้นำกำลังข้ามแม่น้ำไป (เหนือใต้ของจีนกางกั้นด้วยแม่น้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียง) สะกดทัพของสือเล่ออีกทั้งเข้ายึดดินแดนส่วนหนึ่งของแม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโหที่อยู่เหนือขึ้นไปไว้ได้
 
ขณะนั้นเอง ราชสำนักทางตอนใต้เกิดกบฏหวังตุนเป็นเหตุให้การยกทัพขึ้นเหนือของจู่ถี้ต้องหยุดชะงักไป จู่ถี้โกรธแค้นถึงกับล้มป่วยและเสียชีวิตลงในปี 321 จากนั้นสือเล่อเข้าโจมตีเอาดินแดนเหอหนานกลับคืนไปได้ แผนการรวมประเทศครั้งนี้จึงล้มเหลวลง การแก่งแย่งในราชสำนักแม้ว่าบ้านเมืองในสมัยราชสำนักจิ้นตะวันออกที่ได้รับการค้ำจุนจากบรรดากองกำลังของตระกูลใหญ่จากจิ้นตะวันตกจะมีการพัฒนาอยู่บ้าง แต่ทว่า ภายในนั้นกลับเต็มไปด้วยความขัดแย้ง จากการแย่งชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้าถิ่นที่มีอำนาจแต่เดิมกับกลุ่มอำนาจใหม่ที่โยกย้ายเข้ามา ซึ่งโดยมากฝ่ายตระกูลใหญ่จากจงหยวนเป็นผู้กุมอำนาจรัฐไว้ในมือ ส่วนกลุ่มผู้นำฝ่ายใต้ถูกกีดกันจากวิถีทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการช่วงชิงระหว่างกลุ่มตระกูลใหญ่กับราชสำนัก หรือแม้แต่กลุ่มตระกูลฝ่ายเหนือด้วยกันเองก็มีการแย่งชิงที่ดุเดือดไม่แพ้กัน
บรรทัด 101:
ปี 327 อี่ว์เลี่ยงส่งสาส์นเรียกซูจวิ้นเข้าเมืองหลวง แต่ซูจวิ้นเกรงว่าอี่ว์เลี่ยงจะหาโอกาสกำจัดตน จึงชิงร่วมมือกับจู่เยว์ยกกำลังเข้าเมืองเจี้ยนคัง ต่อมาปี 329 อี่ว์เลี่ยงปราบกบฏซูจวิ้นสำเร็จ ยึดอำนาจคืนได้ทั้งหมด ชั่วระยะเวลาสั้น ๆที่จิ้นตะวันออกสงบลงนั้น หวนเวิน ที่ครองเมืองจิงโจวในรัชสมัยจิ้นมู่ตี้
 
ปี 347 ยกทัพปราบแคว้นสู ([[มณฑลเสฉวน]]ในปัจจุบัน) จากนั้นอาสาบุกขึ้นเหนือเพื่อขยายอำนาจของตน ทำให้ราชสำนักจิ้นหวาดระแวง ต่อมาแม้ว่าภายหลังหวนเวินบุกขึ้นเหนือ 3 ครั้ง รุกคืบแล้วถูกตีกลับคืน สุดท้ายยังคงไม่อาจสำเร็จกิจการใหญ่
 
=== การศึกที่ลำน้ำเฝยสุ่ย ===
บรรทัด 123:
ปี 418 [[หลิวอี้ว์]] ระดมกำลังปราบหวนเซวียนแตกพ่ายไป จากนั้น ตั้ง[[ซือหม่าเต๋อเหวิน]]ขึ้นเป็นกษัตริย์ คืนบัลลังก์ให้กับจิ้นตะวันออก
 
ปี 420 [[หลิวอี้ว์]] บีบให้ฮ่องเต้สละราชย์ ประกาศสถาปนา[[รัฐซ่ง]] แล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ มีพระนามว่า [[ซ่งอู่ตี้]] เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์จิ้นตะวันออกเนื่องจากราชวงศ์จิ้นตะวันออกย้ายเมืองหลวงมายัง[[เจียงหนัน]]ทางตอนใต้ เปิดโอกาสให้บรรดานักปราชญ์ผู้มีความรู้จำนวนมากเดินทางอพยพมาด้วย ทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับคนทางใต้มากขึ้น เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมและสังคมประเพณี รวมทั้งงานฝีมือของทางเหนือและใต้ก็มีการผสมผสานกลมกลืนกัน ทำให้งานฝีมือในยุคจิ้นตะวันออกมีความก้าวหน้าก้าวใหญ่ นอกจากนี้ นับแต่ราชวงศ์วุ่ย ของโจโฉจากยุคสามก๊กเป็นต้นมา ประเทศจีนได้มีวิวัฒนาการด้านตัวอักษรอย่างก้าวกระโดด เมื่อถึงยุคจิ้นตะวันออก จึงกำเนิดปราชญ์ กวีและนักเขียนพู่กันจีนที่มีชื่อมากมาย อาทิ หวังซีจือ เซี่ยหลิงยุ่นว์ เถาหยวนหมิง เป็นต้น ได้มีการปฏิรูปรูปแบบการเขียนกาพย์กลอนครั้งใหญ่ วางรากฐานให้กับการวิวัฒนาการสู่ยุคทองของวรรณคดีจีนในสมัย[[ราชวงศ์สุย]]และ[[ราชวงศ์ถัง|ถัง]]ในเวลาต่อมา
 
{{จักรวรรดิ}}